หลอกไม่หยุด 7 กลกินเงิน By มิจฉาชีพ

22 ก.ย. 2566 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
หลอกไม่หยุด 7 กลกินเงิน By มิจฉาชีพ
1. หลอกขายของออนไลน์ แต่ไม่ส่งสินค้าจริง หรือส่งสินค้าที่ไม่ตรงตามที่ตกลง หรือไม่มีคุณภาพมาให้ มิจฉาชีพจะนำภาพสินค้าจากอินเทอร์เน็ต หรือภาพจากผู้ใช้งานอื่นที่ขายสินค้าจริง นำมาโพสต์ขายในช่องทางตัวเอง เพื่อหลอกให้ลูกค้า หลงเชื่อว่า มีสินค้านั้นอยู่จริง โอนเงินสั่งซื้อ แต่จะไม่ส่งสินค้า หรือส่งสินค้าไม่ตรงตามที่ตกลง
 
2. เงินกู้ออนไลน์ ดอกเบี้ยมหาโหด มีผู้เสียหายจำนวนมากหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อแก๊งปล่อยเงินกู้ออนไลน์ กลุ่มคนร้ายจะหลอกว่า มีบริการเงินกู้ คิดอัตราดอกเบี้ย ราคาถูก ผ่อนจ่ายระยะยาว แต่เมื่อทำสัญญาแล้ว ไม่ได้รับเงินกู้ตามจำนวนที่ตกลง อีกทั้งดอกเบี้ยยังเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวอีกด้วย
 
3. เงินกู้ออนไลน์ ที่ไม่มีจริง (เงินกู้ทิพย์) จะต่างจากกรณีข้างต้น คือ คนร้ายจะหลอกผู้เสียหายว่า ก่อนได้รับเงินกู้จะต้องเสียค่าบริการ ค่ามัดจำ หรือค่าดำเนินการต่าง ๆ ให้ผู้เสียหายโอนเงินให้เรื่อย ๆ จนสุดท้ายไม่ได้รับเงินกู้จริงตามที่กล่าวอ้าง
 
4. หลอกให้ลงทุน มิจฉาชีพจะหลอกให้ผู้เสียหายลงทุนต่าง ๆ เช่น ลงทุนธุรกิจ หรือลงทุนแชร์ลูกโซ่ ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยจะเสนอผลตอบแทนเป็นจำนวนมาก ได้เงินไว เริ่มแรกอาจจะได้รับผลจริง เมื่อเหยื่อหลงเชื่อและร่วมลงทุนเป็นจำนวนมากขึ้นจะเริ่มบ่ายเบี่ยงไม่ให้ผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้
 
5. หลอกให้เล่นพนัน ออนไลน์ การพนันเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่มิจฉาชีพจะหว่านล้อมด้วยวิธีการต่าง ๆ ให้ผู้เสียหายเข้าร่วมลงทุน หรือเล่นการพนันออนไลน์ หากท่านถูกโกง จากการพนันออนไลน์แล้วอาจไม่สามารถแจ้งความหรือดำเนินคดีกับมิจฉาชีพได้
 
6. โรแมนซ์สแกมหลอกให้รัก หลอกให้โอนเงิน กลุ่มมิจฉาชีพจะทำงานเป็นขบวนการ โดยจะใช้รูปภาพ และโพรไฟล์เป็นชาวต่างชาติที่ดูดีมีฐานะ ทักมาคุย สร้างความสนิทสนม จากนั้นจะหลอกผู้เสียหายด้วยวิธีการต่างๆ เช่น จะส่งของมาให้ หรือหลอกให้ลงทุน ฯลฯ ให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและโอนเงินให้เป็น จำนวนมาก
 
7. ลิงก์ปลอมหลอกแฮ็กข้อมูลโทรศัพท์ มิจฉาชีพจะส่งข้อความต่าง ๆ เช่น ท่านได้รับความช่วยเหลือต่าง ๆ , ท่านเป็นผู้โชคดีได้รับเงินรางวัล หรือแม้กระทั่งหลอกว่า เป็นลิงก์จากหน่วยงาน หรือธนาคาร ให้ผู้เสียหายกดลิงก์เข้าไปเพื่อตรวจสอบข้อมูล แต่เมื่อกดลิงก์เข้าไปแล้ว มิจฉาชีพก็จะแฮ็กข้อมูลในโทรศัพท์หรือบัญชีธนาคาร ทำให้สูญเงินไปทันที
 
ที่มา : ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส. ตร.)
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Mobile Banking ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

Mobile Banking เป็นแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ สะดวก รวดเร็ว แต่ในความสะดวกรวดเร็วนั้นก็มีความเสี่ยงในขณะใช้เช่นกัน ซึ่งมีวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยได้ดังนี้ &

อ่านบทความนี้

ซื้อยาออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด

การซื้อยาผ่านช่องทางออนไลน์มากินเอง มีความเสี่ยงที่จะได้ยารักษาที่ไม่ตรงกับอาการ ยาไม่มีคุณภาพ หรือยาปลอม ซึ่งการจะรักษา หรือบรรเทาอาการนั้น ๆ จะต้องเข้าไปปรึกษาอาการเบื้องต้นกับเภสัชกร เพ

อ่านบทความนี้

ของถูก ระวังถูกหลอก

ปัจจุบันนี้มิจฉาชีพมีการออกอุบายในการหลอกลวงขายสินค้าในช่องทางออนไลน์หลากหลายรูปแบบ วิธีการหนึ่งที่กลุ่มมิจฉาชีพนำมาใช้คือการ “หลอกขายสินค้าราคาถูก” โดยจะมีการออกอุบายดังนี้ จะมีการ

อ่านบทความนี้