การคลิก “I accept” เป็นลายมือชื่อหรือไม่?

24 มิ.ย. 2563 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
การคลิก “I accept” เป็นลายมือชื่อหรือไม่?
  • เมื่อมีการกู้ยืมเงินออนไลน์ ผู้กู้ต้องสร้างบัญชีออนไลน์ กรอกข้อมูลรวมถึงชื่อ และสร้าง password
  • จากนั้นมีข้อความข้อกำหนดหรือเงื่อนไขการกู้เงินปรากฏ ให้ผู้กู้รับทราบและยอมรับเงื่อนไข
  • เมื่อผู้กู้ยอมรับ จะปรากฏสัญญากู้ที่เป็นทางการและชื่อของผู้กู้ในสัญญา เพื่อให้ผู้กู้ได้อ่านรายละเอียด
  • ต่อจากนั้น ผู้กู้จึงคลิก “I Accept” และจะได้รับสัญญาที่ตกลงแล้วในรูปแบบไฟล์ PDF ซึ่งไม่สามารถทำการแก้ไขข้อความได้
  • ศาลตัดสินว่า คำว่า “I” ถือว่าเป็นเครื่องหมายชัดแจ้งที่ผู้กู้ได้ใช้เครื่องหมายนั้นในการแสดงเจตนารับรองและตกลงผูกพันตนเองกับข้อสัญญา

ดังนั้น การคลิก “I Accept” ถือเป็นการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (อ้างอิงจาก Bassano v Toft & Ors [2014] EWHC 377 (QB))

สำหรับประเทศไทย เพื่อเป็นการเสริมการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งออกมาตั้งแต่ปี 2544 รองรับการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลทางกฎหมาย เช่นเดียวกับการลงลายมือชื่อบนเอกสารกระดาษ และรองรับหลักความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (Technology Neutrality) ที่สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีใดก็ได้ในการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ETDA ในฐานะหน่วยงานหลักในการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการทำธุรกรรมออนไลน์ของประเทศ ได้จัดทำ “ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยแนวทางการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ETDA Recommendation on ICT Standard for Electronic Transactions: Electronic Signature Guideline) เลขที่ ขมธอ. 23-2563” ซึ่งได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นแนวทางและมาตรฐานให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการเลือกใช้วิธีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้เหมาะสมและลดความเสี่ยงในการทำธุรกรรมออนไลน์

อ่านต่อที่ คลิก

อ่านต่อ "Email เป็นลายมือชื่อหรือไม่?" ที่ คลิก

ที่มา: Etda Thailand

บทความที่เกี่ยวข้อง

Mobile Banking ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

Mobile Banking เป็นแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ สะดวก รวดเร็ว แต่ในความสะดวกรวดเร็วนั้นก็มีความเสี่ยงในขณะใช้เช่นกัน ซึ่งมีวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยได้ดังนี้ &

อ่านบทความนี้

ซื้อยาออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด

การซื้อยาผ่านช่องทางออนไลน์มากินเอง มีความเสี่ยงที่จะได้ยารักษาที่ไม่ตรงกับอาการ ยาไม่มีคุณภาพ หรือยาปลอม ซึ่งการจะรักษา หรือบรรเทาอาการนั้น ๆ จะต้องเข้าไปปรึกษาอาการเบื้องต้นกับเภสัชกร เพ

อ่านบทความนี้

ของถูก ระวังถูกหลอก

ปัจจุบันนี้มิจฉาชีพมีการออกอุบายในการหลอกลวงขายสินค้าในช่องทางออนไลน์หลากหลายรูปแบบ วิธีการหนึ่งที่กลุ่มมิจฉาชีพนำมาใช้คือการ “หลอกขายสินค้าราคาถูก” โดยจะมีการออกอุบายดังนี้ จะมีการ

อ่านบทความนี้