รู้จัก ไวรัส Malware และอื่นๆ

21 พ.ย. 2561 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
รู้จัก ไวรัส Malware และอื่นๆ

ในโลกที่ทุกอย่างเดินหน้าและขับเคลื่อนไปด้วยเทคโนโลยี ทำให้ไลฟ์สไตล์คนใช้ชีวิตยุคใหม่ได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น จากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งระบบของอินเทอร์เน็ตก็อาจมีอันตราย หรือภัยร้ายแฝงอยู่เช่นกัน โดยเฉพาะกับไวรัส หรือ มัลแวร์ (Malware) ต่างๆ ที่แทรกซึมและแฝงตัวมากับการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านกลุ่มแฮกเกอร์ ที่คอยเจาะข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการใช้งาน


มัลแวร์ (Malware) หรือที่ย่อมาจากคำว่า Malicious + Software คือ โปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อประสงค์ร้ายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงการล้วงข้อมูลสำคัญไปจากผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งมัลแวร์นั้นมีหลายประเภท แต่ก็จะมีกลุ่มหลักๆ ที่มักสร้างความไม่ปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานและเกิดปัญหาต่างๆ สามารถจำแนกได้หลายชนิด 

  • Phishing : การหลอกลวงผู้ใช้งานในโลกอินเทอร์เน็ต โดยที่กลุ่มผู้ประสงค์ร้ายจะสร้างเว็บไซต์ที่คล้ายหรือเหมือนกับแหล่งเป้าหมายเพื่อลิงค์ไปยังเว็บไซต์หลอกลวงตามที่ต้องการ เช่น การสร้างเว็บไซต์ธนาคาร เว็บไซต์ซื้อ-ขายสินค้า หรือเว็บไซต์ของรัฐบาล เพื่อหลอกลวงในการเอาข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลทางการเงินซึ่งผู้ประสงค์ร้ายสามารถนำไปใช้ประโยชน์โดยที่ผู้ใช้งานไม่รู้ตัว
  • Spyware : เป็นมัลแวร์ที่มีวิธีการทำงานสอดคล้องกับชื่อ "สปายแวร์" ที่จะตรวจสอบการเคลื่อนไหวของผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต โดยจะส่งข้อมูลที่คุณต้องการไปยังศูนย์กลางเป้าหมาย และแฝงด้วยการโฆษณา รวมถึงยังขยายรวมไปถึงกิจกรรมและการดาวน์โหลดโปรแกรมของผู้ใช้งาน
  • Trojan Horse : โทรจันจะเป็นมัลแวร์หลอกลวงผ่านหน้าตาโปรแกรมที่ถูกต้อง และนับเป็นมัลแวร์ที่รุกล้ำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานอย่างประสงค์ร้าย ซึ่งการทำงานของโทรจันอาจแฝงมากับโปรแกรมที่ผู้ใช้งานจะโหลดมีหน้าที่ที่ถูกต้อง แต่กลับกลายเป็นว่าโทรจันที่แฝงมากับโปรแกรม อาจสามารถลบข้อมูลด้านความปลอดภัยจากการส่งสแปมหรือสื่อลามก ทำให้คอมพิวเตอร์มีปัญหากับการใช้งาน
  • Virus : หากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานติดไวรัส จะทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่สามารถควบคุมบางส่วน หรือทั้งหมดของฟังก์ชันได้เลย เพราะไวรัสจะเข้าทำลายข้อมูล หรือค้นหาสิ่งต่างๆ ที่มีความเป็นส่วนตัว เช่น รหัสผ่านหมายเลขบัตรเครดิต หรือข้อมูลที่ละเอียดอ่อนอื่นๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น รวมถึงยังสามารถใช้คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานส่งอีเมลขยะ ภาพลามกอนาจาร หรือเพื่อประสานการโจมตีกับเว็บไซต์อื่นๆ บนอินเทอร์เน็ต
  • Worm : เวิร์มจะแฝงกายด้วยการจำลองตัวเองผ่านทางเครือข่าย ซึ่งการเข้าถึงส่วนใหญ่มักจะแทรกซึมมาจากทางอีเมล์ และเข้าสู่ Address Book ของผู้ใช้งาน ซึ่งหลังจากเวิร์มสามารถแทรกซึมเข้าสู่ข้อมูลของคุณแล้ว มันจะก็อปปี้สำเนาของผู้ใช้งานไปให้ที่อยู่ของคนอื่นเสมือนว่า ข้อความถูกส่งมาจากคุณ ซึ่งอาจเป็นการส่งต่อการติดมัลแวร์ไปสู่คนอื่นด้วยการแทรกซึมผ่านบัญชีที่ถูกเวิร์มเล่นงาน
  • Ransomware : อันนี้เพิ่งมาไม่กี่ปีนี้ หลายคนอาจจะเรียกว่า มัลแวร์เรียกค่าไถ่ ซึ่งจะเป็นมัลแวร์ที่เข้ารหัสไฟล์ไว้ เมื่อใครที่โดนมัลแวร์ชนิดนี้ จะต้องจ่ายค่าไถ่ เพื่อขอรหัสสำหรับเปิดไฟล์ ถ้าเป็นไฟล์ไม่สำคัญหลายคนก็เลือกที่จะทิ้งดีกว่า แต่ถ้าเป็นไฟล์สำคัญก็คงต้องเสียเงิน

