แนะทำนาแบบเปียกสลับแห้ง สู้วิกฤตน้ำน้อย

10 ก.ย. 2563 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
แนะทำนาแบบเปียกสลับแห้ง สู้วิกฤตน้ำน้อย

เทคโนโลยีการจัดการน้ำอย่างประหยัดแบบเปียกสลับแห้ง เหมาะสำหรับพื้นที่นาในเขตชลประทานที่ควบคุมและระบายน้ำได้

ปัจจุบัน สถานการณ์น้ำน่าเป็นห่วง เนื่องจากสภาวะฝนทิ้งช่วง และเกิดการขาดแคลนน้ำ ฉะนั้น เกษตรกรทำนาในเขตชลประทานที่ควบคุมและระบายน้ำได้ ควรจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง ซึ่งมีวิธีการดังนี้ เตรียมดินทำเทือกเพื่อเตรียมหว่านข้าว ติดตั้งท่อสังเกตระดับน้ำใต้ดิน (ท่อแกล้งข้าว) พื้นที่ละ 1-2 จุด โดยใช้ท่อพีวีซี เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 25 เซนติเมตร เจาะรูด้วยสว่านเส้นผ่าศูนย์กลางหุนครึ่งถึงสองหุน 4-5 แถว รอบๆ ท่อ แต่ละรูห่างกัน 5 เซนติเมตร และฝังท่อในนาลึกประมาณ 20 เซนติเมตร ให้ปากท่อโผล่พ้นผิวดิน 5 เซนติเมตร ควักดินในท่อออกให้หมด หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว อัตราตามที่กรมการข้าวแนะนำ 15-20 กิโลกรัม ต่อไร่

หลังจากนั้น ระบายน้ำออกจากแปลงนาให้แห้ง เมื่อข้าวอายุประมาณ 10 วัน ให้พ่นสารคุมหรือสารกำจัดวัชพืช ตามชนิดของวัชพืชที่เกิดขึ้น สูบน้ำเข้าแปลงนา ครั้งที่ 1 หลังพ่นสารคุม-ฆ่าวัชพืช 2 วัน ที่ระดับครึ่งต้นข้าวเพื่อคุมวัชพืช ใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 1 ด้วยสูตร 16-20-0 อัตรา ไร่ละ 30 กิโลกรัม (ดินเหนียว) หรือ สูตร 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัม ต่อไร่ (ดินทราย) เมื่อต้นข้าวอายุ 20-25 วัน หลังหว่าน แล้วปล่อยให้น้ำแห้งไปตามธรรมชาติ

สูบน้ำเข้าแปลงนา ครั้งที่ 2 ถ้าระดับน้ำในท่อลดต่ำลงเลยเขตรากข้าว (วัดจากท่อลึกลงไป 20 เซนติเมตร) ให้สูบน้ำเข้านา ระดับ 3-5 เซนติเมตร ขังไว้จนกระทั่งน้ำแห้ง เมื่อระดับน้ำในท่อลดลงต่ำเลยเขตรากข้าว ให้สูบน้ำเข้านา ในระดับ 3-5 เซนติเมตร ไปจนกระทั่งข้าวมีอายุ 45-50 วัน หลังหว่าน ใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 2 สูตร 46-0-0 อัตรา 10-15 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อข้าวมีอายุ 45-50 วัน หลังหว่าน ให้เพิ่มระดับน้ำ 5 เซนติเมตร รักษาระดับน้ำจนข้าวโน้มรวง หลังข้าวออกดอกแล้ว 15-20 วัน เก็บท่อสังเกตระดับน้ำใต้ดิน (ท่อแกล้งข้าว) ระบายน้ำออกจากแปลงนาให้แห้ง เพื่อให้ข้าวสุกแก่สม่ำเสมอและเก็บเกี่ยวได้สะดวก

ที่มา: technologychaoban

บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้