รมว.ศธ.เปิดงาน ’10 ปี การพัฒนาต่อยอดโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตามอุดมการณ์’ แนะเตรียมวางรากฐานความพร้อมโลกอนาคตด้าน Quantum Computing

26 พ.ย. 2563 / กระทรวงศึกษาธิการ
รมว.ศธ.เปิดงาน ’10 ปี การพัฒนาต่อยอดโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตามอุดมการณ์’ แนะเตรียมวางรากฐานความพร้อมโลกอนาคตด้าน Quantum Computing

(25 พฤศจิกายน 2563) นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงาน ’10 ปี การพัฒนาต่อยอดโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตามอุดมการณ์’ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยมีคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, HE Mr Nashida Kazuya เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นฯ, HE Mr Taha Macpherson เอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ประจำประเทศไทย เข้าร่วมงาน

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ กล่าวว่า ในโอกาสครบรอบ 10 ปี การพัฒนาต่อยอดโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จนเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำ มีความสามารถสร้างองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีให้กับประเทศชาติและสังคมไทยในอนาคต ซึ่งต้องขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง คือ

  • คุณสัมพันธ์ ทองสมัคร อดีต รมว.ศธ. ที่ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มาตั้งแต่ปี 2536 จำนวน 10 แห่ง จนถึงปัจจุบัน ที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่งทั่วประเทศ
  • คุณชินวรณ์ บุณยเกียรติ อดีต รมว.ศธ. ที่ได้เสนอให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณสนับสนุนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพื่อดูแลนักเรียนในกลุ่มจุฬาภรณราชวิทยาลัย ในอัตราที่สูงพอสมควร ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
  • คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศธ. ที่รับผิดชอบ ดูแล ต่อยอด กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ในปัจจุบัน
  • เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์ ที่มีส่วนร่วมส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมทางวิชาการร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง
  • มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง ที่จัดสรรบุคลากรในการสนับสนุนโรงเรียนที่เป็นต้นแบบ
  • ครู-ผู้บริหาร ที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการดูแลเด็กนักเรียนให้มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โอกาสนี้ จึงขอท้าทายระบบการเรียนการสอนของกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยให้แข็งแรงมากไปกว่านี้ เพราะเด็กเหล่านี้ถือเป็น ‘หัวกะทิ’ หรือ Elite ของประเทศไทย อยากให้ไปยืนในลำดับต้น ๆ ของโลก ได้รับการส่งเสริม พัฒนาต่อยอด เพื่อทำผลประโยชน์ให้กับประเทศไทยได้อีกหลากหลายรูปแบบ

ที่ผ่านมา เคยไปตรวจเยี่ยมโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยหลายแห่ง ทำให้ได้เห็นการบริหารจัดการที่เข้มข้น ความมีวินัย ความเป็นระเบียบ จึงอยากเห็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นำรูปแบบที่ดีไปพัฒนา กระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อยกระดับโรงเรียนในสังกัดให้มีคุณภาพมากขึ้น

ตอนนี้โลกอนาคตของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะยกระดับไปเป็น Quantum Computing (หรือการประมวลผลควอนตัม ที่เป็นการยกระดับของฟิสิกส์ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่เปลี่ยนจากการทำงานบนแผงวงจร มาใช้คุณสมบัติพิเศษของอะตอมแทน ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวทำให้แต่ละ Qubit ทำงานได้เร็วกว่า Bit อย่างมหาศาล มีความเร็วมากกว่า PC ทั่วไปถึง 100 ล้านเท่า) ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ประมาณ 300 คนเท่านั้น หากเราวางรากฐานเรื่องนี้ ไม่ต้องรอให้ประเทศอื่น ๆ มาชี้นำ เช่น อาจจะต้องส่งเสริมด้านภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น เยอรมนี พร้อมทั้งจัดสรรทุนเด็ก ให้ไปเรียนต่อยอดในเรื่องเหล่านี้ ก็ถือเป็นความท้าทายของระบบบริหารจัดการ การจัดสรรงบประมาณ เพื่อพัฒนาทักษะวิชาการที่แตกต่างกัน

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยนั้น ความทุ่มเทของผู้อำนวยการและครู ถือว่ามีบทบาทต่อความเจริญก้าวหน้าของโรงเรียนเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นลักษณะโรงเรียนประจำ เด็กสามารถเรียนรู้ได้ 24 ชั่วโมง และการที่มีกิจกรรมการแข่งขันต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ ทำให้เด็กและครูตื่นตัว ขยับคุณภาพขึ้นไปได้เรื่อย ๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเด็กพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว โรงเรียนในกลุ่มทั้ง 12 แห่ง มีการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ต่าง ๆ หลากหลาย ทำให้เด็กอยากเรียนในสิ่งที่สนใจ ถือเป็นความสามารถของคณะกรรมการฯ โรงเรียน ครูผู้สอน มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่เป็นต้นแบบให้กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยได้เรียนรู้

