5 วิธีเล่นโซเชียลอย่างไรให้ปลอดภัย

30 เม.ย. 2564 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
5 วิธีเล่นโซเชียลอย่างไรให้ปลอดภัย

จากกระแสที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ลงมติเห็นชอบในการประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา จึงทำให้ประชาชนทั้งหลายต่างเริ่มมีความตื่นตัวในการใช้โซเชียลมีเดียและอินเตอร์เน็ตกันเป็นจำนวนมาก และเพื่อเป็นการสอดรับกับพระราชบัญญัติดังกล่าววันนี้เราจึงไม่พลาดที่จะหยิบเอา 5 วิธีเล่นโซเชียลอย่างไรให้ปลอดภัยมาฝากชาว Gen-C กันค่ะ

1.ใช้วิจารณญาณในการเสพข่าวสาร

ปัจจุบันไม่ว่าใครๆ ก็ต่างโพสต์ข้อความลงบนโลกโซเชียลได้ทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้เองในแต่ละวันบนโลกโซเชียลจึงเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารที่อาจเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องแต่ง ซึ่งเราในฐานะผู้เสพเนื้อหาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้วิจารณญาณในการเสพข่าว การแชร์หรือคอมเมนต์ข้อความใดๆ บนแหล่งข่าวที่ไม่รู้ที่มาที่ไปย่อมสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำความผิดและทำให้เรื่องดังกล่าวนั้นบานปลายออกไปอีกมาก

2.พึงระลึกไว้เสมอว่าบนโลกโซเชียลไม่มีคำว่าส่วนตัว

หลายๆ คนมักตกหลุมพรางในการเล่นโซเชียลด้วยความคิดที่ว่า การตั้งค่าให้เห็นเฉพาะเพื่อนคือการสร้างความเป็นส่วนตัว แต่ในความเป็นจริงแล้วโพสต์ต่างๆ ที่เราได้นำขึ้นไปบนโลกโซเชียลย่อมกลายเป็นสิ่งของสาธารณะที่ไม่ว่าใครก็สามารถเห็นได้ ถึงแม้วันนี้เราจะโพสต์รูปภาพหรือข้อความต่างๆ ให้เฉพาะกลุ่มเพื่อนได้เห็น แต่มันใจได้อย่างไรว่าพวกเขาเหล่านั้นจะไม่กดเซฟหรือส่งต่อโพสต์เหล่านี้ไปให้บุคคลที่ 3 ได้รับรู้ ?

3.อย่าแสดงความรู้สึกทุกอย่างลงบนโลกโซเชียล

หลายๆ คนมักโพสต์อารมณ์และความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ลงบนบัญชีโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น ทะเลาะกับแฟน เบื่องานประจำที่ทำ งอนเพื่อน ฯลฯ ซึ่งการโพสต์ความรู้สึกต่างๆ เหล่านี้โดยไม่ไตร่ตรองให้ดี บางครั้งก็เปรียบเสมือนกับดาบสองคมที่ย้อนกลับมาทำร้ายเราในภายหลัง (อย่าลืมว่า HR สมัยนี้ส่อง Facebook และ Twitter เก่งมากนะคะ)

4.เปิดเผยข้อมูลให้น้อยที่สุด

อย่างที่กล่าวไปในข้อ 2. ว่าบนโลกโซเชียลไม่มีคำว่าเป็นส่วนตัว ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการลงข้อมูลสำคัญๆ ที่เกี่ยวกับตัวเรา เช่น ชื่อนามสกุล เบอร์โทรศัพท์ ไอดีไลน์ ที่อยู่ หรือแม้แต่การเช็คอินเพื่อบอกสถานที่ในบางครั้งก็อาจเป็นการนำภัยมาสู่เราได้โดยไม่รู้ตัวเช่นเดียวกัน (โดยเฉพาะการโพสต์อวดทรัพย์สิน รูปถ่ายของบ้าน และการบ่งบอกสถานะว่ากำลังอยู่คนเดียว เป็นต้น)

5.รหัสผ่านเป็นสิ่งที่เราต้องรู้เพียงคนเดียวเท่านั้น

ข้อสุดท้ายเป็นข้อที่สำคัญที่สุด!! นั่นคือรหัสผ่านของบัญชีโซเชียลมีเดียต่างๆ จะต้องเป็นสิ่งที่มีเรารู้เพียงคนเดียวเท่านั้นการบอกรหัสผ่านให้บุคคลอื่นๆ หรือการล็อคอินโซเชียลมีเดียในที่สาธารณะจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ความระมัดระวังเพราะต้องไม่ลืมว่า พรบ.คอมพิวเตอร์ และ พรบ.ไซเบอร์ สามารถเอาผิดกับเจ้าของบัญชีแอคเคาท์ต่างๆ ที่มีพฤติกรรมบนโลกโซเชียลที่ไม่เหมาะสมได้แล้ว

และนี่ก็เป็น  5 วิธีการเล่นโซเชียลอย่างไรให้ปลอดภัยที่เราได้นำมาฝากชาว Gen-C กันในวันนี้ หวังว่าทุกคนจะใช้วิจารณญาณและสติให้รอบคอบ เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของความน่ากลัวบนโลกโซเชียลอีกต่อไปนั่นเอง

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: ananda

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Mobile Banking ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

Mobile Banking เป็นแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ สะดวก รวดเร็ว แต่ในความสะดวกรวดเร็วนั้นก็มีความเสี่ยงในขณะใช้เช่นกัน ซึ่งมีวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยได้ดังนี้ &

อ่านบทความนี้

ซื้อยาออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด

การซื้อยาผ่านช่องทางออนไลน์มากินเอง มีความเสี่ยงที่จะได้ยารักษาที่ไม่ตรงกับอาการ ยาไม่มีคุณภาพ หรือยาปลอม ซึ่งการจะรักษา หรือบรรเทาอาการนั้น ๆ จะต้องเข้าไปปรึกษาอาการเบื้องต้นกับเภสัชกร เพ

อ่านบทความนี้

ของถูก ระวังถูกหลอก

ปัจจุบันนี้มิจฉาชีพมีการออกอุบายในการหลอกลวงขายสินค้าในช่องทางออนไลน์หลากหลายรูปแบบ วิธีการหนึ่งที่กลุ่มมิจฉาชีพนำมาใช้คือการ “หลอกขายสินค้าราคาถูก” โดยจะมีการออกอุบายดังนี้ จะมีการ

อ่านบทความนี้