รู้ทันภัยการหลอกลวงซื้อขายออนไลน์

22 ส.ค. 2565 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
รู้ทันภัยการหลอกลวงซื้อขายออนไลน์

การซื้อขายออนไลน์มีทั้งร้านค้าที่ไว้ใจได้ และร้านค้าที่หลอกลวงไม่ส่งของให้ ได้ของไม่ตรงปก เพื่อป้องกันการโดนฉ้อโกง ควรปฎิบัติตามดังนี้

1. ถูกลักลอบ/โจรกรรมข้อมูลบัตรเครดิต ระหว่างชำระเงินออนไลน์
- ติดต่อธนาคารเจ้าของบัตรเพื่อระงับการใช้
- ทำลายบัตรเก่าทิ้ง เน้นทำลายแถบแม่เหล็กและชิปบันทึกข้อมูลบนบัตร
- ตรวจสอบกับทางธนาคารถึงการคืนเงิน ว่าสามารถทำได้หรือไม่ และต้องใช้หลักฐานอย่างไรในการยืนยันว่าการทำธุรกรรมซื้อขายที่เป็นปัญหานั้น ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจของเราจริง ๆ
- ลบข้อมูลบัตรเครดิต ที่เคยบันทึกไว้บนเว็บไซต์หรือระบบต่าง ๆ ที่ช่วยในการซื้อของออนไลน์ เพื่อเป็นการทำลายข้อมูลทั้งหมด

2. เกิดข้อพิพาทระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย กรณีปัญหาไม่ใหญ่ เช่น สินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ สินค้าแตกหัก หรือได้รับสินค้าไม่ครบ
- อ่านข้อกำหนดบนเว็บไซต์ที่ขายสินค้า ว่ามีนโยบายการคืนสินค้า หรือแก้ปัญหาเหล่านี้หรือไม่
- หากชี้แจงไว้ก็ให้ทำตามเพื่อแก้ปัญหา
- แต่หากไม่ชี้แจงควรติดต่อผู้ขายและเจรจาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ขายอาจรับผิดชอบโดนการคืนเงิน การเปลี่ยนสินค้า หรือติดต่อหน่วยงานที่ดูแลผู้บริโภคเพื่อประสานและไกล่เกลี่ย

3. เกิดข้อพิพาทเป็นการทำผิดโดยตั้งใจของผู้ขาย
- รวบรวมเอกสารทุกอย่างที่เกิดขึ้นในการซื้อสินค้าออนไลน์
- เข้าแจ้งความกับตำรวจ เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) โดยอาจจะชี้แจงกับตำรวจว่าขอดำเนินคดีให้ถึงที่สุด และรับใบแจ้งความกลับมา
- นำใบแจ้งความไปติดตามหาที่อยู่ของผู้ขาย ในกรณีที่ผู้ขายไม่แจ้งที่อยู่ชัดเจนไว้ เช่น หากผู้ขายประกาศขายในเว็บบอร์ดแห่งหนึ่ง ก็นำใบแจ้งความไปติดต่อผู้ดูแลเว็บบอร์ดเพื่อตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ขาย เช่น IP Address และ ISP ที่ผู้ขายใช้ ซึ่ง ISP ก็สามารถค้นหาตำแหน่งของผู้ขายได้จาก IP Address นั่นเอง หรืออาจจะติดต่อกับธนาคารเจ้าของบัญชีเพื่อขอข้อมูลที่อยู่ได้เช่นกัน
- นำหลักฐานเกี่ยวกับที่อยู่ที่ได้นี้ไปแจ้งความกับตำรวจอีกครั้ง เพื่อให้ตำรวจดำเนินการจับกุม
- จับกุมแล้ว ขั้นตอนที่เหลือ คือ ขั้นตอนในชั้นศาล

ที่มา : สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
#ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter

บทความที่เกี่ยวข้อง

5 วีธี สำหรับร้านค้าออนไลน์ในการตรวจสอบ “สลิปปลอม”

หนึ่งในปัญหาที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มักพบ คือ “สลิปปลอม” ที่มิจฉาชีพใช้ในการหลอกลวง ว่าได้โอนเงินให้แล้ว ทั้งๆที่ยังไม่ได้มีการโอนเงินจริง ทำให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลงเชื่อและส่งสินค้าให้ จนเ

อ่านบทความนี้

เตือน ! ซื้อหน้ากากอนามัยออนไลน์ แล้วไม่ได้ของ

ระวัง !! มิจฉาชีพฉวยโอกาสหลอกขายหน้ากากอนามัยทางออนไลน์ สุดท้ายเงียบหาย ไม่ส่งของ ติดต่อไม่ได้ ใครที่อยากซื้อขอให้ฉุกคิดสักหน่อย เช็กให้ชัวร์ ดูรีวิวการซื้อขายสินค้าให้ดี และอย่าเห็นแก่ของถูกที่มา : ก

อ่านบทความนี้

เตือนภัยวิบวับ ซื้อของออนไลน์ จะไม่มะล่องก่องแก่งอีกต่อไป

เอาราคาแสนถูกมาล่อใจ โดยเฉพาะสินค้าไอที พวกมือถือ กล้องดิจิทัล ฯลฯ พอโอนเงินไป บอกของหมด ขอเปลี่ยนรุ่น แต่ให้เพิ่มตังค์ หรือสั่งซื้อแล้ว จ่ายไปแล้วมาแจ้งทีหลังว่าขอค่าส่ง ค่าลงทะเบียน

อ่านบทความนี้