เพื่ออนาคตเกษตรกร‼เด็กไทยทำแอปฯคว้าแชมป์อาเซียน เชื่อมชาวนาขายข้าวถึงบ้าน ลดช่องว่างพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบ

02 ธ.ค. 2564 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
เพื่ออนาคตเกษตรกร‼เด็กไทยทำแอปฯคว้าแชมป์อาเซียน เชื่อมชาวนาขายข้าวถึงบ้าน ลดช่องว่างพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบ

โจทย์ใหญ่ปัญหาเกษตรกรยากจน รายได้ไม่คุ้มกับค่าแรง ถูกหยิบยก และนำเสนอทางออกบนเวทีอาเซียน ผ่าน 2 เด็กไทย "Youth Forward" ทีมมัธยมฯ หนึ่งเดียวของแข่งขัน ASEAN DSE ระดับภูมิภาค จนสามารถเอาชนะใจกรรมการและคว้าแชมป์มาครองสำเร็จ

ไทยพีบีเอสออนไลน์ พูดคุยกับ น.ส.รดา ประไพกรเกียรติ (ต้นหลิว) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ น.ส.กัญจรีย์ ศุภวิทยา (ปิ่นปิ๊น) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์

ต้นหลิว และปิ่นปิ๊น มองว่า ชาวนาเป็นอาชีพหลักในภูมิภาคอาเซียน แต่ได้รับค่าตอบแทนไม่เพียงพอ หลายคนมีหนี้สิน จึงต้องการยกระดับให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีและดิจิทัลช่วยพัฒนาแอปพลิเคชัน ให้เกษตรกรติดต่อกับผู้บริโภคโดยตรง

ทางออกที่ตกผลึกจากการวิเคราะห์ปัญหารายได้เกษตรกร ถูกถ่ายทอดเป็น 2 ข้อเสนอสำคัญ นั่นคือ การพัฒนาแอปพลิเคชัน ชื่อว่า "AGRI Connect" โดยได้แรงบันดาลใจมาจากเทรนด์ชอบปิ้งออนไลน์ที่มาแรง นำมาปรับใช้ในภาคเกษตรกรรม เป็นสะพานเชื่อมชาวนากับผู้บริโภค ตัดพ่อค้าคนกลาง เพื่อให้ชาวนาได้ผลประโยชน์สูงสุด

โครงสร้างของแอปพลิเคชันมี 4 หน้าหลัก เน้นเข้าใจง่าย ใช้งานสะดวก แสดงชื่อเกษตรกรจากพื้นที่ใกล้ลูกค้าที่สุดก่อน, ปริมาณผลผลิตที่อยู่ระหว่างการปลูกของเกษตรกร ผลผลิตจะออกมาเมื่อใด และเตรียมปลูกอะไรเพิ่ม ให้ลูกค้าสั่งจองล่วงหน้าได้, ในโปรไฟล์เกษตรกรมีทั้งประวัติ ภาพฟาร์ม ใช้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ เมื่อลูกค้าสั่งสินค้าแล้วจะมีการสรุปรายการ และผู้บริโภคเลือกได้เองว่าต้องการมารับสินค้าที่ฟาร์ม หรือให้จัดส่งที่บ้าน

ข้อเสนอแนะที่ 2 เป็นขั้นตอนการเก็บข้อมูลและพัฒนาแผน ระยะสั้น ระยะยาว 10 ปี แบ่งออกเป็น 3 เฟส คือ เฟสที่ 1 การศึกษาและให้ทุนวิจัยเกษตรกรแบบครบวงจร เช่น ทางเลือก "สมาร์ทฟาร์มมิ่ง" การปลูกพืชตามแนวตั้ง ตอบโจทย์พื้นที่เมืองอย่างกรุงเทพฯ ที่มีอาคารจำนวนมาก

ส่วนเฟสที่ 2 หลังมีนักวิจัยแล้วจะทำให้พัฒนาภาคการเกษตรได้ง่ายขึ้น และเฟส 3 ร่วมกับเครือข่ายในประเทศอาเซียน แลกเปลี่ยนข้อมูลและสินค้า มีนักเรียนแลกเปลี่ยนด้านเกษตรกรรม รวมทั้งจัดเวทีประชุมอาเซียนแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อก้าวไปพร้อมกันทั้งภูมิภาค

ต้นหลิว มองว่า Data Science เป็นสาขาวิชาที่มีความสำคัญมากในปัจจุบัน เพราะมีส่วนช่วยในเรื่องของการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) รวมถึงทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving Skill) นำไปปรับใช้ได้กับทุกสายอาชีพ หากมีทักษะเชิง Data จัดการกับข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ จะทำให้เราวิเคราะห์แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น

โดยเลือกหัวข้อเกี่ยวกับภาคเกษตรกรรม เพราะเป็นหัวข้อที่ยังไม่ถูกพูดถึงมากเท่าที่ควร ประกอบกับภาคเกษตรกรรมเป็นปัจจัยที่กระตุ้นเศรษฐกิจของหลายประเทศในอาเซียน แต่กลับพบว่ายังมีอุปสรรคและช่องว่างในหลายด้าน เช่น การขาดองค์ความรู้ที่เพียงพอ จึงต้องการยกระดับให้เกษตรกรที่จัดเป็นกลุ่ม Blue Collars มีรายได้เทียบเท่ากับกลุ่ม White Collars

ขณะที่ปิ่นปิ๊น ขอบคุณโอกาสที่ทำให้ได้เรียนรู้ทักษะนอกห้องเรียน ทั้งทักษะด้านการสื่อสาร ต้องกระชับ ชัดเจน ตรงประเด็นเพื่อให้ทุกคนเข้าใจ อีกทั้งยังได้เสริมทักษะด้านการทำงานเป็นทีม เคารพความคิดเห็นของเพื่อนร่วมทีม เพื่อร่วมกันทำงานให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด ส่วนตัวเชื่อว่าทักษะอื่น ๆ ที่จำเป็นอย่าง Soft Skill เป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ควรเรียนรู้เพิ่มเติมเช่นกัน

ขอบคุณข้อมูล
https://news.thaipbs.or.th/content/310077

☎️ ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999

🚨 ช่องทำเกษตรอินทรีย์ 👉 https://bit.ly/เกษตรเพียวเพียว

 

ที่มา : เกษตรนิวส์ ข่าวเกษตร

บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้