ตรงสถานการณ์!! พัฒนานวัตกรรมไส้มันสำปะหลัง ดูดซับ ‘คราบน้ำมัน’ ได้ ผลงานนักศึกษามจธ.-เล็งนำไปใช้จริง 

14 มี.ค. 2565 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ตรงสถานการณ์!! พัฒนานวัตกรรมไส้มันสำปะหลัง ดูดซับ ‘คราบน้ำมัน’ ได้ ผลงานนักศึกษามจธ.-เล็งนำไปใช้จริง 

เหตุการณ์การรั่วไหลของน้ำมันในทะเลที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการรั่วไหลเล็กน้อยจากเรือ หรืออุบัติเหตุครั้งร้ายแรงของท่อขนส่งน้ำมัน สร้างผลกระทบหนักกับระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมในทะเลรวมถึงบริเวณชายฝั่ง ประกอบกับประเทศไทย มีการเพาะปลูกมันสำปะหลังซึ่งจัดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย ซึ่งประเทศไทยมีผลผลิตมันสำปะหลังกว่า 29 ล้านตัน

จึงเป็นที่มาของ "โครงงานวัสดุชีวภาพสำหรับดูดซับคราบน้ำมันในทะเล" ของน้องๆ 4 นักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ประกอบด้วย น.ส. พรไพลิน ลิปภานนท์ (ผักกาด), น.ส.ปิยฉัตร เสียมไหม (แพร) นักศึกษาชั้นปีที่ 2, นายกันต์ ขยันยิ่ง (กันต์) และนายตนปพน ปริยานันทวัฒน์ (เพชร) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภายใต้ชื่อทีม It's a cassava! ที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อนำผลงานเข้าร่วมการประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล

นายตนปพน ปริยานันทวัฒน์ หรือ เพชร เสริมว่า หลักการทำงานของไส้มันสำปะหลังนั้น สามารถดูดซับของเหลวได้ค่อนข้างดี เราจึงมองว่า น่าจะสามารถดูดซับน้ำมันได้เช่นกัน โดยมีการปรับเปลี่ยนสภาพพื้นผิวของไส้มันสำปะหลังเล็กน้อย

จึงไปค้นหาข้อมูลงานวิจัยอื่นๆ เกี่ยวกับการทดลองนำวัสดุชีวภาพมาปรับปรุงพื้นผิวด้วยสารเคมี แล้วนำมาปรับใช้กับไส้มันสำปะหลัง เพื่อให้สามารถดูดซับน้ำมันได้มากขึ้น ก็พบว่า สารไคโตซานมีความเหมาะสมสามารถนำมาใช้ในการทดลอง

"ผลการทดลองใช้ไส้มันสำปะหลังดูดซับน้ำมันได้ดี และมีข้อดีของไส้ต้นมันสำปะหลังมากกว่าวัสดุดูดซับอื่น คือ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมในทะเล ราคาถูก เป็นของเหลือใช้จากวัตถุดิบทางการเกษตรของประเทศไทย และทุกคนก็สามารถเข้าถึงนวัตกรรมนี้ได้ง่าย" น.ส. พรไพลิน ลิปภานนท์ หรือ ผักกาด กล่าว

จากการศึกษาเบื้องต้น ในการดูดซับน้ำมันจากไส้มันสำปะหลังพบว่า เมื่อนำไส้มันสำปะหลังไปแช่ในไคโตซานเพื่อปรับสภาพพื้นผิว จะเห็นว่ามีการดูดซับน้ำมันได้มากขึ้นกว่าตอนไม่ได้แช่ในไคโตซาน โดยไส้มันสำปะหลังที่ผ่านการปรับปรุงพื้นผิว สามารถดูดซับน้ำมันและขยายตัวเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ผลงานวัสดุทางชีวภาพสำหรับดูดซับน้ำมันในทะเลจากไส้ต้นมันสำปะหลังของนักศึกษากลุ่มนี้ แม้จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ แต่ได้จุดประกายให้เห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ของวัสดุเหลือทิ้งทางภาคเกษตรที่สามารถนำมาต่อยอดขยายผลยกระดับเพิ่มมูลค่าให้เป็นวัสดุหรือสารที่มีมูลค่าสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้ทดแทนตัวดูดซับสังเคราะห์ที่มีราคาแพงและย่อยสลายได้ยากในธรรมชาติ ที่สำคัญเป็นของที่หาได้ง่าย ราคาถูก และผลิตเองได้ในประเทศ

ขอบคุณข้อมูล
https://www.ryt9.com/s/prg/3304264

☎️ ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999

🚨 ช่องทำเกษตรอินทรีย์ 👉 https://bit.ly/เกษตรเพียวเพียว

 

ที่มา : เกษตรนิวส์ ข่าวเกษตร

บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้