นักวิชาการ เสนอ "fake news" เป็นวาระแห่งชาติ

23 ส.ค. 2562 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
นักวิชาการ เสนอ "fake news" เป็นวาระแห่งชาติ

รายการ Good Morning ASEAN FM 100.5 วันที่ 19 สิงหาคม 2562 โดย อ.เกษมสันต์ วีระกุล

“ตั้งแต่เรามีรัฐบาลใหม่ข่าวที่เราได้ยินมากข่าวหนึ่งคือข่าวศูนย์ต่อต้าน Fake News ของรัฐมนตรีกระทรวงดีอี เป็นเรื่องที่ดีเพราะ Fake News ในปัจจุบันนี้ทุกคนก็เห็นแล้วว่าเป็นปัญหาไม่ใช่เฉพาะเมืองไทยแต่เป็นเรื่องของโลกด้วย ผมมีข้อมูลมาแชร์ทั้งของไทยเองและของต่างประเทศเพื่อที่เราจะได้เอาไปเป็นบทเรียนช่วยกันคิดช่วยเป็นแรงสนับสนุนรัฐมนตรีพุทธิพงษ์ อันที่หนึ่งประเทศไทยเราตอนนี้มีคณะกรรมการที่เรียกว่า คณะกรรมการการประชาสัมพันธ์แห่งชาติซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี วิษณุ เครืองาม เป็นประธาน และก็มีการผลักดันการต่อต้าน Fake News มานานพอสมควร มีคณะกรรมการระดับรัฐมนตรี ระดับปลัดกระทรวงรวมถึงปลัดกระทรวงดีอีของรัฐมนตรีพุทธิพงษ์ด้วย และมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน จากภายนอก เช่น อ.เสรี วงษ์มณฑา ก็อยู่ในคณะกรรมชุดนี้ ผมโดนเชิญไปอยู่ในนั้นด้วย”

“คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติในชุดซึ่งผมเป็นประธานอนุกรรมการ ฯ มีการระดมสมอง มีการพูดคุยโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญมาคุยกันว่า โลกทั้งโลกเวลาเขาต่อสู้เรื่อง Fake News เขาทำกันอย่างไร โดยเฉพาะองค์กรใหญ่ ๆระดับ CIA, FBI ของสหรัฐ องค์กรที่เก่งๆ เขาทำกันอย่างไร ขณะนี้องค์ความรู้พวกนี้อยู่ที่ตัวคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติแล้ว ที่สำคัญคือคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติมีคณะปฎิบัติการข่าวสาร 6 คณะ มาจากทุกกระทรวงรวมทั้งสื่อมวลชนด้วย อสมท.ก็เป็นหนึ่งในเครือข่ายนี้ที่ช่วยเผยแพร่ คณะกรรมการปฎิบัติการข่าวสาร 6 คณะนี้ทั้ง เศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง ต่างประเทศ ยุติธรรม และก็จะมีโฆษกของแต่ละกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ว่าง่ายๆคือโฆษกแทบทุกกระทรวงอยู่ในนี้และก็มีสื่อ 3 สื่อ อสมท. กรมประชาสัมพันธ์ ไทยพีบีเอส และก็สามารถขอความร่วมมือไปยังสื่อเอกชนได้ เวลาไปเจออะไรที่เป็น Fake News คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติชุดของผมก็สามารถเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านเว็บไซด์ของกระทรวง ผ่านโฆษกกระทรวง ผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ของ อสมท. กรมประชาสัมพันธ์ และไทยพีบีเอส”

