เช็กเลย กลโกงธนาคารออนไลน์

04 เม.ย. 2565 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
เช็กเลย กลโกงธนาคารออนไลน์

​​​​​​​​​​ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนเป็นอย่างมาก จากเคยที่ต้องเดินทางไปที่ธนาคารเพื่อทำธุรกรรมการเงิน ก็สามารถโอนเงิน ซื้อของ หรือทำธุรกรรมการเงินอื่น ๆ จากที่ไหนก็ได้ผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ความสะดวกสบายเหล่านี้หากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ก็อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ซึ่งลักษณะกลโกง มีดังนี้

1. หลอกให้ติดตั้งมัลแวร์ในคอมพิวเตอร์
มิจฉาชีพมักแฝงมัลแวร์ (Malware) ไว้ตามลิงก์ดาวน์โหลด หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยใช้ข้อความเชิญชวนหลอกล่อให้เหยื่อคลิกเพื่อติดตั้งโปรแกรม เช่น “คุณเป็นผู้โชคดี คลิกที่นี่เพื่อรับรางวัล” เมื่อเหยื่อหลงเชื่อทำตามที่มิจฉาชีพบอก เช่น คลิกไปที่ลิงก์มัลแวร์จะถูกติดตั้งในคอมพิวเตอร์ และทำการบันทึกข้อมูลการใช้งานธนาคารออนไลน์ของเหยื่อ เช่น รหัสผ่านผู้ใช้งาน (username) รหัสผ่าน (password) เพื่อนำไปปลอมแปลงคำขอโอนเงินให้เหมือนเป็นคำสั่งของเจ้าของบัญชี เมื่อธนาคารได้รับคำขอโอนเงินที่จริง ๆ แล้วมาจากมิจฉาชีพ ธนาคารก็จะส่งรหัสผ่านชั่วคราวผ่านระบบ SMS ให้แกเหยื่อ ซึ่งมิจฉาชีพจะสร้างหน้าต่างหรือหน้าจอ pop-up ขึ้นมาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเหยื่อเพื่อหลอกถามรหัสผ่านชั่วคราวที่ถูกส่งมายังโทรศัพท์มือถือของเหยื่อ หรืออาจใช้โปรแกรมบันทึกการกดรหัสผ่าน แล้วนำมาใช้ยืนยันการโอนเงินออกจากบัญชีของเหยื่อ

ข้อควรสังเกต
มิจฉาชีพจะพยายามหลอกล่อเหยื่อให้ติดตั้งมัลแวร์เพื่อใช้ขโมยข้อมูล แต่เมื่อเหยื่อได้ติดตั้งมัลแวร์แล้ว มิจฉาชีพก็จะยังไม่สามารถโอนเงินของเหยื่อออกจากบัญชีได้ หากเหยื่อไม่กรอกรหัสผ่านชั่วคราวเพื่อใช้ในการยืนยันการทำธุรกรรมของมิจฉาชีพ

2. หลอกติดตั้งมัลแวร์ในโทรศัพท์มือถือ
มัลแวร์ในโทรศัพท์มือถือมีลักษณะคล้ายกับมัลแวร์ในคอมพิวเตอร์ แต่ความแตกต่างจะอยู่ที่มิจฉาชีพไม่จำเป็นต้องหลอกขอรหัสผ่านชั่วคราวจากเหยื่ออีก มิจฉาชีพจะส่งลิงก์ผ่าน SMS หรืออีเมลให้เหยื่อคลิก เพื่อติดตั้งและเปิดใช้งานมัลแวร์ในสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต แล้วหลอกให้เหยื่อกรอกรหัสผ่านผู้ใช้งาน (username) และรหัสผ่าน (password) ในหน้าจอที่คล้ายกับแอปพลิเคชันของธนาคารออนไลน์จริง เมื่อเหยื่อเลือกทำรายการต่อ มัลแวร์จะทำให้เครื่องสมาร์ตโฟนของเหยื่อค้างและใช้งานไม่ได้ ทำให้เหยื่อไม่ได้รับ SMS แจ้งรหัสผ่านชั่วคราว จากธนาคารออนไลน์จริง แต่รหัสผ่านชั่วคราวนั้นจะถูกส่งให้แก่มิจฉาชีพแทน

