5 นิสัย ที่ทำให้ตกเป็นเหยื่อ อาชญากรออนไลน์
20 ธ.ค. 2566 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหลาย ๆ ท่านอาจสงสัยว่า เมื่อไหร่การฉ้อโกงออนไลน์จะหมดไปจากประเทศไทย ซึ่งคำถามนี้เป็นคำถามที่ตอบได้ง่าย และสามารถแก้ง่ายด้วยเช่นกัน โดยเริ่มจากการกำจัดพฤติกรรม ที่มิจฉาชีพส่วนใหญ่เห็นเป็นจุดอ่อน และนำไปเป็นช่องทางที่มิจฉาชีพนำมาใช้ โดยเติมแต่งกลวิธีให้แนบเนียนขึ้น เพื่อที่จะหลอกลวงเอาทรัพย์สินจากท่าน ซึ่งหากเราเข้าใจ รู้ทัน และไม่ประมาทเกินไป ก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์
คิดว่าไม่เป็นอะไร
- ลองดูหน่อยก็ไม่น่าเสียหายอะไร แต่รู้หรือไม่ว่า คนที่คิดเช่นนี้ส่วนมากจะเป็นผู้เสียหายกลุ่มแรก ๆ ที่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ อาจจะชอบคลิกลิงก์แปลก ๆ ที่ถูกส่งมาทาง SMS หรือ E-mail
ชอบคุยกับเพื่อนใหม่
- ปกติเราจะชื่นชอบการเข้าสังคม ไม่ว่าจะเป็นในชีวิตจริงหรือโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนในชาติเดียวกัน หรือเป็นเพื่อนต่างชาติ ผู้เสียหายเหล่านี้มีโอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อของแก๊งโรแมนซ์สแกมได้ง่าย
ชอบสินค้าราคาถูก
- การค้าขายออนไลน์ ในปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก และก็มีผู้เสียหายเป็นจำนวนมากเช่นกัน โดยคนร้ายมักจะประกาศขายสินค้าที่ดูดี มีคุณภาพ ราคาถูก จูงใจให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ โอนเงินไปให้ บางรายได้รับสินค้าที่ไม่ตรงตามที่ประกาศขายบ้าง ซ้ำร้ายไปกว่านั้นก็ไม่ได้รับสินค้าเลย
ชอบเสี่ยงโชค
- เมื่อได้เห็นผลตอบแทนที่ล่อตาล่อใจ ไม่ว่าจะด้วยอุบายใด ๆ ที่คนร้ายปั้นแต่งขึ้นมาหลอกล่อ เช่น การชวนเล่นแชร์ ชวนลงทุนในธุรกิจ โดยเน้นว่า จะได้รับผลตอบแทนที่สูง สันนิษฐานได้เลยว่าท่านอาจจะตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพเข้าแล้ว
ชอบช่วยเหลือ
- บ่อยครั้งที่เราเห็นคนที่ยากลำบากกว่าเรา เราก็อยากจะช่วยเหลือในฐานะเพื่อนมนุษย์ แต่ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่มิจฉาชีพ อาจจะแฝงตัวเข้ามาด้วยการปลอมข้อมูล หรือใส่เลขบัญชีรับบริจาคของตนเองแฝงไปกับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจริง ๆ
ที่มา : กองบังคับการปราบปราม