จากการตรวจเยี่ยมที่ผ่านมา จึงมีความประทับใจในกลุ่มโรงเรียนหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่เด็กมักนำเอาปัญหาของท้องถิ่นมาเป็นโครงงานวิจัย เช่น เด็กพบปัญหาเกี่ยวกับท่อแก๊สหุงต้มของแม่ค้าในโรงเรียน ก็ได้ทำการวิจัยว่า จะทำอย่างไรให้แม่ค้าขายอาหารกลางวันได้โดยไม่ต้องดมกลิ่นแก๊สหุงต้ม

หรืออีกความประทับใจในการเยือนญี่ปุ่นเมื่อปี 2562 เด็ก ม.3 จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี และพิษณุโลก ที่ได้รับการคัดเลือกไปเรียน KOSEN ที่ญี่ปุ่น ครูของญี่ปุ่นก็ทึ่งกับผลการเรียนเด็กต่างจังหวัดของไทยที่ชนะเด็กญี่ปุ่นด้วย

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ถือเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจ และยืนยันได้ว่าหากเด็กของเราได้รับโอกาส และมีบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี เด็กไทยสามารถทำได้อย่างน่าทึ่งทีเดียว อีกทั้งเด็กนักเรียนกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยก็มีผลการสอบสูงกว่ามาตรฐาน PISA อีกด้วย

นายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ รองเลขาธิการ กพฐ. ในนามของคณะกรรมการโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กล่าวว่า ในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยได้พัฒนาก้าวหน้าเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพในระดับนานาชาติ ทั้งยังประสบความสำเร็จในการรักษาคุณภาพการเรียนการสอนทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่อง โดยนักเรียนได้รับการบ่มเพาะความรู้ ทักษะ และการศึกษาที่เน้นคุณภาพ สำหรับการเตรีบยมความพร้อมด้านกำลังคน อันเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศด้านการเป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ นักคิดค้นนวัตกรรม ซึ่งกลุ่มโรงเรียนทั้ง 12 แห่งอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อกระจายโอกาสและการพัฒนานักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านดังกล่าวได้อย่างทั่วถึง

ดังนั้น ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 จึงเป็นวาระสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จก้าวหน้า ตามอุดมการณ์และเป้าหมายของการพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์​จุฬาภรณ​ราช​วิทยาลัย ปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 12 แห่ง กระจายในทุกภูมิภาคของประเทศ คือ จังหวัดเชียงราย, พิษณุโลก, ลพบุรี, ปทุมธานี, เลย, มุกดาหาร, บุรีรัมย์, ช​ลบุรี, เพชรบุรี, นครศรีธรรมราช, ตรัง และสตูล

ลิงก์รับชม Facebook Live
ของ รมช.ศธ.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลมหนาวระลอกใหม่มาแน่! 20 - 25 ธ.ค. นี้ ทั่วไทยอุณหภูมิลดลง 2 - 8 องศาฯ

กรมอุตุนิยมวิทยา เผยช่วงวันที่ 20 - 25 ธ.ค. 66 มวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง ขอให้ประชาชนดูแลรักษ

อ่านบทความนี้

ย้ำเตือนประชาชน อย่าหลงกลตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ พบมูลค่าความเสียหายกว่า 50,000 ล้านบาท

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกรัฐบาล ย้ำเตือนประชาชน ตั้งสติ อย่าตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ที่ใช้อุบายหลอกลวง สร้างความน่าเชื่อถือในหลายรูปแบบ แม้รัฐบาลได้เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและตรวจสอบอย่า

อ่านบทความนี้

เชิญมาเที่ยวงาน "เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) 2566" น้ำพระทัยสองพระมิ่งขวัญเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) เปี่ยมล้นพระเมตตาผู้ประสบอุทกภัย

งานเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) 2566 สถานที่ใหม่ เดินทางสะดวกกว่าเดิม เดินทางมาเที่ยวงานสะดวกมาก ทั้งรถสาธารณะ และรถส่วนตัว ที่จอดรถกว้างขวาง ภายในงานติดแอร์ตลอดทั้งงาน ไม่ต้องกลัวร้อน กลัวฝน   งานเริ่มแ

อ่านบทความนี้