“ขณะทำขนาดนี้เวลานี้ต้องเรียนว่ายังไม่ทันการณ์ เพราะการทำงานอยู่ในรูปแบบของรัฐบาล ราชการ ก็มีกระบวนการพอสมควร ขนาดท่านรองนายก ฯนั่งหัวโต๊ะคณะกรรมการสั่งการไปติดต่อไปในนามคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติก็ยังช้ากันอยู่ เพราะฉะนั้นก็มีความกังวลเล็กๆ ในความริเริ่มที่ดีของรัฐมนตรีพุทธิพงษ์ ถ้าทำเองจะได้รับความร่วมมือหรือเปล่า สองถ้าไปเริ่มใหม่เลยนี่องค์ความรู้ที่มีอยู่ที่คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติก็จะหายไป อยากเห็นการทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง Deepfake เคยได้ยินไหม Fake News คือสิ่งที่คนธรรมดาอย่างเรา คนไม่ดีทั่วไป มาเขียนข่าวแล้วทำเหมือนข่าวจริงๆ แต่เป็นข่าวซึ่งไม่จริง อาจจะมีผลทางการเมือง เศรษฐกิจ ผลก่อความวุ่นวายแล้วก็มาโพสต์ พอคนอ่านหลงเชื่อก็จะแชร์กันต่อ”

“Deepfake ก็คือ Fake News ที่ผลิตโดยปัญญาประดิษฐ์ คนที่หวังไม่ดีใช้ปัญญาประดิษฐ์ผลิตข่าวปลอมขึ้นมา ขณะนี้ Deepfakeไปไกลถึงขนาดที่ว่าเอาคลิป fb ไลฟท์ที่เราคุยกันอยู่ เอาหน้า เอาภาพ เอาความเคลื่อนไหวไป แต่ใส่ประโยคคำพูดอื่น ซึ่งคอมพิวเตอร์ปัญญาประดิษฐ์ก็จะเป็นเสียงเราที่ไปประดิษฐ์คำอื่น ตรงกับการขยับปากของเรา เพราะฉะนั้น Deepfake เป็น Fake ที่ลึก จับยากมาก ๆเพราะมันผลิตด้วย AI ปัญญาประดิษฐ์ กูเกิ้ล ถึงขนาดเขียนในบทความเลยว่าจะเป็นอีกปัญหาหนึ่ง ขนาด Fake News ที่ผลิตโดยคน เราเอาคนเฝ้าระวังก็ยังตามไม่ค่อยทัน”

“ถ้าเป็น Deepfake ขึ้นมา มันจะไปลึกกว่า จับได้ยากกว่า เหมือนกับเราดูวีดีโอ ภาพก็ภาพจริง เสียงก็เสียงจริง ปากก็ขยับไปตามเสียง มันจะไม่จริงได้อย่างไร มีเรื่องดารา โดนัล ทรัมป์ ก็โดน กลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมา AI ที่คอยทำหน้าที่ดักจับ Fake News ก็จะถูกอันนี้ผลิตย้อนหลังขึ้นมาอีก ทุกวันนี้อย่างกูเกิ้ลลงทุนไปเป็นหมื่นล้านบาทแล้ว เพื่อสร้างสิ่งที่เรียกว่า Google News Initiative ขึ้นมา กูเกิ้ล จะมีพันธมิตรมากขึ้น เมื่อเจออะไรที่ต้องสงสัย กู้เกิ้ล จะส่งข้อความ โพสต์ หรือ คลิป นั้น ไปให้พันธมิตรเพื่อช่วยตรวจสอบ เมื่อตรวจสอบแล้วว่าถูกต้อง ในเวลาอันสั้นเมื่อกูเกิ้ลหาอะไรสักอย่างก็จะมีข้อความขึ้นว่าข้อความนั้นได้ถูกตรวจสอบโดยองค์กร ABCD แม้กระทั่งมีการตรวจสอบแล้วกูเกิ้ลยังระบุว่าสิ่งที่เขากังวลคือ Deepfake ซึ่งไม่ง่ายเลย”

“หลายประเทศใช้มาตรการทางด้านกฎหมายเพื่อที่จะต่อสู้กับ Fake News ไม่ว่าจะเป็น อินโดนีเซีย เยอรมัน ฝรั่งเศสหรือในยุโรปหลายประเทศใช้วิธีการออกกฎหมาย หนึ่งลงโทษคนโพสต์ Fake News หรือ Hate speech หรือข้อความที่ทำให้เกิดความเกลียดชังซึ่งกันและกัน และได้เขียนกฎหมายบังคับไว้ว่าถ้ารัฐบาลค้นพบว่าอะไรเป็น Fake News ก็จะไปขอให้ แพลตฟอร์ม โซเชียลมีเดย เจ้าของเว็บไซด์ รีบลบข้อความที่เป็น Fake News ภายในเวลาที่กำหนด หากไม่ลบก็จะถูกปรับเป็นเงินหลายล้านบาท”

