ถ่ายปุ๊บรู้โรคทันที! สวทช.พัฒนา "ไลน์บอกโรคข้าว"

07 พ.ย. 2565 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ถ่ายปุ๊บรู้โรคทันที! สวทช.พัฒนา "ไลน์บอกโรคข้าว"

ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในทุกสังคมไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะด้านการเกษตรที่หลายหน่วยงานพยายามผลักดันและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ มาเป็นตัวช่วยเสริมให้กับเกษตรกรมากขึ้น

เช่นเดียวกับ คุณวศิน สินธุภิญโญ นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีแห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) ที่มองเห็นถึงปัญหาของชาวนาไทย นำมาสู่การวิจัยและพัฒนาจนเกิดเป็นกลุ่มไลน์ “บอทโรคข้าว” (Rice Disease Linebot) ตัวช่วยวินิจฉัยโรคข้าวที่ชาวนาทุกคนเข้าถึงได้

คุณวศินบอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นของโครงการดังกล่าวว่า มาจากการรับรู้ปัญหาของเกษตรกรตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันที่ต้องแบกรับต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูงในแต่ละปี ทำให้หลายคนพยายามมองหาตัวช่วยในการลดต้นทุนลงเท่าที่จะทำได้ สิ่งนี้นำมาซึ่งการตั้งโจทย์ว่าจะมีเทคโนโลยีอะไรบ้างที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ หลังผ่านการวิเคราะห์ในหลากหลายมุมมอง ทำให้พบว่าหนึ่งในต้นทุนหลักที่เกษตรกรต้องเสียไปอย่างเปล่าประโยชน์ทุกปีคือ สารเคมี จำพวกยาปราบวัชพืช และยาฆ่าแมลง เป็นต้น

ซึ่งสาเหตุมักเกิดจากความไม่รู้หรือไม่แน่ใจจนต้องลองผิดลองถูก ทำให้ทีมวิจัยเกิดความคิดว่าจะดีแค่ไหนหากสามารถช่วยให้เกษตรกรเลือกใช้ยาที่ถูกต้องตรงกับอาการของพืชได้ เพราะการแก้ปัญหายิ่งทำได้รวดเร็วเท่าไร ก็จะช่วยลดความสูญเสียของข้าวที่ถูกศัตรูพืชทำลายได้มากเท่านั้น

สำหรับการพัฒนาระบบคุณวศินอธิบายว่า หลังจากพัฒนาตัวโรบอทขึ้นมาแล้วจะใช้วิธีลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล รูปภาพ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้ทั้งเวลาและทรัพยากรจำนวนมาก หลังจากนั้นจะนำภาพที่ได้ไปให้อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคข้าวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ช่วยดูและวิเคราะห์ให้ว่าภาพที่เก็บมาคือโรคอะไร

นั่นหมายความว่าภาพที่ใช้ต้องมีความคมชัดในระดับที่ผู้เชี่ยวชาญแค่มองก็สามารถตอบได้ว่าเป็นโรคอะไร หลังยืนยันข้อมูลส่วนนี้แล้วจึงจะนำภาพที่ผ่านการคัดเลือกป้อนลงในระบบ เพื่อสอนให้ AI ได้เรียนรู้และ คัดแยกได้ว่าภาพแบบไหนเป็นโรคอะไร เป็นกระบวนการที่ต้องทำซ้ำ ๆ เพื่อเพิ่มความแม่นยำให้กับระบบ

คุณวศินบอกอีกว่า ก่อนเปิดตัวระบบนี้ ทีมวิจัยสามารถทดลองให้ AI เรียนรู้ได้มากถึง 16 โรค แต่มีเพียง 10 โรคเท่านั้นที่มีความแม่นยำสูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ประกอบด้วยโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบขีดสีน้ำตาล โรคใบขีดโปร่งแสง

นอกจากข้าวแล้วเรายังมีการต่อยอดนำระบบไปใช้กับพืชชนิดอื่น ๆ ด้วย โดยล่าสุดอยู่ระหว่างการพัฒนาโรคพืชในสตรอว์เบอร์รีร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง และโรคมันสำปะหลังร่วมกับ ม.เกษตรครับ ถ้าองค์กรไหนสนใจอยากร่วมวิจัยสามารถติดต่อมาได้ ทางผมพัฒนาระบบ อีกฝั่งต้องเชี่ยวชาญโรคพืชเพื่อมาร่วมมือกัน ส่วนบุคคลทั่วไปที่อยากเข้าร่วมกลุ่มหรือเปิดกลุ่มไลน์แยกก็ติดต่อมาได้ครับ ตอนนี้เราเปิดให้ใช้ฟรีครับ

ขอบคุณข้อมูล
https://www.thaiquote.org/content/248527

☎️ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999


บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้