ชุดตรวจการตั้งท้องแม่โค Early-P-Check "ตรวจไว ได้ผลชัวร์"

17 มิ.ย. 2562 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ชุดตรวจการตั้งท้องแม่โค Early-P-Check "ตรวจไว ได้ผลชัวร์"

อุตสาหกรรมนมไทยเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่น่าจับตามอง เนื่องด้วยมีมูลค่ากว่า 58,000 ล้านบาท อีกทั้งยังมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยการบริโภคน้ำนมของคนไทยอยู่ที่ประมาณ 12-13 ลิตรต่อคนต่อปี ในขณะที่องค์การสหประชาชาติกำหนดว่าประชากรในแถบภูมิภาคอาเซียนควรบริโภคนมเฉลี่ย 35 ลิตรต่อคนต่อปี จึงแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเติบโตของธุรกิจโคนมในประเทศไทย และโอกาสการขยายการเติบโตไปในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่มีตลาดผลิตภัณฑ์นมขนาดใหญ่ถึง

002 1

อุตสาหกรรมนมไทยกับการใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์

จากโอกาสดังกล่าวการที่เกษตรกรสามารถผลิตน้ำนมที่มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ แม่โคสามารถให้ผลผลิตสูง ต้นทุนในการผลิตน้ำนมต่ำ จะส่งผลให้อาชีพการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรไทย มีโอกาสเติบโตและมีความมั่นคงมากขึ้น การจัดการระบบสืบพันธุ์ของแม่โคในฟาร์มที่ดี เป็นหนึ่งในปัจจัยจัยที่มีผลที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถผลิตน้ำนมที่มีประสิทธิภาพ โดยสามารถวัดได้จากจำนวนวันที่แม่โคได้รับการผสมเทียมครั้งแรกหลังคลอด และจำนวนวันท้องว่างหลังคลอด ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกรโคนมสามารถผลิตน้ำนมที่มีประสิทธิภาพ เกษตรกรจึงควรจะต้องตรวจสอบเพื่อให้ทราบสภาวะการตั้งท้องของแม่โคอยู่ตลอดเวลา เมื่อทราบสภาวะการตั้งท้องของแม่โคก็จะสามารถวางแผนการจัดการระบบสืบพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

006

วัดปริมาณฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อจัดการระบบสืบพันธุ์

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเป็นฮอร์โมนที่สามารถใช้ยืนยันการตั้งท้องของแม่โคหลังการผสมเทียม โดยถ้าหลังจากผสมเทียมไปแล้ว 19-24 วัน แม่โคมีระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ แสดงว่าแม่โคไม่ได้ตั้งท้องจากการผสมเทียมในครั้งนั้นและอาจจะกำลังจะกลับมาเป็นสัดอีกครั้ง ถ้าแม่โคมีระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงหลังจากผสมเทียมไปแล้ว แสดงว่าแม่โคได้ตั้งท้องแล้ว นอกจากนี้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนยังช่วยบ่งชี้การทำงานของรังไข่

007

จากงานวิจัยสู่ชุดตรวจที่ใช้ได้จริง

คณะผู้วิจัยจากไบโอเทคและเนคเทค ได้ร่วมกันพัฒนาชุดตรวจ Early P-Check ซึ่งประกอบไปด้วย

ชุดตรวจคอมเพททิทีฟ อิไลซ่า (competitive ELISA): สำหรับตรวจหาระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในน้ำนมของโคนม โดยใช้โมโนโคลนอลแอนติบอดีที่มีความถูกต้องแม่นยำ มีความจำเพาะเจาะจง และยังใช้เวลาในการรอตรวจสอบการตั้งท้องของโคนมสั้นกว่าวิธีอื่น อีกทั้งยังไม่ต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพง ไม่ต้องอาศัยผู้ที่มีทักษะความชำนาญในแปลผลอีกด้วย

เครื่องอ่านและแปลผลปริมาณโปรเจสเตอโรน Wellscan: ออกแบบมาสำหรับการอ่านค่าและแปลผลปริมาณโปรเจสเตอโรนจากน้ำนมวัวที่ผ่านกรรมวิธีคอมเพททิทีฟ อิไลซ่า โดยสามารถรองการบันทึกข้อมูลทั้งแบบ offline และ online อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพสูง และราคาถูกกว่าท้องตลาดอีกด้วย

008

ชุดตรวจ Early P-Check ด้วยวิธีคอมเพททิทีฟ อิไลซ่า พร้อมทั้งเครื่องอ่านและแปลผล มีประสิทธิภาพสูง และราคาถูก สามารถช่วยแยกแม่โคในกลุ่มที่ตั้งท้องและไม่ตั้งท้องออกจากกันได้อย่างชัดเจน ให้ผลสอดคล้องกับการตรวจด้วยวิธีอัลตราซาวด์ มากกว่า 80% โดยมีความถูกต้องเทียบเท่ากับชุดตรวจทางการค้าที่มีราคาแพงกว่า ชุด ถึง 20-40 เท่า ปัจจุบันชุดตรวจ Early P-Check พร้อมแล้วที่จะถูกนำไปใช้จริงในภาคสนาม โดยให้ผู้ปฏิบัติงานในภาคสนามเป็นผู้ดำเนินการเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเก็บตัวอย่างน้ำนม การตรวจหาปริมาณฮอร์โมน และการแปลผลเพื่อบ่งชี้การสภาวะการตั้งท้องของแม่โค โดยในเบื้องต้นจะทำการทดสอบในสหกรณ์โคนมมิตรภาพ จำกัด หน่วยวิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพสระบุรี กรมปศุสัตว์ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย และ บ. แดรี่โฮม จำกัด เพื่อประเมินความแม่นยำ ของชุดตรวจเมื่อถูกใช้โดยบุคลากรในภาคสนาม นอกจากนี้ยังจะประเมินการยอมรับของผู้ใช้ ปัญหา และอุปสรรค ที่อาจเกิดขึ้นกับการใช้ชุดตรวจเพื่อหาแนวทางแก้ไข ให้ชุดตรวจสามารถใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ

009

บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้