จิ้งหรีด โปรตีนสูง บ้านแสนตอ แหล่งผลิตใหญ่ ส่งขายทั่วประเทศ

05 พ.ค. 2563 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
จิ้งหรีด โปรตีนสูง บ้านแสนตอ แหล่งผลิตใหญ่ ส่งขายทั่วประเทศ

แมลงทอด ได้รับความนิยมบริโภคในตลาดบ้านเรามาก่อนหน้านี้พักใหญ่ แต่กระแสความนิยมดูเหมือนจะลดลง เมื่อเดินตามตลาดพบได้น้อยกว่าเมื่อก่อน ทั้งที่จริง เราไม่เคยรู้เลยว่า ปัจจุบัน แมลงทอด ยังคงได้รับความนิยมบริโภคอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มสูงมากขึ้น แต่เพราะความนิยมบริโภคกระจายออกไปตามจังหวัดต่างๆ ไม่ได้กระจุกตัวอยู่เพียงหัวเมืองใหญ่ๆ เท่านั้น

แมลงทอด โดยเฉพาะ จิ้งหรีด ได้รับความนิยมบริโภค เนื่องจากเป็นอาหารที่ให้โปรตีนและไขมันสูง และได้รับการการันตีจากหลายหน่วยงานภาครัฐว่า เป็นแมลงที่ปลอดสารเคมี ยกเว้นเมื่อนำไปทอดแล้วใส่สารกันบูดหรือสารเพื่อรักษาสภาพอาหารเข้าไปก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ที่บ้านแสนตอ ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ปัจจุบันจัดว่าเป็นแหล่งผลิตแมลง โดยเฉพาะจิ้งหรีด ที่ใหญ่เป็นอันดับต้นของประเทศ ที่ต้องเอ่ยเช่นนี้ เพราะก่อนหน้านี้จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดแรกที่เริ่มเลี้ยงและขยายพันธุ์แมลง จนเป็นที่รู้จักระดับประเทศ แต่วันนี้แหล่งผลิตที่เริ่มขึ้นก่อนแหล่งอื่นกลับลดจำนวนการผลิตลง และบ้านแสนตอแห่งนี้กลับมีพื้นที่การผลิตเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้นอีก โดยตั้งเป้าผลิตส่งออก และทำเป็นฟาร์มจิ้งหรีดมาตรฐาน GAP เพื่อการส่งออก

คุณไพบูรณ์ คำมูลมาตย์ หนึ่งในผู้ทำฟาร์มจิ้งหรีดอย่างเป็นระบบ เปิดฟาร์มให้เข้าดูการเลี้ยงจิ้งหรีดอย่างใกล้ชิด ที่ต้องเอ่ยเช่นนี้ เพราะโดยปกติ จิ้งหรีด เป็นสัตว์ที่มีความอ่อนไหวต่อสารทุกชนิด แม้กระทั่งควันไฟจากการเผา กลิ่นบุหรี่ ควันบุหรี่ กลิ่นน้ำหอม หากอยู่ในระยะที่จิ้งหรีดรับกลิ่นได้ จิ้งหรีดมีโอกาสตายสูง ดังนั้น การเปิดฟาร์มจึงเป็นการเสี่ยงอีกชนิดหนึ่ง

12 ปีแล้ว ที่คุณไพบูรณ์ เริ่มทำฟาร์มจิ้งหรีด โดยเริ่มต่อจากน้องเขย ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มนำจิ้งหรีดระบบฟาร์มมาเลี้ยงในหมู่บ้านแสนตอ เนื่องจากมีผู้ว่าจ้างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ให้น้องเขยเลี้ยงจิ้งหรีด โดยลงทุนเองทั้งหมด แต่รับซื้อคืนทั้งหมดเช่นกัน น้องเขยจึงลงทุนเริ่มแรกด้วยการทำโรงเรือน และซื้อไข่จิ้งหรีด 6,000 ขัน ราคาขันละ 100 บาท เท่ากับลงทุนเฉพาะพันธุ์จิ้งหรีดไป 60,000 บาท ไม่รวมค่าโรงเรือนและอื่นๆ เมื่อได้ผลผลิตผู้ว่าจ้างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ก็มารับซื้อคืนตามตกลง ส่วนคุณไพบูรณ์ก็อาศัยคราวนั้นเข้าไปศึกษาดูงานการเลี้ยงจิ้งหรีด และตัดสินใจลงทุนทำฟาร์มเองหลังการช่วยงานน้องเขย 25 ปี เพราะเห็นตลาดไปได้ดี

แม้ว่าจิ้งหรีดจะเป็นแมลงขนาดเล็ก แต่การทำโรงเรือนสำหรับจิ้งหรีดก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะต้องมีที่สำหรับกันแดดและฝนให้กับจิ้งหรีด เพราะจิ้งหรีดเป็นสัตว์บอบบาง อ่อนไหวง่าย เมื่อถูกแดดหรืออยู่ในที่ที่อุณหภูมิสูงเป็นเวลานานจะตาย หรืออยู่ในที่ที่มีความชื้นสูงมาก โดนฝนก็ตายเหมือนกัน ดังนั้น โรงเรือนที่ทำควรมีความโปร่ง อากาศสามารถถ่ายเทได้

อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงจิ้งหรีด คือ อุณหภูมิไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส หากร้อนกว่านั้น ซึ่งควบคุมสภาพอากาศได้ยาก ต้องช่วยระบายความร้อนให้ โดยการเปิดพัดลมให้อากาศถ่ายเท หรือติดสปริงเกลอร์บนหลังคาโรงเรือน เป็นการลดและระบายความร้อนออกจากโรงเรือน

จิ้งหรีด เริ่มจากการเพาะไข่ ซึ่งโดยปกติวงจรของจิ้งหรีด เมื่อโตเต็มวัยก่อนจับขาย จิ้งหรีดเพศเมียจะวางไข่ในขัน ที่นำไปวางในบ่อเลี้ยง ในขันขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 18 เซนติเมตร ให้ใส่แกลบเผา ขุยมะพร้าว ดิน น้ำ คลุกให้เข้ากันนำไปวาง จิ้งหรีดจะรู้เองว่าเป็นที่ที่เหมาะสำหรับการวางไข่

หลังได้ไข่จากการวางไข่ของจิ้งหรีดในขันแล้ว เมื่อจำหน่ายตัวจิ้งหรีดออกไป ให้เก็บขันทั้งหมดไปวางไว้รวมกัน แล้วนำผ้าคลุมไว้ ไม่นานจิ้งหรีดจะฟักจากไข่ออกมาเป็นตัวเล็กๆ เป็นจุดเริ่มต้นของพันธุ์จิ้งหรีดที่จะใช้เลี้ยงในรุ่นต่อไป

อ่านข่าวฉบับเต็ม: คลิก

ที่มา: technologychaoban

บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้