สับปะรด พันธุ์นางแล ปลูกได้ไม่แคร์สภาพดิน

05 ส.ค. 2563 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
สับปะรด พันธุ์นางแล ปลูกได้ไม่แคร์สภาพดิน

สับปะรดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี ปลูกได้ในดินแทบทุกแห่งในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เมื่อเจริญเป็นผลแล้วจะเจริญต่อไปโดยตาที่ลำต้น จะเติบโตเป็นต้นใหม่ได้อีก และ สับปะรดสามารถดัดแปลงเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย สับปะรด พันธุ์นางแล ถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงราย ปลูกกันมากในพื้นที่ตำบลนางแล ตำบลท่าสุด และตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ตามสันเขาดอยนางแลที่ขนานไปกับถนนสายเชียงราย-แม่จัน

สับปะรดที่ใช้บริโภคจัดเป็นไม้ดิน แต่ยังมีลักษณะบางประการของไม้อากาศเอาไว้ คือสามารถเก็บน้ำได้ตามซอกใบได้เล็กน้อย มีเซลล์พิเศษสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ในใบ ทำให้ทนทานต่อความแห้งแล้ง พันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 5 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ปัตตาเวีย พันธุ์อินทรชิต พันธุ์ขาว พันธุ์ภูเก็ตหรือสวี และพันธุ์นางแลหรือน้ำผึ้ง คุณบุญตัน กันทา เกษตรกรผู้สั่งสมประสบการณ์ด้านการปลูกสับปะรดมากว่า 30 ปี ที่ป่าซางวิวัฒน์ ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย เล่าให้ฟังว่า ตนเองมีพื้นที่การเกษตรอยู่ทั้งหมด 18 ไร่ ได้แบ่งทำไร่สับปะรดออกเป็น 2 พันธุ์ คือ สับปะรดพันธุ์นางแล จำนวน 14 ไร่ และสับปะรดพันธุ์ภูแลจำนวน 4 ไร่ ซึ่งได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของท้องตลาดทุกๆปี ลักษณะของพันธุ์นางแล ผลทรงกลม ตานูน เปลือกบาง รสหวาน ผลแก่มีเนื้อในสีเหลืองเข้ม เยื่อใยน้อยเหมาะสำหรับบริโภคสด และพันธุ์ภูแล มีลักษณะให้ผลเล็กเท่ากำปั้น แต่เนื้อในกรอบและหวาน ไม่ฉ่ำน้ำ พื้นที่ปลูก 13 ไร่ โดยเมื่อเริ่มปลูกจะทยอยปลูกแต่ละแปลงไม่ให้พร้อมกัน เพื่อให้ผลผลิตออกตลอดทั้งปี

ผลผลิตนางแลที่ผ่านมามีช่วงเวลาอันจำกัด ชาว ต.นางแลจึงปรับกลยุทธ์เพื่อให้มีสับปะรดรสชาติอร่อยวางจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี ด้วยการนำสับปะรดพันธุ์ที่คัดสรรมาอย่างดีคือ พันธุ์ภูเก็ต จากจ.ภูเก็ต ไปทดลองปลูกที่ดอยนางแล ปรากฏว่าต้นสับปะรดกลับให้ผลเล็กเท่ากำปั้น แต่เนื้อในกรอบและหวาน ไม่ฉ่ำน้ำ สามารถปอกเป็นลูกเล็กๆ เสิร์ฟในจานผลไม้ กินทีละลูกได้สะดวก กลายเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในอีกรสนิยมหนึ่ง เรียกขานผสมคำระหว่างพันธุ์นางแลกับภูเก็ตว่า พันธุ์ภูแล

การปลูกสัปะรด

  • เริ่มจากการเตรียมดิน โดยการไถพรวนดินให้ลึกประมาณ 40-50 เซนติเมตร เป็นการเปิดหน้าดินเพื่อระบายน้ำและอากาศ หลังจากนั้นปรับระดับหน้าดินให้เท่ากันเพราะถ้าหน้าดินไม่เท่ากันจะเกิดน้ำ ขังได้ ภายหลังจากไถหน้าดินเรียบร้อยแล้ว ทิ้งไว้ประมาณ 10-30 วัน แล้วจึงนำเอาหน่อสับปะรดที่เตรียมไว้มาปลูก ซึ่งการปลูกสับปะรดต่อไร่ใช้หน่อ ประมาณ 3,000-3,500 ต้น
  • หลังจากปลูกเรียบร้อยแล้วสับปะรดจะให้ผลผลิตเมื่อเข้าสู่ปีที่ 2 โดยแต่ละต้นให้ผลผลิตเพียง 1 ลูก ภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นแรกแล้วจะทำการบำรุงดูแลต้นเพื่อให้ลำต้น แตกหน่อออกผลผลิตในรุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3 ซึ่งอายุของสับปะรดที่ปลูกแต่ละครั้งมีอายุประมาณ 4-5 ปี
  • หลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ครบอายุแล้ว จะรื้อสับปะรดในแปลงออกแล้วไถพรวนดินตากไว้ประมาณ 10-30 วัน เพื่อให้เชื้อโรคที่อยู่ในแปลงที่ปลูกสับปะรดมาก่อนนั้นตาย จึงจะทำการปลูกสับปะรดต้นใหม่

เทคนิคที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งหักส่วนยอดของผลสับปะรดทิ้งบ้าง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้รากของสับปะรดไปงอกในผลสับปะรดใชช่วงที่ผลแก่จัด เพราะถ้ารากเข้าไปแล้วจะทำให้ผลของสับปะรดแข็ง มีรสชาติจืดไม่หวาน อีกทั้งยังช่วยให้ผลมีความสวยงามและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

สับปะรดนางแลจะให้ผลผลิตค่อนข้างดีกว่าภูแลประมาณ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ โดยสับปะรดพันธุ์ภุแลจะให้ผลผลิตประมาณ 800 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตที่ได้แต่ละครั้งจะมีพ่อค้ามารับซื้อที่แปลงและนำไปส่งให้กับผู้จำหน่ายตามสองข้างทาง เชียงราย-แม่จัน และผมจะเปิดแผงขายสับปะรดตรงส่วนหน้าบ้านติดกับถนน เพื่อผู้คนไปมาจะได้สังเกตเห็นได้ง่าย ส่วนของราคาโดยประมาณของสับปะรดพันธุ์นางแล กิโลกรัมละ 5-15 บาท เฉพาะเกรดเอหรือที่เรียกว่าน้ำหนึ่งได้ราคากิโลกรัมละ 15 บาท และราคาของสับปะรดพันธุ์ภูแล กิโลกรัม 8-20 บาท น้ำหนึ่งได้ราคากิโลกรัมละ 20 บาท

ที่มา: เกษตรกรก้าวหน้า

บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้