ประชุมผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการสัญจร ที่อุบลราชธานี ปลัด ศธ.ย้ำขับเคลื่อนนโยบายการศึกษายกกำลังสอง

16 ต.ค. 2563 / กระทรวงศึกษาธิการ
ประชุมผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการสัญจร ที่อุบลราชธานี ปลัด ศธ.ย้ำขับเคลื่อนนโยบายการศึกษายกกำลังสอง

กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) จัดประชุมผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการสัญจร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 “มุมมองสู่การปฏิบัติ : การศึกษายกกำลังสอง” ที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยปลัด ศธ.”สุภัทร จำปาทอง” นำทีมผู้บริหารทุกสังกัด มอบแนวทางนโยบายการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ

More Photos: Facebook

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 ณ วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี – นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมและบรรยายพิเศษ “แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษายกกำลังสอง” โดยมีผู้บริหาร ศธ.เข้าร่วม อาทิ นายเจตน์ โศภิษฐ์พงศธร เลขานุการ รมว.ศธ., นายกมล รอดคล้าย ที่ปรึกษา รมช.ศธ., นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการ กอศ., นายธนู ขวัญเดช และนายสุทิน แก้วพนา รองปลัด ศธ., นายวรัท พฤกษาทวีกุล เลขาธิการ กศน., นายศรีชัย พรประชาธรรม ผู้ตรวจราชการ ศธ., นางสุปราณี นฤนาทนโรดม รองเลขาธิการ ก.ค.ศ., นายธฤติ ประสานสอน รองเลขาธิการ กช., นางเกศทิพย์ ศุภวานิช ผู้ช่วยปลัด ศธ., นายสุรินทร์ แก้วมณี ศึกษาธิการภาค 5, นายประสิทธิ์ เขียวศรี ศึกษาธิการภาค 3, นายศัจธร วัฒนะมงคล รองศึกษาธิการภาค 14, ศึกษาธิการภาค, ศึกษาธิการจังหวัด, ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาทุกสังกัดในพื้นที่ เข้าร่วมประชุมกว่า 250 คน

ปลัด ศธ.ย้ำจัดการศึกษาสอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปด้านการศึกษา 7 ด้าน

ปลัด ศธ. กล่าวว่า การขับเคลื่อนการศึกษาของ ศธ. ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564-2565 จะต้องสอดคล้องกับ “กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580)” และเป็นไปตาม “แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา” 7 ด้าน ได้แก่

  1. ปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนร
  2. ปฏิรูปการพัฒนาเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
  3. ปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
  4. ปฏิรูปกลไกและระบบการผลิต คัดกรอง และพัฒนาครู
  5. ปฏิรูปเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
  6. การปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบการศึกษา
  7. ปฏิรูปการเรียนรู้โดยการพลิกโฉมด้วยระบบดิจิทัล

โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ ยกระดับคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ และปรับปรุงระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร อีกทั้งยังสอดคล้องรองรับกับ “มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561” อีกด้วย

จัดการศึกษา : ต้องคำนึงสถานการณ์ สังคมโลก และทักษะหลักของพลโลก

ปลัด ศธ.ได้กล่าวถึงสถานการณ์การจัดการศึกษาและความคาดหวัง โดยสื่อให้เห็นถึงข้อมูลสถิติด้านต่าง ๆ ที่มีผลต่อการจัดการศึกษา เช่น จำนวนและแนวโน้มการเกิดของประชากรไทย จำนวนโรงเรียนของไทย (29,433 โรงเรียน) นักเรียน (6,581,843 คน) ครู (3.73 แสนคน) และห้องเรียน (3.4 แสนห้องเรียน) ความมีอิสระในการจัดการศึกษา

ที่สำคัญ การจัดการเรียนการสอน ต้องสอดคล้องกับความต้องการของตลาดงาน กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก คำนึงถึงการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ที่ไม่จำกัดระยะเวลาในการเรียนตามหลักสูตรระดับปริญญาตรี-โท-เอก เหมือนเดิมอีกต่อไป เพื่อต้องการให้คนเรียนไปด้วย ทำงานไปด้วย

ศธ.จึงได้ปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษาสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ โดยคำนึงถึงทักษะหลักของพลโลกในศตวรรษที่ 21

กำหนดยุทธศาสตร์ “การศึกษายกกำลังสอง” พร้อมขับเคลื่อนในปี 2564-65

ด้วยนโยบาย “การศึกษายกกำลังสอง” ของ รมว.ศธ.”ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ” ที่ต้องการเน้นไปสู่การศึกษาที่มีความเป็นเลิศ (Education for Excellence)” สร้างให้การศึกษาต้องมีความยืดหยุ่นเท่าทันกับบริบทภายนอก และกระแสโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว สามารถพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและตลาดได้ ซึ่งจะต้องมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาศักยภาพบุคคลสู่ความเป็นเลิศในแบบฉบับของแต่ละคน

