ผลักดันเศรษฐกิจ‼พาณิชย์คุยการค้าระหว่างประเทศ เตรียมใช้ประโยชน์ RCEP ข้อตกลงระหว่างประเทศกระตุ้นส่งออก

15 พ.ย. 2564 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ผลักดันเศรษฐกิจ‼พาณิชย์คุยการค้าระหว่างประเทศ เตรียมใช้ประโยชน์ RCEP ข้อตกลงระหว่างประเทศกระตุ้นส่งออก

นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เร่งลงพื้นที่พบปะกลุ่มเกษตรกรชาวสวนผลไม้ในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น อุตรดิตถ์ (ทุเรียน สับปะรด มังคุด) อุดรธานี (มะม่วง กล้วยหอม) ยะลา-เบตง (ทุเรียน มังคุด) เป็นต้น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่ไทยทำกับประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในต้นปี 2565 รวมถึงชี้แจงเรื่องกฎระเบียบทางการค้า พฤติกรรมของผู้บริโภค และช่องทางการจำหน่าย ทั้งตลาดออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการผลไม้ของไทย

ทั้งนี้ ความตกลง RCEP เมื่อมีผลบังคับใช้ จะเป็น FTA ฉบับที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีประชากรรวมกันกว่า 2,300 ล้านคน โดยสมาชิก RCEP จะยกเลิกภาษีนำเข้าที่เก็บกับผลไม้ส่วนใหญ่ที่ส่งออกจากไทย ซึ่งจะช่วยขยายโอกาสให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการไทยส่งออกสินค้าเกษตรได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งผู้บริโภคจะมีทางเลือกในการซื้อสินค้าและใช้บริการที่หลากหลายมากขึ้นด้วย

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ภายใต้ความตกลง RCEP ไทยประสบความสำเร็จในการผลักดันให้ประเทศคู่ค้าเปิดตลาดสินค้าผลไม้สดและผลไม้แปรรูปเพิ่มเติมจาก FTA ที่มีอยู่ในปัจจุบันหลายรายการ เช่น เกาหลีใต้ จะทยอยลดภาษีนำเข้าทุเรียน ปีละ 4.5% จนเหลือ 0% ในปีที่ 10 (ปี 2574) หลังจากความตกลงใช้บังคับ รวมทั้งจะทยอยลดภาษีนำเข้า มังคุด ฝรั่ง มะละกอ อินทผาลัม เปลือกส้ม เหลือ 0% ในปี 2574 ส่วนจีน ปัจจุบันยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าผลไม้สดและแปรรูปส่วนใหญ่ให้ไทยแล้วภายใต้ FTA อาเซียน-จีน แต่จะลดภาษีนำเข้าสินค้าผลไม้แปรรูปเพิ่มเติมจนเหลือ 0% ในปีที่ 20 หลังความตกลงมีผลบังคับใช้ (ปี 2584) ขณะที่ญี่ปุ่น จะทยอยลดภาษีนำเข้าน้ำมะเขือเทศ เหลือ 0% ในปีที่ 16 หลังจากความตกลงมีผลบังคับใช้ (ปี 2579) เป็นต้น

สำหรับผลไม้ เป็นสินค้าเกษตรสำคัญของไทย นำรายได้เข้าประเทศกว่าปีละ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้ FTA ของไทยที่มีผลบังคับใช้แล้ว 13 ฉบับ กับ 18 ประเทศ ปัจจุบัน 12 ประเทศคู่ FTA ได้แก่ จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี เปรู บรูไนฯ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา และฮ่องกง ไม่เก็บภาษีศุลกากรนำเข้าผลไม้สด แช่แข็งและแห้ง ที่ส่งออกจากไทยทุกชนิด ส่วนอีก 6 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ไม่เก็บภาษีนำเข้ากับผลไม้ส่วนใหญ่ที่ส่งออกจากไทย ยังคงเหลือเก็บแค่บางชนิด

ในช่วง 9 เดือน ของปี 2564 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยส่งออกผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและผลไม้แห้งไปทั่วโลก มูลค่ารวม 5,164.68 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 52% โดยไทยส่งออกไปประเทศคู่ FTA สัดส่วนสูงถึง 97% ของการส่งออกผลไม้ทั้งหมด และส่งออกไปประเทศสมาชิก RCEP สัดส่วน 92% ของการส่งออกผลไม้ทั้งหมด ซึ่งจีนถือเป็นตลาดส่งออกผลไม้สำคัญของไทย มีมูลค่าส่งออก 3,824 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 89% คิดเป็นสัดส่วน 86% ของการส่งออกผลไม้ทั้งหมด รองลงมา คือ ฮ่องกง เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ตามลำดับ โดยผลไม้ไทยที่การส่งออกขยายตัวได้ดี เช่น ทุเรียน มะม่วง ลำไย เงาะ และมังคุด เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูล
http://www.todayhighlightnews.com/2021/11/rcep.html

☎️ ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999

🚨 ช่องทำเกษตรอินทรีย์ 👉 https://bit.ly/เกษตรเพียวเพียว

 

ที่มา : เพจเกษตรนิวส์ ข่าวเกษตร

บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้