ข้อควรสังเกต
การหลอกลวงวิธีนี้ เมื่อเหยื่อหลงกลติดตั้งมัลแวร์ มิจฉาชีพไม่จำเป็นต้องหลอกขอรหัสผ่านชั่วคราวจากเหยื่ออีก เพราะมัลแวร์จะทำหน้าที่ดัก SMS แจ้งรหัสผ่านชั่วคราวไว้แล้วส่งให้แก่มิจฉาชีพ มิจฉาชีพจึงสามารถโอนเงินออกจากบัญชีเหยื่อได้

3. ปลอมแปลงอีเมลหรือสร้างเว็บไซต์ปลอม เพื่อหลอกขอข้อมูล
อีเมลปลอมก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่มิจฉาชีพมักใช้เพื่อหลอกเอาข้อมูลที่จำเป็นในการใช้งานธนาคารออนไลน์จากเหยื่อ โดยมิจฉาชีพจะทำอีเมลแอบอ้างเป็นอีเมลของธนาคารอ้างการปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัย แล้วหลอกให้เหยื่อยืนยันการใช้งานบัญชีธนาคารออนไลน์ผ่านการกรอกข้อมูลในอีเมล หรือคลิกลิงก์เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ธนาคารออนไลน์ปลอมที่มี URL ที่คล้ายหรือเกือบเหมือนเว็บไซต์จริง ซึ่งเมื่อเหยื่อบอกรหัสผ่านผู้ใช้งาน (username) และรหัสผ่าน (password) ในลิงก์ปลอมเหล่านั้น มิจฉาชีพก็สามารถนำข้อมูลไปใช้แอบอ้างเป็นเจ้าของบัญชีแล้วส่งคำสั่งโอนเงิน และสร้างหน้าต่างปลอมหรือหน้าจอ pop-up หลอกให้เหยื่อกรอกรหัสผ่านชั่วคราว ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเหยื่ออีก ทำให้มิจฉาชีพสามารถโอนเงินออกจากบัญชีของเหยื่อสำเร็จ

ข้อควรสังเกต
มิจฉาชีพมักหลอกขอข้อมูลจากเหยื่อผ่านอีเมลหรือเว็บไซต์ปลอมที่ลักษณะคล้ายกับเว็บไซต์จริงเกือบทุกประการ แต่อีเมลหรือเว็บไซต์ปลอมมีจุดน่าสังเกตดังนี้

ที่มา : ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
#ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter

บทความที่เกี่ยวข้อง

Mobile Banking ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

Mobile Banking เป็นแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ สะดวก รวดเร็ว แต่ในความสะดวกรวดเร็วนั้นก็มีความเสี่ยงในขณะใช้เช่นกัน ซึ่งมีวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยได้ดังนี้ &

อ่านบทความนี้

ซื้อยาออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด

การซื้อยาผ่านช่องทางออนไลน์มากินเอง มีความเสี่ยงที่จะได้ยารักษาที่ไม่ตรงกับอาการ ยาไม่มีคุณภาพ หรือยาปลอม ซึ่งการจะรักษา หรือบรรเทาอาการนั้น ๆ จะต้องเข้าไปปรึกษาอาการเบื้องต้นกับเภสัชกร เพ

อ่านบทความนี้

ของถูก ระวังถูกหลอก

ปัจจุบันนี้มิจฉาชีพมีการออกอุบายในการหลอกลวงขายสินค้าในช่องทางออนไลน์หลากหลายรูปแบบ วิธีการหนึ่งที่กลุ่มมิจฉาชีพนำมาใช้คือการ “หลอกขายสินค้าราคาถูก” โดยจะมีการออกอุบายดังนี้ จะมีการ

อ่านบทความนี้