เตือนภัย พฤติกรรมของมิจฉาชีพ ที่มาในรูปแบบของแอพเงินกู้

19 ก.ค. 2564 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
เตือนภัย พฤติกรรมของมิจฉาชีพ ที่มาในรูปแบบของแอพเงินกู้

ปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่นที่ปล่อยเงินกู้ออนไลน์จำนวนมากมาย ซึ่งบ่อยครั้งมิจฉาชีพก็ใช้แอพเงินกู้เหล่านี้ มาหลอกลวงเรา โดยมักใช้คำโฆษณาที่ชักจูง เช่น อนุมัติไวใน 10-15 นาที ติดแบล็คลิสต์ ก็สามารถกู้ได้ ผ่อนจ่ายได้รายเดือน วงเงินสูง เป็นต้น

โดยกองปราบมีวิธีที่สังเกตแอพเงินกู้ออนไลน์ที่หลอกลวง แบบง่ายๆ ดังนี้ค่ะ

1. สร้างแอพพลิเคชั่นสำหรับเปิดกู้เงินที่ดูน่าเชื่อถือ

2. เรียกเก็บเงินเพื่อเป็นค่าค้ำประกัน หรือค่ามัดจำ

3. ดอกเบี้ยมีอัตราสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด ระยะเวลาชำระไม่เกิน 1 สัปดาห์

4. ใช้คำพูดไม่สุภาพ ด่า ข่มขู่ หากไม่ทำตามเงื่อนไข

5. ได้รับเงินกู้ไม่เต็มจำนวน โดยอ้างว่าหักค่าบริการ ค่าธรรมเนียม โดยหักมากกว่า40%

6. ปล่อยวงเงินกู้สูงกว่าที่ขอ เพื่อเรียกเก็บคืนเงินต้นรวมดอกเบี้ยที่สูง

7. ส่งข้อความไปข่มขู่กับบุคคลในรายชื่อผู้ติดต่อในโทรศัพท์ หรือโพสต์ประจานผู้กู้ผ่านเฟซบุ๊ก เพื่อให้รีบนำเงินมาชำระ

โดยหากท่านต้องการกู้เงินควรเลือกผู้ให้บริการด้านสินเชื่อที่ถูกกฎหมาย ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ที่ เว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
https://www.bot.or.th/app/BotLicenseCheck

ด้วยความปรารถนาดีจากกองปราบปราม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Mobile Banking ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

Mobile Banking เป็นแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ สะดวก รวดเร็ว แต่ในความสะดวกรวดเร็วนั้นก็มีความเสี่ยงในขณะใช้เช่นกัน ซึ่งมีวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยได้ดังนี้ &

อ่านบทความนี้

ซื้อยาออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด

การซื้อยาผ่านช่องทางออนไลน์มากินเอง มีความเสี่ยงที่จะได้ยารักษาที่ไม่ตรงกับอาการ ยาไม่มีคุณภาพ หรือยาปลอม ซึ่งการจะรักษา หรือบรรเทาอาการนั้น ๆ จะต้องเข้าไปปรึกษาอาการเบื้องต้นกับเภสัชกร เพ

อ่านบทความนี้

ของถูก ระวังถูกหลอก

ปัจจุบันนี้มิจฉาชีพมีการออกอุบายในการหลอกลวงขายสินค้าในช่องทางออนไลน์หลากหลายรูปแบบ วิธีการหนึ่งที่กลุ่มมิจฉาชีพนำมาใช้คือการ “หลอกขายสินค้าราคาถูก” โดยจะมีการออกอุบายดังนี้ จะมีการ

อ่านบทความนี้