“หลายๆที่ที่ออกมาตรการนี้ออกมา ซึ่งฟังดูเหมือนจะดีแต่สิ่งที่เกิดขึ้นมีความกังวลว่ารัฐบาลหรือประเทศที่ใช้กฏหมายเป็นตัวนำในการต่อต้าน Fake News จะใช้กฏหมายดังกล่าวในการปิดกั้นเสรีภาพการแสดงออกของประชาชน มีเส้นแบ่งบาง ๆ สมมติว่ามีคนที่ไม่ชอบรัฐบาล โจมตีรัฐบาล มันเป็นข้อความที่สร้างความแตกแยกหรือเปล่าหรือเขาแสดงความคิดเห็นโดยบริสุทธิ์ใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังพอสมควร หลายคนมีความกังวลเรื่องการใช้กฎหมาย สิงคโปร์เองก็เขียนบอกว่าให้ระวังในเรื่องการต่อต้าน Fake News อย่าให้รัฐบาลไปใช้เป็นเครื่องมือในการปิดปาก ปิดกั้นเสรีภาพประชาชน หรือรัฐบาลที่ไม่ดีใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม พวกเดียวกันพูดได้ โพสต์ได้ แต่ถ้าเป็นคู่แข่งถือเป็น Fake News ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังในมาตรการทางกฎหมาย”

“ประเทศซึ่งวันนี้ที่โลกเขาติดตามอยู่คือประเทศฟินแลนด์ซึ่งมีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก นักเรียนมีความสุขที่สุดในโลก เขาบอกว่าการต่อสู้ Fake News ที่ได้ผลต้องไปเริ่มที่ระบบการศึกษาต้องทำให้นักเรียนที่อยู่ในระบบเข้าใจแยกแยะ มีความสามารถทางด้าน critical thinking มีวิจารณญานแยกแยะออกว่าอะไรเป็นข้อเท็จจริง critical thinking เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเรียนแล้วนักเรียนจะได้เข้าใจว่าสิ่งที่เรียนข้อมูลที่ได้มา เราคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเอาไปใช้งานเอาไปต่อยอดได้ เป็นสิ่งที่ฟินแลนด์ทำเขาบอกว่าเป็นวิธีเดียวที่จะได้ผลที่สุดต่อเยาวชน เป็นบทเรียนเผื่อกระทรวงศึกษาจะได้ฟังว่า Fake News มันเริ่มจากโรงเรียนทำ critical thinking ได้ กลับมาสิ่งที่คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติที่ได้เรียนรู้ ปัจจุบันเราต่อสู้ Fake News ใช้คนในการเฝ้าระวังกว่าจะรู้ว่าเป็น Fake News ก็กลายเป็น viral ไปแล้ว”

“ข้อเรียนรู้ประการที่สองการตอบโต้การชี้แจงยังเป็นภาครัฐยังขาดการบูรณาการกันอย่างแท้จริง สิ่งที่เราเรียนรู้ประการที่สามในต่างประเทศที่เขาตรวจจับ เฝ้าระวังและตอบโต้ เขาใช้ Big Data ใช้ NLP ใช้ AI ปัญญาประดิษฐ์ Big Data คือข้อมูลที่เป็นความจริงที่ถูกจัดระบบไว้อย่างดีตรวจสอบได้รวดเร็วจะจัดอย่างนั้นได้เมื่อคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์และจัดระบบไว้ Database ที่เมืองไทยเรามีอยู่เยอะๆ แม้ว่าอยู่ในคอมพิวเตอร์ก็ตามมันยังไม่ถูกจัดระบบดึงออกมาใช้ในเสี้ยววินาทีไม่ได้ มันเป็นแค่ Big Database ไม่ใช่ Big Data ที่โลกเขาพูดกัน”

