ไประดับโลก มกอช.เตรียมดันฮับแมลงโลก ชู ‘จิ้งหรีด’ ของดีโปรตีนสูงสร้างจุดแข็งความมั่นคงทางด้านอาหาร
22 ก.พ. 2565 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมนายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวในงาน Taste Bud Biobuddy Network ร่วมกับ วีเอ็นยูฯ และกลุ่ม FoodConnext จัดเสวนา Future Food Forum 2022 และ WHERE IS THE FUTURE OF FUTURE FOOD คาดการณ์การบริโภคโปรตีนบวกกับกระแสความนิยมในการบริโภคโปรตีนเพื่อสุขภาพว่า ภายใน 20 ปี “แมลง” จะเป็น protine source (แหล่งโปรตีน) สำคัญของโลก ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่แหล่งโปรตีนส่วนใหญ่มาจากเนื้อสัตว์จากฟาร์ม
ซึ่ง มกอช.ประเมินว่า ส่วนแบ่งตลาดโปรตีนจะเปลี่ยนเป็น สัดส่วน 40% มาจากเนื้อสัตว์จากฟาร์ม, 30% มาจากแล็บ/การเพาะเลี้ยงใหม่จากห้องแล็บ ส่วนอีก 30% มาจากแหล่งใหม่ ๆ อาทิ อาหารอนาคต (plant besed) และแมลง ซึ่งแมลงที่จัดอยู่ในสัดส่วน 30% จากแหล่งใหม่ ๆ นี้ถือเป็นสัดส่วนที่น่าสนใจมาก ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดเป็นนโยบายความมั่นคงทางอาหาร
โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับ 3S ได้แก่ safety ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเน้นหลักการ safety อาหารปลอดภัย ส่วน security ปีนี้หมูแพง ปริมาณหมูขาดจะรับมืออย่างไร ระยะหลังมีการเพิ่มความเข้มงวด sustainability ความยั่งยืนต้องเป็นธรรมเป็นประโยชน์ทั้งผู้ประกอบการและเกษตรกร ที่สำคัญคือ เพื่อตอบโจทย์อนาคต เฉพาะโปรตีนจากแมลงที่ว่านี้ก็คือ “จิ้งหรีด” เป็นอาหารที่มีการเลี้ยงด้วยระบบปิด การเลี้ยงไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มกอช.ได้กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)
สำหรับฟาร์มจิ้งหรีด (มกษ.8202-2560) จัดเป็นมาตรฐานทั่วไป เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อความปลอดภัยของผลิตผลจากจิ้งหรีด ปัจจุบันมีเครือข่ายเกษตรกรทั่วประเทศกว่า 20,000 ราย มีการเลี้ยงจิ้งหรีดรูปแบบแปรรูปผงโปรตีน สามารถส่งออกปีละ 20,000 ตัน
“กระทรวงเกษตรฯได้กำหนดนโยบายให้ประเทศไทยเป็น ‘ฮับแมลงโลก’ หรือผู้ส่งออกสินค้าจิ้งหรีดหลักของโลก ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการตลาด ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่เพื่อสนับสนุนฟาร์มจิ้งหรีดและอุตสาหกรรมอาหารใหม่ (novel food) ในการเจาะตลาดโลก 3,000 ล้านบาท คาดการณ์ว่าภายใน 20 ปี แมลงจะเป็นแหล่งโปรตีนใหม่ ทำให้โปรตีนอนาคตเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นแมลง ขยับขึ้นมาอยู่ใน 30%”
ขอบคุณข้อมูล
https://www.prachachat.net/economy/news-863593
ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999
ช่องทำเกษตรอินทรีย์ https://bit.ly/เกษตรเพียวเพียว
ที่มา : เกษตรนิวส์ ข่าวเกษตร