3 หลักฐานที่ควรเก็บ เมื่อมีพัสดุเก็บเงินปลายทางมาส่ง แต่ไม่ได้สั่ง

09 มิ.ย. 2565 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
3 หลักฐานที่ควรเก็บ เมื่อมีพัสดุเก็บเงินปลายทางมาส่ง แต่ไม่ได้สั่ง

กรณีได้รับพัสดุที่เข้าข่ายต้องสงสัย หรือหากได้รับพัสดุชนิดนั้นมาแล้ว ให้เก็บหลักฐานดังต่อไปนี้ นำไปแจ้งความดำเนินคดีที่สถานีตำรวจ
1. ถ่ายรูปกล่องพัสดุ
2. รายละเอียดผู้ส่ง
3. เลขพัสดุ

สำหรับใครที่มีพัสดุเก็บเงินปลายทางมาส่งที่บ้าน หากตรวจสอบเเล้ว พบว่าตนเองหรือคนรอบข้างไม่ได้สั่งของตามที่พัสดุดังกล่าวส่งมา เราสามารถปฏิเสธการรับของหรือปฏิเสธการจ่ายเงินได้ในทันที เพื่อเป็นการป้องกันการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพที่จะส่งพัสดุมาหลอกเก็บเงินปลายทาง

ในส่วนของมิจฉาชีพที่กระทำการในลักษณะดังกล่าว ถือเป็นการกระทำที่เข้าข่ายความผิดฐาน “ฉ้อโกง” ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341 มีโทษหนักถึงจำคุก

ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง
#ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter

บทความที่เกี่ยวข้อง

5 วีธี สำหรับร้านค้าออนไลน์ในการตรวจสอบ “สลิปปลอม”

หนึ่งในปัญหาที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มักพบ คือ “สลิปปลอม” ที่มิจฉาชีพใช้ในการหลอกลวง ว่าได้โอนเงินให้แล้ว ทั้งๆที่ยังไม่ได้มีการโอนเงินจริง ทำให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลงเชื่อและส่งสินค้าให้ จนเ

อ่านบทความนี้

เตือน ! ซื้อหน้ากากอนามัยออนไลน์ แล้วไม่ได้ของ

ระวัง !! มิจฉาชีพฉวยโอกาสหลอกขายหน้ากากอนามัยทางออนไลน์ สุดท้ายเงียบหาย ไม่ส่งของ ติดต่อไม่ได้ ใครที่อยากซื้อขอให้ฉุกคิดสักหน่อย เช็กให้ชัวร์ ดูรีวิวการซื้อขายสินค้าให้ดี และอย่าเห็นแก่ของถูกที่มา : ก

อ่านบทความนี้

เตือนภัยวิบวับ ซื้อของออนไลน์ จะไม่มะล่องก่องแก่งอีกต่อไป

เอาราคาแสนถูกมาล่อใจ โดยเฉพาะสินค้าไอที พวกมือถือ กล้องดิจิทัล ฯลฯ พอโอนเงินไป บอกของหมด ขอเปลี่ยนรุ่น แต่ให้เพิ่มตังค์ หรือสั่งซื้อแล้ว จ่ายไปแล้วมาแจ้งทีหลังว่าขอค่าส่ง ค่าลงทะเบียน

อ่านบทความนี้