ขอความร่วมมือเกษตรกร 13 จังหวัด “งดทำนาปรัง รอบ 2” ลดเสี่ยงข้าวขาดน้ำ หนุนปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน

27 มี.ค. 2566 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ขอความร่วมมือเกษตรกร 13 จังหวัด “งดทำนาปรัง รอบ 2” ลดเสี่ยงข้าวขาดน้ำ หนุนปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายส่งเสริมการปลูกข้าวปีละไม่เกิน 2 รอบ คือ ปลูกข้าวนาปี (1 พ.ค. – 31 ต.ค.) และการปลูกข้าวนาปรัง (1 พ.ย. – 30 เม.ย.) หากมีการปลูกข้าวอีกจะเป็นนาปรังรอบที่ 2 (1 มี.ค. – 30 เม.ย.) ซึ่งจะเป็นการปลูกข้าวเป็นรอบที่ 3 ของปี
 
กรมส่งเสริมการเกษตร เผยข้อมูลสถานการณ์การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง (ณ วันที่ 15 มี.ค. 66) ในส่วนของการเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2 พบว่า
 
มีการเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2 จำนวน 12.23 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 90 ของแผนการปลูกข้าว โดยแบ่งเป็น ในเขตชลประทาน 9.61 ล้านไร่, นอกเขตชลประทาน 2.62 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 1.97 ล้านไร่ และเกษตรกรจะทยอยเก็บเกี่ยวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ดังนั้น
 
หากเกษตรกรเพาะปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 ต่อเนื่องทันที จะส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำของข้าวที่อยู่ระหว่างการเพาะปลูก รวมทั้งกระทบต่อปริมาณน้ำต้นทุนของลุ่มเจ้าพระยา จากเหตุผลดังกล่าวนั้น
 
จึงขอความร่วมมือเกษตรกร 13 จังหวัด ได้แก่ ระยอง ชลบุรี นครสวรรค์ พิจิตร ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ฉะเชิงเทรา นครปฐม สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี “งดทำนาปรังรอบ 2” เพื่อรักษาระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาและระบบชลประทาน ลดความเสี่ยงที่จะขาดแคลนน้ำ เนื่องจากไม่มีน้ำต้นทุนเพียงพอ
 
สำหรับ “การพักนา” ไม่ปลูกข้าวอย่างต่อเนื่อง มีประโยชน์และผลดีหลายด้าน :
 
> ลดความเสี่ยงที่จะขาดทุนเนื่องจากต้นข้าวยืนต้นตายเพราะขาดน้ำ
> ลดปัญหาการขาดแคลนน้ำในภาพรวมของประเทศ
> เป็นการพักดินเพื่อลดปัญหาการสะสมของโรคและแมลงศัตรูข้าว
 
โดยเกษตรกรสามารถปลูกพืชปุ๋ยสดแทน เพื่อปรับปรุงดินให้ดีขึ้น เช่น ปอเทือง ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม โสนอัฟริกัน ถั่วเขียว หรือพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตด้านการใช้ปุ๋ยในฤดูกาลผลิตถัดไปได้
 
กรณีเกษตรกร “มีแหล่งน้ำของตนเองหรือแหล่งน้ำอื่น ๆ” ที่ประเมินแล้วว่าเพียงพอต่อการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เกษตรกรสามารถเลือกปลูกพืชที่มีตลาดรองรับในพื้นที่ :
 
> กลุ่มพืชไร่ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วเหลืองฝักสด และถั่วลิสง
> กลุ่มพืชสมุนไพร เช่น อัญชัน ตะไคร้ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ดาวเรืองตัดดอก และอโกลนีมา
> กลุ่มพืชผัก เช่น ตระกูลกะหล่ำ ตระกูลแตง ตระกูลถั่ว ตระกูลมะเขือ ผักกินใบ พืชหัว กระเจี๊ยบเขียว ข้าวโพดฝักสด และเห็ด
 
สำหรับเกษตรกรที่ต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอและสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน
 
-------------------
Facebook/Twitter : ไทยคู่ฟ้า
YouTube : ไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
LINE/TikTok : ไทยคู่ฟ้า (@thaigov)
 
ที่มา : ไทยคู่ฟ้า

บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้