“ต่างประเทศเขามีกระบวนการที่เรียกว่า NLP (natural language processing ) คือกระบวนการสอนคอมพิวเตอร์ให้เข้าใจภาษา ทำอย่างไรให้เขาเข้าใจภาษาไทย ต้องมีกระบวนการสอนที่เรียกว่า machine learning คนสอนต้องเข้าใจโปรแกรม และต้องสอนให้รู้ว่านี่ตัว ก ไก่ นะ ก อา กา นะเป็นสัตว์หรือเป็นที่ใส่น้ำก็ได้ ต้องค่อยๆสอนทีละคำแบบนี้ พอสอนไปเรื่อยๆ คอมพิวเตอร์เริ่มเก่งมาเปรียบเทียบคำเริ่มเรียนเองได้ ซึ่งเรียกว่า deep learning สิ่งที่เราเรียนรู้วันนี้หน่วยงานในไทยหลายหน่วยงานเริ่มสอนภาษาไทยให้คอมพิวเตอร์ แต่ด้วยศักยภาพ ด้วยขนาด น้อยมาก คำภาษาไทยทั้งหมดเรามีคำประมาณ 4 ล้านคำ ว่ากันว่าคอมพิวเตอร์วันนี้ที่เข้าใจภาษาไทยประมาณ 4 หมื่นคำคิดเป็นเปอร์เซนต์เดียว คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษาไทยน้อย เพราะฉะนั้น Big Data เมืองไทยยังไม่มี พอคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษาไทยก็จะมีคนที่เรียกว่า Data Scientists นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล มาเขียนโมเดลเพื่อสอนให้คอมพิวเตอร์ประมวลคิด คำนวณว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้มันคืออะไร ถ้าวันไหนที่คอมพิวเตอร์เก่งไม่ต้องให้เราสั่งมันคิดเองได้ทำเองได้ทำเสมือนเป็นคนปกติได้อันนั้นเราเรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ AI ประเทศไทยไม่มีคอมพิวเตอร์ที่เข้าใจภาษาไทยเต็มๆ เพราะฉะนั้นเรายังไม่มี Big Data ไม่มี AI และเรายังจะเป็นไทยแลนด์ 4.0 ไม่ได้”

“ทางออกขณะนี้ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีมากที่รัฐมนตรีพุทธิพงษ์ สนใจเรื่อง Fake News และแอคทีฟมากๆ ผมขอเรียนเสนอว่า หนึ่งกระทรวงดีอีต้องมาประสานกับคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ที่มีรองนายกฯวิษณุ เครืองาม เป็นประธานโดยด่วนว่าจะทำงานกันอย่างไร สองรีบกำหนดระบบต่อต้าน Fake News ที่ดี และเหมาะสมกับคนไทย และต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าสิ่งที่ประเทศฟินแลนด์ทำที่ไปสอนในโรงเรียน สิ่งที่สิงคโปร์ทำที่ไปสร้างระบบสอนเยาวชนให้แยกแยะออกว่าอะไรคือ Fake News เราจะทำไหม ทำอย่างไร กระบวนการสอนภาษาไทยให้คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า NLP และ machine learning ต้องใช้เวลามาก ต้องเป็นวาระแห่งชาติ ศัพท์กฎหมาย ศัพท์การเมือง ศัพท์ความมั่นคง รวมทั้งภาษาท้องถิ่นเยอะแยะมากมาย เป็นหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งสอนไม่ได้ ต้องเป็นวาระแห่งชาติ ทุกคนรวมหัวกันเข้ามาสอนคอมพิวเตอร์ในเวลาเดียวกันถึงจะเร็ว” 

