“สุพรรณบุรี 50” สุดยอดอ้อยคั้นน้ำ หวาน หอม

28 ส.ค. 2563 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
“สุพรรณบุรี 50” สุดยอดอ้อยคั้นน้ำ หวาน หอม

อาชีพเกษตรกรรมเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ท้าทาย เกษตรกรเจ้าของสวนต่างต้องหาวิธีดัดแปลงปรับเปลี่ยน หรือคิดพลิกแพลงพื้นที่ในการทำเกษตรอยู่เสมอเพื่อความอยู่รอดให้ทันยุคทันสมัย ไม่ใช่เพียงปลูกอย่างเดียวขายอย่างเดียว แต่ต้องมีพืชอย่างอื่นมารองรับกับสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง คนที่ไม่หยุดนิ่งเท่านั้นถึงจะอยู่รอดในยุคนี้

คุณประกอบ ศรีวะรมย์ อยู่บ้านเลขที่ 68 ตำบลโคกกรวด อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก เกษตรกรผู้ไม่หยุดนิ่งทำเกษตรผสมผสาน และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพืชที่ปลูกอยู่ตลอดเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ซึ่งผลที่ได้รับนับเป็นที่น่าพอใจ ข้อแรกคือมีกิน ถัดมาก็มีรายเข้าบ้านทุกวัน ทุกเดือน และทุกปี รวมถึงมีเงินเก็บด้วย มาดูกันว่าเขามีวิธีการจัดการสวนอย่างไรบ้าง

คุณประกอบ เล่าว่า ตนเองทำเกษตรผสมผสานบนพื้นที่ 5 ไร่ 3 งาน ปลูกทุกอย่างที่กิน ทำทุกอย่างที่สามารถสร้างรายได้ โดยที่สวนจะแบ่งพื้นที่ 1 ไร่แรกแบ่งปลูกบ้าน สร้างโรงเรือน สร้างโรงสีข้าวเล็กๆ แล้วก็ปลูกผักสวนครัว จากนั้นเมื่ออยู่ตัวก็เริ่มซื้อที่เพิ่ม ค่อยๆ ขยับขยายไปเรื่อยๆ ตามสภาพ ปลูกผัก เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู เผาถ่าน ปลูกข้าว สร้างรายได้หมุนเวียน มีผักสวนครัว และไข่ไก่เป็นพืชสร้างรายได้รายวัน กล้วยน้ำว้า กล้วยตาก สร้างรายได้รายอาทิตย์ และรายได้จากโรงสีข้าว แกลบ ปลายรำ ขายได้หมด ถ่านเผาวันเว้นวัน นอกจากจะขายเป็นเชื้อเพลิงได้แล้ว ยังได้น้ำส้มควันไม้จากการเผาถ่านก็สามารถนำไปขายสร้างรายได้ต่อ แต่จะไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ เพราะล่าสุดที่สวนได้มีการปลูกอ้อยเพิ่ม จุดประสงค์เพื่อคั้นน้ำขายสร้างรายได้หลักอีกทาง จากเดิมมีรายได้จากสวนผสมผสานวันละ 700-800 บาท แต่พอมีอ้อยเข้ามา รายได้ก็เพิ่มขึ้นมาอีกวันละ 1,300-1,500 บาท ต่อวัน ขึ้นอยู่กับความขยัน

เจ้าของบอกว่า เพิ่งเริ่มปลูกอ้อยสุพรรณบุรี 50 ได้ปีกว่า เนื่องจากมองเห็นช่องทางว่าอ้อยพันธุ์นี้ถูกพัฒนาสายพันธุ์มาเพื่อคั้นน้ำอยู่แล้ว รสชาติจะหอม หวาน สดชื่น และยังสามารถนำมาแปรรูปได้อีกหลายผลิตภัณฑ์ นอกเหนือจากการคั้นน้ำ เช่น ขายต้นพันธุ์ หรือทำน้ำตาลอ้อยก็ได้สามารถเก็บไว้ได้นาน การขนส่งง่ายและสะดวกกว่าผัก ผักถ้าไปออกบู๊ธที่สถานที่ไกลๆ การขนส่งค่อนข้างลำบากกว่า จึงตัดสินใจเริ่มปลูกอ้อยเพื่อสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง บนพื้นที่ 7 งาน โดยแบ่งปลูกเป็น 2 แปลง แปลงที่ 1 ปลูก 2 งาน บนพื้นที่ราบ ปลูกในระยะ 2×2 เมตร แปลงที่ 2 ปลูก 5 งาน ยกร่องปลูก เนื่องจากพื้นที่เก่าเป็นผืนนาจึงต้องยกร่องปลูกเพื่อไม่ให้น้ำขัง ระยะการปลูกก็ 2×2 เมตร เหมือนเดิม

