อาการต้องสงสัย เข้าสู่วัยทอง

04 ก.ย. 2562 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
อาการต้องสงสัย เข้าสู่วัยทอง

"วัยทอง หรือ วัยหมดประจำเดือน" ในคุณผู้หญิงไม่ใช่โรคนะครับ... แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามธรรมชาติ ที่ช่วงอายุประมาณ 45-55 ปีโดยเฉลี่ย ซึ่งอาการก่อนที่จะเข้าสู่วัยทองนั้นได้แก่ ประจำเดือนมาผิดปกติ มาถี่หรือห่างขึ้น 
ปวดเมื่อย ร้อนๆ หนาวๆ วูบวาบ

และเมื่อรังไข่หยุดทำงาน ร่างกายไม่มีฮอร์โมนเพศหญิง หรือฮอร์โมนเอสโตรเจนแล้วจะทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ใจสั่น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย และความรู้สึกทางเพศลดลง นอกจากนี้สิ่งที่ตามมาเมื่อร่างกายไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน คือเรื่องของระบบกระดูก ทำให้สูญเสียเนื้อกระดูกง่ายเกิดกระดูกบางและกระดูกพรุน เนื่องจากฮอร์โมนตัวนี้ทำหน้าที่ช่วยจับแคลเซียมเข้าสู่กระดูกด้วยนั่นเอง

ดังนั้น คุณผู้หญิงทั้งหลายที่อยู่ในช่วงวัยทองจะต้องทานอาหารที่มีแคลเซียมให้มากขึ้นจากปกติทั่วไป เพื่อเสริมสร้างกระดูก และป้องกันภาวะกระดูกพรุนอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต พืชตระกูลถั่ว เต้าหู้ งาดำ ปลาเล็กปลาน้อยผักใบเขียวหลีกเลี่ยงการทาน ชา กาแฟ รวมถึงควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติออกกำลังกายสม่ำเสมอด้วยการเดิน วิ่งเหยาะๆ ว่ายน้ำ ก็จะช่วยให้ระบบกล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง คลายเครียด และนอนหลับดีขึ้น

นอกจากนี้ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อค้นหาโรคที่อาจเกิดจากความเสื่อมถอยของร่างกายและเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของออร์โมน เช่น โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะได้รักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ลดความรุนแรงของโรค เพื่อให้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเองครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ผิวหนังเผยสาเหตุของภาวะผมร่วง

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง เผยสาเหตุของภาวะผมร่วงเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แต่ทุกสาเหตุสามารถรักษาได้ ผู้ป่วยที่มีภาวะผมร่วงแนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการวินิจฉัยรักษาที่ถูกต้องนาย

อ่านบทความนี้

ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเราเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ?

ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข#สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

อ่านบทความนี้

วัคซีน 4 เข็ม สร้างภูมิคุ้มกันทางใจ รับมือโควิด 19

1. วัคซีน DMHTT ความรู้สึกปลอดภัย เข้มมาตรการป้องกันโรค สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง ไม่ไปในสถานที่แออัด2. วัคซีนความหวัง มีมุมมองทางด้านบวก3. วัคซีนไม่ตระหนก การแยกแยะข้อมูลข่าวสาร รับฟังข้อ

อ่านบทความนี้