“นอกจากนั้นแล้วต้องรวมหัวกันเป็นวาระแห่งชาติเอาข้อมูลภาครัฐ มติ ครม. ประกาศกระทรวง ใส่เข้าไปในระบบจะได้มีฐานข้อมูลที่เป็น Big Data และคอมพิวเตอร์เข้าใจ จัดระบบ และก็ตรวจสอบได้ คือสิ่งที่ต้องทำ เมื่อคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษาไทย มีฐานข้อมูลอยู่ในระบบซึ่งคอมพิวเตอร์เป็นคนจัดระบบ คอมพิวเตอร์ก็จะเริ่มเห็นว่าข่าวนี้ใครไปโพสต์ ในไลน์ ในเฟซบุ๊ค ในยูทูป ใหม่ๆความฉลาดยังน้อยอยู่เหมือนเราสอนเด็กน้อย ใหม่ ๆ AI จะทำได้แค่เตือนเฉยๆว่าสงสัยข่าวนี้จะปลอม ก็มาตรวจสอบต่อ แต่พอนานไปคอมพิวเตอร์ฉลาดขึ้นจะบอกได้เลยว่าอันนี้ภาพที่เอาลงเป็นภาพระเบิดที่เกิดขึ้นเมื่อ 5 ปีที่แล้ว เพราะฐานข้อมูลมีอยู่ เป็น Fake News แน่นอนจัดการด่วน ประเด็นต่อมาก็คือการตอบโต้ การแก้ไข Fake News ต้องทำเป็นเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ กรมประชาสัมพันธ์ อสมท. ไทยพีบีเอส ทีวีช่องต่างๆ สื่อต่างๆ ที่เรามีต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน”

“ทั้งหมดนี้กำลังจะบอกว่าต้องเป็นวาระแห่งชาติซึ่งไม่มั่นใจว่ากระทรวงดีอีกระทรวงเดียวจะเอาอยู่ ผมคิดว่าต้องเป็นงานของท่านนายกรัฐมนตรี ถึงจะสั่งทุกๆกระทรวงพร้อม ๆกันได้ถึงจะบูรณาการกันได้ และที่สำคัญที่สุดถ้าไม่เริ่มวันนี้ ไม่สอน AI ให้เข้าใจภาษาไทย เราจะไม่มีไทยแลนด์ 4.0 เพราะคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจภาษาไทย Big Data ไม่มี ไม่ว่าช้าก็เร็ว ต้องเริ่มเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ดีมากที่รัฐมนตรีพุทธิพงษ์ได้ขยับเรื่องนี้ก่อน เราจะได้มีกระบวนการ NLP มี machine learning และ AI ในที่สุด ต้องฝากไว้ว่าเป็นงานของใคร ดีอีพอไหมหรือจะระดับของท่านนายกฯ ที่เป็นแม่งานนี้”

ขอบคุณข้อมูล: ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวต้นฉบับ

ดาวโหลดแอปพลิเคชัน เพื่อสะสมแต้มแลกของรางวัลแลกเลยไม่ต้องลุ้น
Android
IOS

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลมหนาวระลอกใหม่มาแน่! 20 - 25 ธ.ค. นี้ ทั่วไทยอุณหภูมิลดลง 2 - 8 องศาฯ

กรมอุตุนิยมวิทยา เผยช่วงวันที่ 20 - 25 ธ.ค. 66 มวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง ขอให้ประชาชนดูแลรักษ

อ่านบทความนี้

ย้ำเตือนประชาชน อย่าหลงกลตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ พบมูลค่าความเสียหายกว่า 50,000 ล้านบาท

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกรัฐบาล ย้ำเตือนประชาชน ตั้งสติ อย่าตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ที่ใช้อุบายหลอกลวง สร้างความน่าเชื่อถือในหลายรูปแบบ แม้รัฐบาลได้เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและตรวจสอบอย่า

อ่านบทความนี้

เชิญมาเที่ยวงาน "เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) 2566" น้ำพระทัยสองพระมิ่งขวัญเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) เปี่ยมล้นพระเมตตาผู้ประสบอุทกภัย

งานเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) 2566 สถานที่ใหม่ เดินทางสะดวกกว่าเดิม เดินทางมาเที่ยวงานสะดวกมาก ทั้งรถสาธารณะ และรถส่วนตัว ที่จอดรถกว้างขวาง ภายในงานติดแอร์ตลอดทั้งงาน ไม่ต้องกลัวร้อน กลัวฝน   งานเริ่มแ

อ่านบทความนี้