โดยโมเดลการศึกษายกกำลังสอง ประกอบด้วยกลไกที่สำคัญ 3 ส่วน คือ

  • HCEC (Human Capital Excellence Center) ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ เป็นหน่วยพัฒนาทุนมนุษย์ (HR) ของประเทศ เพื่อตอบโจทย์อาชีพ อุตสาหกรรม และธุรกิจ
  • DEEP (Digital Education Excellence Platform) แพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ เป็นหน่วยบริหารจัดการองค์ความรู้ (KM) ของประเทศ เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • EIDP (Excellence Individual Development Plan) แผนพัฒนารายบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ เป็นต้นแบบการพัฒนาศักยภาพบุคคล (Human Potential : HP) เพื่อตอบโจทย์เส้นทางความสำเร็จของชีวิต

ความสำคัญของยุทธศาสตร์ดังกล่าว เพื่อต้องการเปลี่ยนระบบการศึกษา ที่นำไปสู่  ”ระบบนิเวศ”  ทางการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ โดยให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนนักเรียน ครู ห้องเรียน สื่อการเรียนรู้ และโรงเรียน เพื่อยกกำลังสองไปพร้อมกันทั้งระบบ

  • นักเรียนยกกำลังสอง  จะต้องเปลี่ยนจากการเรียนเพื่อสอบ ไปสู่เรียนเพื่อรู้ ให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้ เรียนเพื่ออยากเรียน มีการฝึกฝนเพื่อทำ สร้างทักษะอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น ภาษาที่ 2-3 และยกระดับทักษะชีวิต สร้างความสามารถของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เป็นต้น
  • ครูยกกำลังสอง  เมื่อต้องการให้เด็กเก่ง ก็ต้องมีระบบสร้างครูที่เก่ง มีระบบที่ให้คนเก่งเข้ามาเป็นครู ให้อาชีพครูเป็นอาชีพในฝัน #เก่งเป็นครู โดยออกแบบโมเดลอาชีพครูให้เป็นความใฝ่ฝันของนักเรียนนักศึกษา
  • ห้องเรียนยกกำลังสอง  จากการเรียนที่โรงเรียน ไปสู่การเรียนที่บ้านถามที่โรงเรียน (ห้องเรียนกลับด้าน) โดยให้ผู้เรียนหาความรู้ที่บ้าน เพิ่มความรู้เสริมทักษะที่โรงเรียน (ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้) ทำหลักสูตรให้ยืดหยุ่น
  • สื่อการเรียนรู้ยกกำลังสอง  เรียนจากตำรา สู่การเรียนผ่านสื่อแบบผสมผสาน (การเรียนรู้ออกแบบได้) เรียนที่ไหนก็ได้ที่มีอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์
  • โรงเรียนยกกำลังสอง  เน้นการประเมินโรงเรียนจากจำนวนนักเรียน ไปสู่คุณภาพ ตอบโจทย์ความรู้และทักษะที่เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ตามบริบท ความเป็นเลิศทางวิชาการ และความเป็นเลิศทางภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งวิสาหกิจชุมชน

นายสุทิน แก้วพนา รองปลัด ศธ. กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ นอกจากการมอบนโยบายของปลัด ศธ. และคณะผู้บริหารกระทรวง เพื่อให้หน่วยงานรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกแล้ว ยังได้มีการนำเสนอการนำนโยบายสู่การปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี (Best Practice) ใน 2 เรื่องที่สำคัญ คือ พลิกโฉมการจัดการศึกษาด้วยนวัตกรรมการบริหาร โดยนายเธียนไท คำล้าน ผอ.สพป.อุบลราชธานี เขต 4 และการจัดการศึกษาปฐมวัย ตามแนวคิดมอนเตสซอรี (Montessori) โดยนายถาวร คูณีรัตน์ ผอ.สพป.อุบลราชธานี เขต 1

ดาวน์โหลดเอกสารบรรยาย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลมหนาวระลอกใหม่มาแน่! 20 - 25 ธ.ค. นี้ ทั่วไทยอุณหภูมิลดลง 2 - 8 องศาฯ

กรมอุตุนิยมวิทยา เผยช่วงวันที่ 20 - 25 ธ.ค. 66 มวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง ขอให้ประชาชนดูแลรักษ

อ่านบทความนี้

ย้ำเตือนประชาชน อย่าหลงกลตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ พบมูลค่าความเสียหายกว่า 50,000 ล้านบาท

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกรัฐบาล ย้ำเตือนประชาชน ตั้งสติ อย่าตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ที่ใช้อุบายหลอกลวง สร้างความน่าเชื่อถือในหลายรูปแบบ แม้รัฐบาลได้เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและตรวจสอบอย่า

อ่านบทความนี้

เชิญมาเที่ยวงาน "เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) 2566" น้ำพระทัยสองพระมิ่งขวัญเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) เปี่ยมล้นพระเมตตาผู้ประสบอุทกภัย

งานเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) 2566 สถานที่ใหม่ เดินทางสะดวกกว่าเดิม เดินทางมาเที่ยวงานสะดวกมาก ทั้งรถสาธารณะ และรถส่วนตัว ที่จอดรถกว้างขวาง ภายในงานติดแอร์ตลอดทั้งงาน ไม่ต้องกลัวร้อน กลัวฝน   งานเริ่มแ

อ่านบทความนี้