รู้ทัน ป้องกันด้วยพาสเวิร์ด

27 ก.ค. 2564 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
รู้ทัน ป้องกันด้วยพาสเวิร์ด

นอกจากการล็อกหน้าจอ ไม่ว่าจะมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ เพื่อไม่ให้ใครมาล้วงข้อมูลเราแล้ว อีกสิ่งสำคัญคือ #Password #พาสเวิร์ด #รหัสผ่าน ตั้งแต่ การตั้ง การใช้ และการดูแล อะไรบ้างที่ "ต้องทำ" "ควรทำ" และ "ไม่ควรทำ" ไปดูกัน

"ต้องทำ"
ใช้ Password แบบไม่ซ้ำในทุกบริการที่ใช้
ตั้ง Password ให้มีความยาวอย่างน้อย 8 ตัวอักษร
ติดตามข่าวสารและเปลี่ยน Password เมื่อได้รับแจ้งว่าข้อมูลรั่ว

"ควรทำ"
เพิ่มความซับซ้อนของ Password เช่นตัวเลขหรืออักขระพิเศษ
จดบันทึกและซ่อน Password ไว้ไม่ให้คนอื่นเห็นนั้นทำได้ แต่ทางที่ดีควรใช้โปรแกรม Password Manager
เปิดใช้งานการล็อกอินแบบหลายชั้น

"ไม่ควรทำ"
ตั้ง Password โดยใช้คำที่คาดเดาได้ง่าย เช่น ชื่อหรือเบอร์โทร.
ตั้ง Password โดยใช้แป้นตัวอักษรเรียงกัน เช่น qwerty หรือ 123456
ตั้ง Password เป็นภาษาไทยแต่พิมพ์ด้วยแป้นภาษาอังกฤษ
บอก Password ให้คนอื่นรู้

ดาวน์โหลดคู่มือ " คนไทย รู้ทันภัยไซเบอร์ " ที่ https://www.etda.or.th/.../Cybersecurity-for-All-2020.aspx

ที่มา: ETDA Thailand 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Mobile Banking ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

Mobile Banking เป็นแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ สะดวก รวดเร็ว แต่ในความสะดวกรวดเร็วนั้นก็มีความเสี่ยงในขณะใช้เช่นกัน ซึ่งมีวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยได้ดังนี้ &

อ่านบทความนี้

ซื้อยาออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด

การซื้อยาผ่านช่องทางออนไลน์มากินเอง มีความเสี่ยงที่จะได้ยารักษาที่ไม่ตรงกับอาการ ยาไม่มีคุณภาพ หรือยาปลอม ซึ่งการจะรักษา หรือบรรเทาอาการนั้น ๆ จะต้องเข้าไปปรึกษาอาการเบื้องต้นกับเภสัชกร เพ

อ่านบทความนี้

ของถูก ระวังถูกหลอก

ปัจจุบันนี้มิจฉาชีพมีการออกอุบายในการหลอกลวงขายสินค้าในช่องทางออนไลน์หลากหลายรูปแบบ วิธีการหนึ่งที่กลุ่มมิจฉาชีพนำมาใช้คือการ “หลอกขายสินค้าราคาถูก” โดยจะมีการออกอุบายดังนี้ จะมีการ

อ่านบทความนี้