ป้องกันแฮกเกอร์ด้วย Password ที่รัดกุม

15 ส.ค. 2566 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ป้องกันแฮกเกอร์ด้วย Password ที่รัดกุม
พาสเวิร์ดเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาความปลอดภัยของบัญชี อุปกรณ์ และข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ใช้ แต่ก็ยังมีหลายคนที่ตั้งให้จำได้ง่าย ๆ ไว้ก่อน เช่น เบอร์โทรศัพท์ หรือ วันเกิด ซึ่งหากจำง่ายเกินไป สามารถคาดเดาได้ และเสี่ยงที่จะถูกแฮกได้ง่ายเหมือนกัน
 
1. หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด เลขบัตรประชาชน เพราะข้อมูลเหล่านี้จะทำให้เกิดการคาดเดาได้ง่าย
2. เลี่ยงการใช้พาสเวิร์ดตัวเลขหรืออักษรเรียงกัน ถือเป็นพาสเวิร์ดยอดแย่ เช่น 123456, ABCDEF เป็นต้น
3. อย่าใช้พาสเวิร์ดซ้ำกันทุกแอปฯ โดยเฉพาะมือกับแอปฯ ธนาคาร เพราะหากรหัสผ่านหลุดออกไป จะทำให้สามารถถูกขโมยเงินและข้อมูลได้ง่าย
4. ตั้งพาสเวิร์ดอย่างน้อย ๆ 12-14 ตัว ยิ่งยาวยิ่งดี และควรมีตัวเลข สัญลักษณ์ ตัวอักษร เผื่อให้ยากต่อการคาดเดา
5. แยกพาสเวิร์ด โดยเฉพาะข้อมูลสำคัญ อาจจะใช้วิธีตั้งพาสเวิร์ดเป็นพวกเดียวกัน แต่เปลี่ยนตัวเลขที่ตามหลังเพื่อแยกความแตกต่าง
6. ไม่ควรใช้คำศัพท์ในพจนานุกรม เช่น Police หรือนำหลาย ๆ คำมารวมกัน เช่น Royal Thai Police เนื่องจากแฮกเกอร์สามารถใช้โปรแกรมการเดาพาสเวิร์ดโดยเปรียบเทียบจากฐานข้อมูลคำศัพท์
7. อย่าจดพาสเวิร์ด ไม่ว่าจะจดลงบนกระดาษ หรือบนอุปกรณ์ต่าง ๆ เพราะหากข้อมูลเหล่านั้นหลุดออกไป จะทำให้สามารถข้าถึงข้อมูลเราได้ทั้งหมด
 
ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Mobile Banking ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

Mobile Banking เป็นแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ สะดวก รวดเร็ว แต่ในความสะดวกรวดเร็วนั้นก็มีความเสี่ยงในขณะใช้เช่นกัน ซึ่งมีวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยได้ดังนี้ &

อ่านบทความนี้

ซื้อยาออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด

การซื้อยาผ่านช่องทางออนไลน์มากินเอง มีความเสี่ยงที่จะได้ยารักษาที่ไม่ตรงกับอาการ ยาไม่มีคุณภาพ หรือยาปลอม ซึ่งการจะรักษา หรือบรรเทาอาการนั้น ๆ จะต้องเข้าไปปรึกษาอาการเบื้องต้นกับเภสัชกร เพ

อ่านบทความนี้

ของถูก ระวังถูกหลอก

ปัจจุบันนี้มิจฉาชีพมีการออกอุบายในการหลอกลวงขายสินค้าในช่องทางออนไลน์หลากหลายรูปแบบ วิธีการหนึ่งที่กลุ่มมิจฉาชีพนำมาใช้คือการ “หลอกขายสินค้าราคาถูก” โดยจะมีการออกอุบายดังนี้ จะมีการ

อ่านบทความนี้