5 อย่างที่ทำ เท่ากับละเมิดลิขสิทธิ์

10 พ.ค. 2566 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
5 อย่างที่ทำ เท่ากับละเมิดลิขสิทธิ์
ถึงเเม้ว่าใครหลาย ๆ คน จะรู้ว่าการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันก็ยังพบเห็นคนจำนวนไม่น้อยที่ยังเมินเฉย และสนับสนุนการละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
 
1. การดูภาพยนตร์ในเว็บไซต์ผิดกฎหมาย หรือการสตรีมมิ่งที่ไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการดัดแปลง เผยแพร่ และทำซ้ำ โดยที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่อนุญาต
 
2. การเปิดเพลงในร้านอาหาร ร้านกาแฟ ก็ถือว่าเป็นการดัดแปลงหรือทำซ้ำ หากกรณีที่ค่ายเพลงเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ จะถือว่าเป็นการเข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์
 
3. การซื้อขายสินค้าลอกเลียนแบบ
ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยการดัดแปลงสินค้า และเครื่องหมายทางการค้า ซึ่งหากประชาชนเกิดความเข้าใจผิด หลงเชื่อ อาจจะเป็นการสนับสนุนสินค้าลอกเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว
 
4. การถ่ายทอดสดการแข่งขันต่าง ๆ ในร้านอาหาร ซึ่งถึงแม้ว่าเราจะซื้อแพ็คเกจการถ่ายทอดสดมาแล้ว แต่หากทางเจ้าของลิขสิทธิ์ที่ทำการขายแพ็กเกจไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ก็อาจจะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
 
5. การดัดแปลงบทความของผู้อื่น โพสต์ลงโซเชียลมีเดีย ถือเป็นการดัดแปลง หรือทำซ้ำโดยไม่รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ
 
ที่มา : กรมทรัพย์สินทางปัญญา
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ระวังไว้ให้ดี!!! เพจรับทำใบขับขี่ปลอมออนไลน์ระบาด

ปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของมิจฉาชีพอ้างตัวเป็นกรมการขนส่งทางบก หรือเป็นตัวแทนที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกให้ทำใบขับขี่ หรือต่อายุใบขับขี่ได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งมิจฉาชีพเหล่านี้มักจะมาในรูปแบบเพจ

อ่านบทความนี้

5 สิ่งควรทำ ก่อนส่งเอกสารออนไลน์

  ปัจจุบันมิจฉาชีพได้เปลี่ยนวิธีการหลอกลวงไปอย่างคาดไม่ถึง มีการสร้างเพจร้านค้าปลอม เพจให้บริการกู้เงิน หรือในรูปแบบบริการอื่น ๆ เมื่อเหยื่อหลงเชื่อ ก็จะถูกหลอกล่อด้วยคำพูดต่าง ๆ เพื่อให้ส่งเอกส

อ่านบทความนี้

ระวังให้ดี! สื่อออนไลน์ไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัว

สิ่งที่เราทำลงไปในโลกดิจิทัล เช่น การโพสต์ การแชร์ การแสดงความคิดเห็นข้อมูลเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้ในประวัติข้อมูลของเรา เปรียบเสมือนเป็นการฝากรอยเท้าไว้ในโลกดิจิทัล เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่าไม่ใช่คนดัง ไม่

อ่านบทความนี้