รู้ทันโจรออนไลน์

22 ก.พ. 2566 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
รู้ทันโจรออนไลน์
ตำรวจ แนะ ปชช. ต้องรู้ทัน “โจรออนไลน์”
แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ดูดเงิน มักใช้มุกนี้
1. อ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ แจ้งเหตุผิดปกติ ขอตรวจสอบ
2. หลอกให้กลัว อ้างพบความผิดปกติในการทำธุรกรรม พัวพันเรื่องผิดกฎหมาย เส้นทางการเงินผิดปกติ ฟอกเงิน หรือมีหมายจับ
3. เจ้าหน้าที่ต่อสายกันเป็นทอดๆ หลายหน่วยงาน ทำทีช่วยเหลือรับแจ้งความให้คำปรึกษาคดี หรืออ้างว่า กำลังสอบสวนทางโทรศัพท์
4. ชวนคุยหลอกถามข้อมูลส่วนตัว บางรายจะมีข้อมูลส่วนตัว เช่น เลขบัตรประชาชน บัญชีธนาคารของเหยื่อไว้แล้ว
5. ส่งเอกสารราชการ (ปลอม) มีตราหน่วยงาน ตราครุฑ ราชกิจจานุเบกษา ลวงให้น่าเชื่อถือ
6. ส่งลิงก์ให้กดเข้าไป ตรวจสอบข้อมูล ถ้าเผลอกดเข้าไป คนร้ายจะรีโมท หรือแฮกโทรศัพท์มือถือ ของเหยือเพื่อดูดเงิน
7. ข่มขู่เหยื่อ ห้ามวางสาย ห้ามบอกใคร
8. หลอกให้โอนเงินให้โดยตรง หรือขอรหัส OTP
 
หาก โทร. มาชวนตามข้อมูลเหล่านี้ อย่าหลงเชื่อ อย่าโอน อย่ากดลิงก์ กรณีประสบเหตุแจ้งความออนไลน์ https://thaipoliceonline.com หรือ ☎️☎️ปรึกษา-แจ้งข้อมูล โทร. 1441
📍📍ที่มา : ไทยคู่ฟ้า
-------------------
Facebook/Twitter : ไทยคู่ฟ้า
YouTube : ไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
LINE/TikTok : ไทยคู่ฟ้า (@thaigov)

บทความที่เกี่ยวข้อง

เตือน แก๊ง Call Center อ้างชื่อ กรมการจัดหางาน ลวงทำงานออนไลน์

กรมการจัดหางาน เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ หลังแก๊ง Call Center ระบาดหนัก แอบอ้างชื่อ กรมการจัดหางาน ชวนทำงานออนไลน์ นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า กรมการจัดหางาน พบมิจฉาชีพรูปแบ

อ่านบทความนี้

เตือนภัย มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นโมเดลลิ่ง ระวังตกเป็นเหยื่อ

ปัจจุบันมักจะมีมิจฉาชีพแอบอ้างว่าเป็นพนักงานภาครัฐ - เอกชน ซึ่งมีหลากหลายสารพัดวิธี ที่จะหลอกเอาเงินของประชาชนที่หลงเชื่อ แต่อีกวิธีนอกจากการแอบอ้างดังกล่าว ก็ยังแอบอ้างว่าเป็นโมเดลลิ่ง ซึ่งจะทำการประ

อ่านบทความนี้

กลลวงโจรออนไลน์ ใกล้ตัวแค่ไหน

  มิจฉาชีพมักจะใช้ทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลส่วนตัว และเงินที่ฝากไว้ในธนาคารของเหยื่อ โดยใช้กลอุบายที่เหยื่อไม่คาดคิด ดังนี้   ปลอม 100 หน้า เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ บริษัทขนส่ง และบุ

อ่านบทความนี้