ฟาร์มไก่ไข่ อารมณ์ดี จุดเริ่มต้นแนวคิด "เกษียณก่อนวัย"

08 ส.ค. 2565 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ฟาร์มไก่ไข่ อารมณ์ดี จุดเริ่มต้นแนวคิด "เกษียณก่อนวัย"
‘เกษียณก่อนวัย’ แนวคิดเตรียมพร้อมชีวิตบั้นปลายจากเกษตรรุ่นใหม่อย่าง น้องมด ปุญญิศา อั่วทู เจ้าของฟาร์มไก่ และดาว TikTok ที่มีผู้ติดตามกว่า 1.1 ล้านภายในเวลาไม่กี่เดือน 🐓
สิ่งที่ทำให้ทุกคนจดจำเธอได้นั่นก็คือภาพผู้หญิงตัวเล็ก ๆ ที่ตัดต้นกล้วย แบกต้นกล้วยไปเป็นอาหารให้น้องไก่ไข่กว่า 120 ชีวิต พร้อมกับการแชร์เคล็ดลับวิธีการเลี้ยงไก่ไข่ให้อารมณ์ในแบบฉบับของเธอที่เรียกได้ว่า ‘ละเอียดยิบ’ จนใครที่ดูน้องมดบ่อย ๆ แทบจะทำตามได้เลย 👍
กูรู้ กูรูเกษตร ได้มีโอกาสเข้าไปพูดคุยกับน้องมดหลาย ๆ เรื่อง เรียกได้ว่าน้องมดให้ทั้งพลังบวกและแรงบันดาลใจกลับมาเพียบ เราก็เลยขอมาแชร์ทัศนคติที่น่าประทับใจของน้องมดกันหน่อย
น้องมด อายุ 27 ปี เปรียบเทียบก็คงเป็น Gen Y กำลังวัยรุ่นและได้เริ่มใช้ชีวิตเลยครับ แต่เห็นแบบนี้น้องมดทำงานประจำมามากกว่า 5 ปีแล้วนะครับ ซึ่งเธอก็เป็นพนักงานออฟฟิศเหมือนใครหลาย ๆ คนนี่แหละ
🥚 จุดเริ่มต้นของการมาทำฟาร์มไก่ไข่อารมณ์ดีนั่นก็เพราะเธอได้มีโอกาสกลับมา WFH ที่บ้าน และอยากจะใช้เวลาว่างให้มีประโยชน์มากที่สุด จึงผุดเป็นไอเดียทำฟาร์มไก่ไข่อารมณ์ดีขึ้นมา
แต่สิ่งที่มากไปกว่าการทำฟาร์มไก่ไข่เพื่อหาอาชีพเสริมนั่นก็คือ ‘การวางแผนเกษียณ’ หลายคนก็คงมีความคิดว่าอยากจะเกษียณตัวเองไปใช้ชีวิต Slow Life ที่บ้านเกิดใช่ไหมล่ะ แต่ลองคิดดี ๆ กว่าเราจะเกษียณ สุขภาพร่างกายอาจจะไม่ไหวแล้ว
น้องมดก็คิดแบบเราเช่นกัน แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกันคือ ‘น้องมดเริ่มเลยตอนนี้’ ทำมันเสียตั้งแต่ตอนที่ยังมีกำลัง ถึงแม้จะทำแบบไม่ได้ใหญ่โตมากในวันนี้ แต่อีกไม่กี่วันข้างหน้ามันก็คงขยับขยายไปตามประสบการณ์และวัย
น้องมดบอกว่า เริ่มเกษียณเลยตั้งแต่วันนี้ เตรียมมันไว้ให้พร้อม หาแนวทางของตัวเองให้เจอและเริ่มลงมือทำ “ลงมือทำเลยค่ะ ไม่ต้องรอเกษียณ อะไรที่ทำได้ตอนนี้ทำไปก่อนเลย หากยังไม่มีเวลาหรือพื้นที่ยังไม่พร้อมขอแค่ศึกษาไปก่อนก็ได้ พัฒนาตัวเองไปเรื่อย ๆ แล้วก็ลงมือ เมื่อถึงวันนั้นโอกาสมันจะเข้ามาหาเราเอง”
เช่นเดียวกับน้องมด ที่เริ่มเร็ว โอกาสก็มาหาเร็ว จากการทำ TikTok เล่น ๆ ปัจจุบันผู้ติดตามทะลุหลักล้านไปแล้วและยังคงเพิ่มเรื่อย ๆ และยังมีงานรีวิว สปอนเซอร์ต่าง ๆ เข้ามาอีก เป็นอีกปัจจัยให้น้องมดประสบความสำเร็จเร็วขึ้นเลย
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะเกิดคำนี้ขึ้นในใจ “ทำจริงมันไม่ได้ง่ายแบบที่พูดล่ะสิ”
แน่นอนครับว่าการเริ่มต้นมันยาก แต่ถ้าเราเริ่มได้รับรองว่าหลังจากนี้เรื่องสบาย ๆ ซึ่งเราก็ได้ข้อคิดมาจากน้องมดเหมือนกันว่า ‘การทำการเกษตรมันไม่ยาก ถ้ามันยากแปลว่านั่นไม่ใช่เกษตร’ เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องตายตัว เราสามารถประยุกต์ตามที่เราสะดวกได้
ตอนนี้เกษตรกรไทยประสบปัญหาเดียวกันหมด ปุ๋ยแพงขึ้น อาหารสัตว์ขึ้นราคา วัสดุอุปกรณ์ก็แพง น้องมดก็เจอปัญหาเหล่านี้เช่นกัน แต่สิ่งที่น้องมดทำคือมองหาว่าสิ่งไหนจะมาช่วยลดต้นทุนเหล่านี้ได้บ้าง
👉 ต้นทุนสร้างโรงเรือนแพง ใช้วัสดุมือสองพอได้ไหม อย่างน้องมดก็นำเอากระเบื้องมือสองมาใช้นะครับ ประหยัดไปได้เยอะเลยล่ะ
👉 อาหารสัตว์แพง น้องมดก็หาพืชผักธรรมชาติมาช่วยทุ่นค่าอาหารไปได้เยอะแถมผลพลอยได้ก็คือน้องไก่ได้กินอาหารที่หลากหลายและมีประโยชน์ เสริมวิตามิน สารอาหารจากหัวอาหารขึ้นไปอีก
👉 ค่าไฟแพง น้องมดก็มองหาหลอดไฟแบบที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ (อย่าเพิ่งคิดว่าหลอดไฟเหล่านี้แพงนะครับ)
เราคงคุ้นชินว่าปลูกผักต้องปลูกแบบนี้นะ เลี้ยงสัตว์ต้องเลี้ยงแบบนี้ น้องมดก็มีประสบการณ์เหล่านี้เช่นกันกับคำถามว่า “ทำไมเลี้ยงไก่ไข่ล่ะ มันจะขาดทุนเอานะ” สิ่งที่น้องมดทำคือฟังและระมัดระวังมากขึ้น และไม่กลัวที่จะอยู่ในกรอบนั้น และยังมองหาวิธีเลี้ยงแบบใหม่ ๆ ในแบบฉบับของตัวเองอย่างที่เราเห็นนี่แหละ
เอาล่ะ ไม่อยากพูดเยอะครับ อยากให้ไปฟังน้องมดกันเองแบบเต็ม ๆ ที่นี่เลย https://bit.ly/3kZfnsE
 
รับรองว่าน้องมดจะช่วยสร้างพลังบวกและแรงบันดาลใจให้หลาย ๆ คนแน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้