ปลูกเองกินเอง ‼ ญี่ปุ่นเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร ปลูกผัก Indoor Farming ปลอดภัยไร้สารปนเปื้อน-ปลุกSMEพุ่ง

07 มิ.ย. 2564 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ปลูกเองกินเอง ‼ ญี่ปุ่นเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร ปลูกผัก Indoor Farming ปลอดภัยไร้สารปนเปื้อน-ปลุกSMEพุ่ง

ผักกาดหอมและผักอื่นๆ ที่ปลูกแบบ Indoor Farming หรือปลูกในร่มกำลังกลายเป็นสินค้ายอดนิยมในญี่ปุ่น ณ เวลานี้ เนื่องจากผู้บริโภคหวาดวิตกไวรัสโควิด-19 จึงเลือกซื้อพืชผักที่ปลูกในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และแพ็กมาเรียบร้อยก่อนส่งขายในห้าง ความจริงแล้วกระแส Indoor Farming หรือการปลูกพืชในร่มมีมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ขยายตัวมากขึ้นช่วงเกิดวิกฤตโควิด-19 เนื่องจากญี่ปุ่นไม่สามารถนำเข้าพืชผักจากต่างประเทศ

แต่อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ Indoor Farming ขยายตัวอย่างรวดเร็วเป็นเพราะสามารถตอบโจทย์ปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่จำกัด กำลังคนจำกัด ขาดแคลนแรงงาน การไม่สามารถควบคุมสภาพดินฟ้าอากาศและปัจจัยต่างๆ ซึ่งนำไปสู่ปริมาณผลผลิตที่ได้ไม่แน่นอน ก่อให้เกิดความกังวลว่าจะกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของประเทศในอนาคต ทั้งนี้ นับย้อนหลังไป 5 ปีตั้งแต่ปี 2019 ผลผลิตทางการเกษตรในญี่ปุ่นลดลงต่ำกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของอาหารที่บริโภคในประเทศ ขณะที่จำนวนเกษตรกรก็ลดลง 35 เปอร์เซ็นต์ ทำให้อายุของเกษตรกรญี่ปุ่นอยู่ที่ 67 ปีโดยเฉลี่ย

ช่วงเปิดตัวเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ พืชผักที่ปลูกในร่มจะมีราคาแพงกว่าที่ปลูกแบบดั้งเดิม แต่ปัจจุบันราคาเริ่มปรับตัวลดลงเนื่องจากมีผู้ประกอบการเข้ามาจับธุรกิจนี้มากขึ้น ทำให้มีผลผลิตป้อนตลาดเพียงพอความต้องการ ยกตัวอย่างบริษัท คิดายะ โชเท็น ผู้ดำเนินธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตที่สร้างโรงงานปลูกผักในร่มครั้งแรกเมื่อ 7 ปีก่อน ปัจจุบันขยายเป็น 3 โรงงาน สามารถผลิตผักกาดหอมและผักอื่นได้มากถึงวันละ 34,000 หัว นอกจากส่งขายในซูเปอร์มาร์เก็ตเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ ยังขายปลีกทางออนไลน์ด้วย

ข้อดีของการปลูกพืชในที่ร่มคือไม่ต้องกังวลกับสภาพดินฟ้าอากาศ ทำให้คำนวณค่าใช้จ่ายและต้นทุนได้ค่อนข้างแม่นยำ แต่ต้นทุนในการลงทุนอาจสูงกว่าการปลูกพืชแบบทั่วไป อย่างไรก็ตาม อินฟาร์มเผยสามารถลดต้นทุนได้ด้วยการใช้ข้อมูลที่บันทึกไว้ ยกตัวอย่างการปลูกพืชแค่เพียง 1 ต้น เริ่มตั้งแต่เพาะเมล็ดพันธุ์จนถึงเก็บเกี่ยว บริษัทต้องรวบรวมข้อมูลมากถึง 50,000 ชิ้น ข้อมูลเหล่านี้ทำให้การปลูกพืชมีความแม่นยำ จนได้เวลาเก็บเกี่ยวจึงสร้างประโยชน์แบบเต็มๆ

นอกจากนั้น ต้นทุนการปลูกพืชในร่มยังลดลงหลังจากที่ระบบไฟแอลอีดีมีการพัฒนาคุณภาพ ถูกใช้งานแพร่หลายจึงทำให้ราคาถูกลง เทียบกับหลอดไฟรุ่นแรกๆ รุ่นใหม่ล่าสุดประหยัดไฟฟ้าลงได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ การปลูกพืชในร่มหรือ Indoor Farming ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเนื่องเพราะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนมาปลูกพืชในร่มจึงถูกมองเป็นการเกษตรแบบยั่งยืนเนื่องจากใช้น้ำน้อยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับการปลูกพืชบนดิน ทั้งยังใช้พื้นที่น้อยกว่า ยกตัวอย่าง บนพื้นที่ 2 ตารางเมตรของการปลูกพืชในร่มสามารถให้ผลผลิตเทียบเท่าการเกษตรดั้งเดิมที่ต้องใช้พื้นที่ 250 ตารางเมตร

บริษัทให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ จูปิเตอร์ รีเสิร์ชจากอังกฤษระบุตลาดเทคโนโลยีทางการเกษตรที่ปี 2020 มีมูลค่า 9,000 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะขยายตัวไปอยู่ที่ 22,500 ล้านดอลลาร์ในปี 2025 เฉพาะธุรกิจการเกษตรในร่มและการเกษตรแนวตั้งนั้น คาดว่าจะเติบโตจาก 2,700 ล้านดอลลาร์ไปอยู่ที่ 6,700 ล้านดอลลาร์ ปีที่ผ่านมา กลุ่มสตาร์ทอัพที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเกษตรในที่ร่มได้รับทุนสนับสนุนรวม 929 ล้านดอลลาร์จากธุรกิจเงินร่วมลงทุน (VC) ในส่วนของอินฟาร์ม นับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี 2013 ก็สามารถระดมทุนไปได้มากกว่า 400 ล้านดอลลาร์แล้ว

ขอบคุณข้อมูล
https://www.smethailandclub.com/aec-7076-id.html

ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999
ช่องทำเกษตรอินทรีย์  https://bit.ly/เกษตรเพียวเพียว

กด Like และ ติดตามเพจ 
เพื่อรับข่าวสารด้านเกษตรก่อนใครได้ที่นี่
#ช่องเกษตรนิวส์ ดูได้ที่กล่อง PSI 📺 หมายเลข 72

ที่มา : เพจ เกษตรนิวส์ ข่าวเกษตร

บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้