จากเหตุการณ์ ransomeware โจมตี ระบบของ รพ ETDA ได้ทำข้อมูลเพิ่อให้ความรู้ในการป้องกัน ransomeware นี้!!!

11 ก.ย. 2563 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
จากเหตุการณ์ ransomeware โจมตี ระบบของ รพ ETDA ได้ทำข้อมูลเพิ่อให้ความรู้ในการป้องกัน ransomeware นี้!!!

ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ VoidCrypt

  • VoidCrypt คืออะไร

VoidCrypt เป็น Ransomware หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ถูกออกแบบมาเพื่อให้เข้ารหัสข้อมูลในเครื่องเหยื่อ ทำให้ไม่สามารถเปิดไฟล์ข้อมูลใช้งานได้ และเรียกค่าไถ่เป็นบิตคอยน์มูลค่าประมาณ 500 ถึง 1,500 เหรียญสหรัฐโดยเริ่มระบาดตั้งแต่ปี 2563 VoidCrypt แพร่กระจายผ่าน Spam Emails หรือ Email Attachments มีพฤติกรรมเข้ารหัสไฟล์ทุกประเภท โดยการต่อท้ายนามสกุลไฟล์ด้วยที่อยู่อีเมล ข้อความสุ่ม 15 ตัวอักษร และ.spade (.[email][string{15}].Spade) ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้ และทิ้งบันทึกเรียกค่าไถ่ (Read-For-Decrypt.HTA) ที่แนะนำให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อสามารถกู้คืนข้อมูลได้หากมีการจ่ายค่าธรรมเนียมค่าไถ่ ทั้งนี้ปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือที่สามารถถอดรหัสได้

รูปตัวอย่างการแจ้งเรียกค่าไถ่โดยมัลแวร์เรียกค่าไถ่สายพันธุ์ VoidCrypt

  • ผลกระทบจาก VoidCrypt

ผลกระทบของ VoidCrypt หากระบบคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานติด VoidCrypt จะทำให้ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ถูกเข้ารหัสและไม่สามารถใช้งานได้หากไม่จ่ายเงินค่าไถ่ การเข้าใช้งานข้อมูลไม่ได้อาจทำให้หน่วยงานต้องระงับการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว ส่งผลต่อความต่อเนื่องของธุรกิจ ภาพลักษณ์ของหน่วยงาน ตลอดจนความสามารถในการดำเนินการตามสัญญากับผู้ใช้บริการ

  • วิธีการป้องกัน (กรณียังไม่มีคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานติด VoidCrypt)
  • นำข้อมูล IOC ไปตั้งค่าเพื่อป้องกันการโจมตี
  • ปรับปรุงระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในหน่วยงานให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด
  • สำรองข้อมูลเป็นเวอร์ชันในพื้นที่ออฟไลน์ หรือพื้นที่ในระบบ Cloud ซึ่ง Ransomware เข้าไม่ถึง
  • แนะนำผู้ใช้งานไม่ให้คลิกลิงก์หรือเปิดไฟล์ที่มาพร้อมกับอีเมลที่น่าสงสัย หากไม่มั่นใจว่าเป็นอีเมลที่น่าเชื่อถือ และควรสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับอีเมลนี้จากผู้ส่งโดยตรง
  • วิธีการแก้ไขเมื่อติด VoidCrypt

จัดเก็บข้อมูลที่ถูกเข้ารหัส เพื่อการกู้คืนข้อมูลในอนาคตเมื่อมีเครื่องมือ โดยปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือถอดรหัสข้อมูลที่เข้ารหัสโดย VoidCrypt ดังนั้นจึงมีเพียง 2 ทางเลือก คือ จ่ายค่าไถ่โดยคาดหวังว่าจะได้รับการถอดรหัสข้อมูล หรือเลิกใช้ข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสไว้ ด้วยเหตุนี้ผู้ใช้จึงควรดูแลความมั่นคงปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ ตรวจสอบและอัปเดตระบบปฏิบัติการ Windows และฐานข้อมูลของโปรแกรมแอนติไวรัส หมั่นสำรองข้อมูลสำคัญในสื่อบันทึกข้อมูลภายนอก (External Storage) อยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกโจมตีจาก Ransomware และในกรณีที่พบความผิดปกติของคอมพิวเตอร์ ให้รีบแจ้งหรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ไอที หรือเจ้าหน้าที่ของ ThaiCERT/ETDA ที่ 02 123-1212 (24 ชั่วโมง)  

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Mobile Banking ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

Mobile Banking เป็นแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ สะดวก รวดเร็ว แต่ในความสะดวกรวดเร็วนั้นก็มีความเสี่ยงในขณะใช้เช่นกัน ซึ่งมีวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยได้ดังนี้ &

อ่านบทความนี้

ซื้อยาออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด

การซื้อยาผ่านช่องทางออนไลน์มากินเอง มีความเสี่ยงที่จะได้ยารักษาที่ไม่ตรงกับอาการ ยาไม่มีคุณภาพ หรือยาปลอม ซึ่งการจะรักษา หรือบรรเทาอาการนั้น ๆ จะต้องเข้าไปปรึกษาอาการเบื้องต้นกับเภสัชกร เพ

อ่านบทความนี้

ของถูก ระวังถูกหลอก

ปัจจุบันนี้มิจฉาชีพมีการออกอุบายในการหลอกลวงขายสินค้าในช่องทางออนไลน์หลากหลายรูปแบบ วิธีการหนึ่งที่กลุ่มมิจฉาชีพนำมาใช้คือการ “หลอกขายสินค้าราคาถูก” โดยจะมีการออกอุบายดังนี้ จะมีการ

อ่านบทความนี้