 

และนี่ก็คืออันตรายของมัลแวร์หลักๆ ที่แฝงตัวมากับเทคโนโลยี ซึ่งผู้ใช้งานรุ่นใหม่ควรพึงระวังในการเข้าถึงข้อมูลบางจำพวกด้วยการป้องกันผ่านการใช้งานของตนเองก่อน รวมถึงความรอบคอบในการกดรับอีเมล หรือโปรแกรมแปลกปลอมซึ่งอาจแฝงมาด้วยความประสงค์ร้าย


นอกจากนี้ ควรติดตั้งโปรแกรมป้องกันมัลแวร์ อัพเดตอยู่เรื่อยๆ และเลือกใช้โปรแกรมที่มีความน่าเชื่อถือจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น เพื่อให้การใช้งานอยู่ห่างไกลจากความไม่ปลอดภัยได้มากขึ้น นอกจากประสิทธิภาพของโปรแกรมป้องกันมัลแวร์ต่างๆ แล้ว โครงการเน็ตประชารัฐเชื่อว่า ความรู้ในการป้องกันภัยทั้งหลาย จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ยังมีหน่วยงานที่แนะนำเรื่องข่าวสารอยู่หลายเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็น ThaiCERT(https://www.thaicert.or.th/) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่คอยอัปเดตข่าวสารเรื่องความปลอดภัยในการใช้งาน รวมทั้งยังมีโครงการ รอบรู้ ทันภัย Cyber (www.facebook.com/cybercrimePR) ที่ช่วยอัพเดตข้อมูลและรู้จักระวังภัยต่างๆ ของโลกอินเทอร์เน็ต

บทความที่เกี่ยวข้อง

Mobile Banking ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

Mobile Banking เป็นแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ สะดวก รวดเร็ว แต่ในความสะดวกรวดเร็วนั้นก็มีความเสี่ยงในขณะใช้เช่นกัน ซึ่งมีวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยได้ดังนี้ &

อ่านบทความนี้

ซื้อยาออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด

การซื้อยาผ่านช่องทางออนไลน์มากินเอง มีความเสี่ยงที่จะได้ยารักษาที่ไม่ตรงกับอาการ ยาไม่มีคุณภาพ หรือยาปลอม ซึ่งการจะรักษา หรือบรรเทาอาการนั้น ๆ จะต้องเข้าไปปรึกษาอาการเบื้องต้นกับเภสัชกร เพ

อ่านบทความนี้

ของถูก ระวังถูกหลอก

ปัจจุบันนี้มิจฉาชีพมีการออกอุบายในการหลอกลวงขายสินค้าในช่องทางออนไลน์หลากหลายรูปแบบ วิธีการหนึ่งที่กลุ่มมิจฉาชีพนำมาใช้คือการ “หลอกขายสินค้าราคาถูก” โดยจะมีการออกอุบายดังนี้ จะมีการ

อ่านบทความนี้