ม.สงขลานครินทร์นำร่องเจ้าแรก วิจัยต่อยอด ‘ใบกระท่อม’ พบสรรพคุณเยอะ-ชงต่อยอดการแพทย์

04 มิ.ย. 2564 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ม.สงขลานครินทร์นำร่องเจ้าแรก วิจัยต่อยอด ‘ใบกระท่อม’ พบสรรพคุณเยอะ-ชงต่อยอดการแพทย์
รายงานข่าวจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) อ.หาดใหญ่เปิดเผยว่าคณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ ได้ทำการวิจัยพืชกระท่อมเพื่อพัฒนาเป็นเภสัชตำรับ นำไปใช้บำบัดผู้เสพยาเสพติด ทดสอบประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของเภสัชตำรับที่พัฒนา ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
 
“พืชกระท่อมมีสารสำคัญ ไมทราไจนีน (Mitragynine) และ 7-ไฮดรอกซีไมทราไจนีน (7-hydroxymitragynine) ที่มีฤทธิ์ระงับปวด รักษาอาการท้องเสีย ลดน้ำหนัก ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ต้านอาการซึมเศร้า คลายกล้ามเนื้อลาย ยับยั้งกลุ่มอาการถอนยาจากเอทานอล ลดอาการวิตกกังวลจากกลุ่มอาการถอนยากลุ่มสารฝิ่น”
 
รายงานข่าวว่าอาการถอนยาที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ใช้พืชกระท่อมจะไม่แสดงอาการก้าวร้าว ต่างจากกลุ่มที่ติดสารเสพติดประเภทอื่น เช่น ยาบ้า ไอซ์ เป็นต้น ที่มักจะแสดงอาการก้าวร้าวออกมาอย่างให้เห็น
 
“คณะวิทยาศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์ได้ดำเนินงานวิจัยตั้งแต่ปี 61 จนถึงปัจจุบัน ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) โดยการนำพืชกระท่อมมาพัฒนาเป็นเภสัชตำรับ เพื่อนำไปใช้บำบัดผู้เสพยาเสพติด และทดสอบประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของเภสัชตำรับที่พัฒนา”
 
โดยพบว่าการใช้พืชกระท่อมแบบวิถีชุมชนดั้งเดิม คือการเคี้ยวใบสดหรือต้ม/ชงใบพืชกระท่อมแห้งเป็นประจำ ไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพด้านความคิด และการรับรู้ การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ และการทำงานของสมอง ซึ่งข้อมูลจะเป็นประโยชน์เชิงนโยบายในการปลดพืชกระท่อมออกจาก พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ
 
ซึ่งการใช้พืชกระท่อมมีทั้งคุณ และโทษ หากใช้ในปริมาณที่พอดีจะส่งผลดีต่อร่างกาย แต่หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปจะส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นเดียวกับยาหรือสารอื่น
 
ผศ.ดร.สมชาย ศรีวิริยะจันทร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (เภสัชวิทยา) คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. สถาบันสำรวจและติดตามการปลูกพืชเสพติด (สพส.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ได้ดำเนินการเรื่องพืชกระท่อมอย่างต่อเนื่อง ด้วยการสร้างแนวทางการทำวิจัยตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ชุมชนจนถึงระดับอุตสาหกรรม มีทีมวิจัยที่ร่วมกันขับเคลื่อน เพื่อนำพืชกระท่อมมาใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิจัย และการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ
 
ผศ.ดร.สมชาย กล่าวว่าทีมวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับการสนับสนุนทุนจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสติด (ป.ป.ส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของระดับ mitragynine ในเลือดกับผลกระทบต่อสมรรถภาพสมองของผู้ใช้กระท่อมเป็นประจำ
ขอบคุณข้อมูล
ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999
ช่องทำเกษตรอินทรีย์ https://bit.ly/เกษตรเพียวเพียว
 
ที่มา : เพจ เกษตรนิวส์ ข่าวเกษตร

บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้