10 วิธี ป้องกันภัยคุกคามทาง E-mail ระวังตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

10 ส.ค. 2566 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
10 วิธี ป้องกันภัยคุกคามทาง E-mail ระวังตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ
ปัจจุบันในยุคสารสนเทศที่ไร้พรมแดน ผู้คนทั่วโลกต่างก็ใช้อีเมลเป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งประโยชน์ของอีเมลนั้นมีมากมาย แต่ก็อาจเป็นช่องโหว่ให้แก่เหล่ามิจฉาชีพในการแสวงหาผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ หากคุณเห็นข้อความที่มีการขอชื่อบัญชีและรหัสผ่านของคุณในขณะเปิดอีเมล หรือในอีเมลของคุณมีไวรัส คุณอาจจะกำลังตกเป็นเป้าหมายของการหลอกลวงได้
 
ผู้หลอกลวงจะทำทุกวิถีทาง ทั้งอีเมลปลอม โฆษณาป๊อปอัพ ข้อความตัวอักษร ลิงก์เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ไม่พึงประสงค์ เพื่อพยายามหลอกให้คุณแชร์ข้อมูลส่วนตัว เช่น รหัสผ่าน หรือข้อมูลบัตรเครดิตของคุณ ดังนั้น เพื่อป้องกันภัยคุกคามอันเกิดจากอีเมลหลอกลวงดังกล่าว ให้ทำตาม 10 คำแนะนำการป้องกันภัยคุกคามทางอีเมล ดังนี้
 
1. ตั้งรหัสผ่าน (Password) ที่คาดเดาได้ยาก และหมั่นเปลี่ยนบ่อย ๆ
2. ดูแลช่องทางที่ใช้ในการเปลี่ยน (Reset) รหัสผ่านให้มีความมั่นคงปลอดภัย เช่น อีเมลสำรองสำหรับกู้คืนบัญชี
3. หมั่นตรวจสอบประวัติการใช้งานที่น่าสงสัย รวมถึงช่องทางในการยืนยันตัวตนอย่างสม่ำเสมอ
4. ติดตั้งโปรแกรม AntiVirus อัปเดตระบบปฏิบัติการ และ Web Browser รวมถึงตัวซอฟต์แวร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
5. หลีกเลี่ยงการใช้เว็บเมลผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ และไม่ควรตั้งค่าให้ Web Browser จำรหัสผ่าน
6. ระวังในการเปิดไฟล์แนบ หรือคลิกลิงก์ที่พาไปเว็บไซต์อื่น
7. แม้อีเมลจากคนรู้จัก ก็อาจเป็นคนร้ายปลอมตัวมาก็ได้ ถ้าไม่แน่ใจ ควรยืนยันช่องทางอื่นที่ไม่ใช่อีเมล เช่น แจ้งยืนยันเปลี่ยนเลขที่บัญชีโอนเงินทางโทรศัพท์
8. ควรเปิดการใช้งานยืนยันตัวตนแบบ 2 Factor Authentication โดยใช้เบอร์โทรศัพท์ อีเมลสำรอง หรือแอป เช่น Google Authenticator
9. ตรวจสอบรายชื่อผู้รับอีเมลก่อนกดปุ่ม Reply หรือ Reply All ทุกครั้ง เพราะผู้ร้ายมักใช้เทคนิคตั้งชื่ออีเมลที่ใกล้เคียงกับคนที่เรารู้จัก เช่น somchai@yahoo.com กับ somchai@yah00.com (เลข 0 แทนตัวอักษร o)
10. อย่าหลงเชื่ออีเมลที่หลอกให้เปลี่ยนรหัสผ่านหรือให้อัปเดตข้อมูลส่วนตัว หากไม่แน่ใจควรสอบถามผู้ที่ส่งข้อมูลมาในทางช่องทางอื่น ๆ อีกครั้ง
 
นอกจากนี้ ขอให้ผู้ใช้งานอีเมลควรหมั่นตรวจสอบการตั้งค่าชื่อบัญชีอีเมลของตนเองว่า เบอร์โทรศัพท์ อีเมลสำรองที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันถูกต้องไม่มีอะไรผิดปกติ หากพบความผิดปกติควรดำเนินการแก้ไขอย่างรวดเร็ว
 
ที่มา : สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Mobile Banking ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

Mobile Banking เป็นแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ สะดวก รวดเร็ว แต่ในความสะดวกรวดเร็วนั้นก็มีความเสี่ยงในขณะใช้เช่นกัน ซึ่งมีวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยได้ดังนี้ &

อ่านบทความนี้

ซื้อยาออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด

การซื้อยาผ่านช่องทางออนไลน์มากินเอง มีความเสี่ยงที่จะได้ยารักษาที่ไม่ตรงกับอาการ ยาไม่มีคุณภาพ หรือยาปลอม ซึ่งการจะรักษา หรือบรรเทาอาการนั้น ๆ จะต้องเข้าไปปรึกษาอาการเบื้องต้นกับเภสัชกร เพ

อ่านบทความนี้

ของถูก ระวังถูกหลอก

ปัจจุบันนี้มิจฉาชีพมีการออกอุบายในการหลอกลวงขายสินค้าในช่องทางออนไลน์หลากหลายรูปแบบ วิธีการหนึ่งที่กลุ่มมิจฉาชีพนำมาใช้คือการ “หลอกขายสินค้าราคาถูก” โดยจะมีการออกอุบายดังนี้ จะมีการ

อ่านบทความนี้