เกี่ยวกับเน็ตประชารัฐ

จากสาย Fiber สู่โอกาสของคนไทยทั้งประเทศ

หมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกลยังไม่มีโอกาสเข้าถึงบริการของภาครัฐ

หมู่บ้านเป้าหมาย หมายถึง หมู่บ้าน หรือ พื้นที่เป้าหมาย หรือ ชุมชนเป้าหมาย ที่อยู่ในพื้นที่ที่การให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานยังไม่ทั่วถึง และคาดหมายได้ว่าในพื้นที่ดังกล่าวจะไม่มีศักยภาพและโอกาสในการจะพัฒนาให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่มีบริการได้ ภายใต้สภาพตลาดและปัจจัยแวดล้อมในปัจจุบัน หรือเรียกว่า “พื้นที่ที่ไม่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์และไม่มีบริการ” ภายใต้เงื่อนไข “ต้องสามาถตอบสนองนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้คุณสมบัติความเร็วอินเทอร์ความเร็วสุงที่ 100 Mbps/50 Mbps” ซึ่งพื้นที่การดำเนินการได้ถูกกำหนดโดยคณะทำงานพิจารณากำหนดพื้นที่เป้าหมายใต้โครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

รัฐบาลมีนโยบายที่จะนำพาประเทศไทยก้าวสู่ “ไทยแลนด์ 4.0” ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัล

รัฐบาล (โดยการนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี) ได้มีนโยบายที่จะนำพาประเทศไทยก้าวสู่ “ไทยแลนด์ 4.0” ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้เข้มแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก ประกอบกับ กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ

มติเมื่อ วันที่ 7 ธันวาคม 2559 มอบหมายให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : TOT เป็นผู้ดำเนินการ

           ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือพร้อมมอบนโยบายให้แก่ผู้บริหารกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมว่า เพื่อเป็นการขับเคลื่อนตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2560 นี้ กระทรวงฯจะเดินหน้าสานต่อแผนงานที่สำคัญทั้งการลงทุนและการพัฒนาโครงการต่างๆ ซึ่งยังคงเป็นช่วงคาบเกี่ยวของการวางรากฐานตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระยะที่ 1 (Digital Foundation)


เปิดโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน โทรคมนาคม กิจกรรมที่ 1 (การขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตฯ ) พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงคุณธรรม

วันที่ 27 ธันวาคม 2559 ที่ห้องจัดเลี้ยง อาคาร 9 ทีโอที สำนักงานใหญ่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และนายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานเปิดโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม กิจกรรมที่ 1 (การขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตฯ ) พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงคุณธรรม เพื่อป้องกันและต่อต้านการทุจริตการดำเนินโครงการฯ ระหว่าง กระทรวงดีอี ทีโอที และองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น

ดีอีเลือกตำบลจุน-พะเยา ประเดิม “เน็ตประชารัฐ” ก่อนติดตั้งครบ 24,700 หมู่บ้านสิ้นปีนี้

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อช่วงเช้าวันที่ 4 ก.พ. 2560 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ร่วมกันทำพิธีเปิดการใช้งานโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

“เน็ตประชารัฐ” โครงการดีๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชน

เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว กับ “โครงการเน็ตประชารัฐ” หรือ “โครงการอินเทอร์เน็ตหมู่บ้าน” โดยเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เปิดตัวโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ กิจกรรมที่ 1 การขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

กระทรวงดิจิทัลฯ เดินหน้าขับเคลื่อนยกระดับ โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม เดินหน้าเปิดใช้ “เน็ตประชารัฐ” 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560 ที่เทศบาลตำบลจุน อ.จุน จ.พะเยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดย ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานเปิดการใช้งานโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ในการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ผ่านสื่อสัญญาณเคเบิลใยแก้วนำแสง FTTx ทั้ง 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ

โครงการ "เน็ตประชารัฐ"

ที่ติดตั้งในพื้นที่ต่างๆ

เน็ตประชารัฐ @สตูล การพัฒนาที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 22 เมษายน.2560 ที่หมู่บ้านควนดินดำ ต.ปาล์มพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานแถลงข่าวกิจกรรม Show Case “เน็ตประชารัฐ @สตูล การพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อให้ชุมชนรับรู้ถึงประโยชน์ของโครงการฯ ซึ่งเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลโดยท่านนายกรัฐมนตรี โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเท่าเทียมและทั่วถึงในการเข้าอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของประชาชน รวมถึงการสร้างเศรษฐกิจ คุณภาพการศึกษา และการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพให้กับชุมชน

นโยบายรัฐบาลและการดำเนินงานโครงการเน็ตประชารัฐ

           วันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๙ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านของประเทศไทย และได้มีการแต่งตั้ง “คณะทำงานร่วมเพื่อพิจารณากำหนดพื้นที่เป้าหมายภายใต้การดำเนินโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ” ซึ่งประกอบด้วยผู้แทน ดศ. และ กสทช. ซึ่งได้กำหนดหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล (Zone C) และเป็นพื้นที่เป้าหมาย จำนวน ๔๐,๔๓๒ หมู่บ้าน และเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุม ๒๔,๗๐๐ หมู่บ้าน โดยใช้เงินงบประมาณปี ๒๕๕๙ และขอความร่วมมือให้ กสทช. ดำเนินการในหมู่บ้านส่วนที่เหลือเพิ่มเติมอีกจำนวน ๑๕,๗๓๒ หมู่บ้าน และพื้นที่ชายขอบ (Zone C+) ๓,๙๒๐ หมู่บ้าน โดยใช้งบประมาณ USO ซึ่งได้แบ่งพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมาย ดังนี้
           คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ มอบหมายให้ ดศ. ดำเนินการจัดให้มีโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง (Optical Distribution Network: ODN) ไปยังหมู่บ้านเป้าหมายที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ซึ่งไม่ศักยภาพในเชิงพาณิชย์และยังไม่มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จำนวน ๒๔,๗๐๐ หมู่บ้านเป้าหมาย พร้อมทั้งจัดให้มีจุดให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายสาธารณะประจำหมู่บ้าน หมู่บ้านละ ๑ จุด โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายกับผู้ใช้บริการที่ระดับความเร็วไม่ต่ำกว่า ๓๐ Mbps/๑๐ Mbps (Download/Upload) และเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๒ ได้ปรับเพิ่มเป็น 100/50 Mbps (Download/Upload) การติดตั้งอุปกรณ์กระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้ให้ชาวบ้านในหมู่บ้านพิจารณาความเหมาะสม เข้าถึงง่าย และเดินทางสะดวก เช่น ศาลาประชาคมหมู่บ้าน ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน (โดยไม่มีการก่อสร้างอาคาร/ศูนย์ให้บริการอินเทอร์เน็ต) โดยในการออกแบบและติดตั้งโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงจะต้องมีลักษณะทางกายภาพเป็นโครงข่ายแบบเปิด (Open Access Network) ที่สามารถรองรับการเชื่อมต่อของผู้ให้บริการอื่นได้โดยสะดวก โดยดำเนินการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๐


ผลลัพธ์
คือการสร้างโอกาสให้แก่ประชาชน
ให้เข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างเท่าเทียม