ขั้นตอนการปลูกอ้อยแบบประณีต ทำน้อย ได้มาก

  1. ยกร่อง 1 แปลง ยาว 80 เมตร กว้าง 4 เมตร ปลูกระยะ 2×2 เมตร ได้ 32 หลุม ปลูก 5 งาน ได้ประมาณ 567 หลุม
  2. ปรับแปลงให้เรียบ ขุดหลุม ใส่ถ่านบำรุงดินผสมปุ๋ยหมักขี้วัว ขี้ไก่ แต่ต้องหมักจนปุ๋ยเย็นถึงจะนำมาใช้ได้ และถ่านที่ใช้เป็นถ่านที่เผาเพื่อนำมาผสมกับปุ๋ยโดยเฉพาะ มีเตาแยกเพื่อเอาไว้เผากิ่งไม้เศษไม้เล็กๆ เผาเพื่อให้เป็นคาร์บอนแล้วนำไปผสมกับปุ๋ย ซึ่งในถ่านจะมีรูพรุนจะสามารถอมน้ำได้ดี และถ่านเป็นด่าง ดินเป็นกรดเจอด่างเข้าไปจะช่วยปรับค่าสมดุลให้เป็นกลาง
  3. เตรียมปลูกอ้อยสุพรรณบุรี 50 ไร้สารพิษ ปลูกในหลุมลึก 50×50 เซนติเมตร เพื่อเอาไว้เก็บน้ำช่วงหน้าแล้ง ให้น้ำขัง แล้ววางท่อนพันธุ์ไป 2 ข้อตา ต่อ 1 ท่อน
  4. จากนั้นดูแลรดน้ำ 1 อาทิตย์ รดน้ำ 1 ครั้ง ช่วงอ้อยยังเล็กจะใช้สายยางเดินรดในหลุมจนเต็มจะอยู่ได้ 1 อาทิตย์ พออ้อยโตแตกกอให้พรวนดินกลบหลุม

วิธีการดูแล

  1. ขยันลอกกาบอ้อยทุกเดือน เพื่อไม่ให้มดแมลงมาอาศัยและไปเจาะกินผลผลิตเสียหาย และอีกข้อดีก็คือเมื่อลอกกาบออก ลำอ้อยก็จะโดนแดดไม่เป็นโรคราก็จะสวยด้วย
  2. ขยันพ่นฮอร์โมนทุก 10 วัน แต่ถ้าไม่สะดวกให้พ่นเดือนละครั้ง ใส่ปุ๋ยหมักเมื่ออ้อยอายุ 3 เดือน
  3. ทำแปลงให้สะอาด ถ้ารกมากจะมีหนูข้อนี้ต้องระวัง กาบที่ลอกให้นำมาคลุมดินไว้แต่ถ้าเยอะมากเกินไป ให้นำมาทิ้งข้างนอก หมั่นตัดหญ้า กำจัดวัชพืช

ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต จากวันเริ่มต้นถึงวันที่ได้ผลผลิต ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อขายท่อนพันธุ์ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 9 เดือน เพื่อคั้นน้ำขาย

ปริมาณผลผลิต 16-20 ลำ ต่อกอ อ้อยจะแก่ไม่เท่ากัน แบ่งตัดตามแก่ 1 กอ จะตัดได้ 2-3 ลำแก่ ก็จะเหลืออีก 10 กว่าลำ รอแก่ให้สังเกตดูว่าอ้อยลำไหนที่แก่จะมีสีเหลือง

ต้นทุนการผลิตสำหรับมือใหม่หัดปลูก ต้องถามก่อนว่ามีต้นทุนเดิมมาก่อนหรือเปล่า เช่น มีที่ดินของตัวเอง ทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เองเป็นไหม มีแหล่งน้ำเพียงพอหรือไม่ ถ้ามีทุกอย่างพร้อมแล้ว ก็จะมีแค่ค่าต้นพันธุ์อ้อย 1 ไร่ ปลูกได้ ระยะปลูก 2×2 เมตร ได้ประมาณ 480 หลุม 1 หลุม ปลูก 2 ข้อตา เท่ากับค่าต้นพันธุ์ 4 บาท ต่อหลุม เฉลี่ยค่าต้นพันธุ์ 2,000 บาท ต่อไร่

ที่มา: technologychaoban

อ่านเพิ่มเติม: คลิก

บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้