10 คำแนะนำ ป้องกันการคุกคามทางอีเมล

14 มิ.ย. 2564 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
10 คำแนะนำ ป้องกันการคุกคามทางอีเมล

อีเมลถือเป็นทรัพย์สินสำคัญที่ต้องมีมาตการรักษาความมั่นคงปลอดภัย เพราะถ้าถูกผู้ไม่หวังดีเข้าถึงหรือยึดอีเมลได้ ก็จะใช้แอบอ้างเพื่อทำธุรกรรมต่าง ๆ แทน ซึ่งจะสร้างความเสียหายทั้งเงิน และชื่อเสียงอีกด้วย ดังนั้นควรป้องกันด้วย 10 วิธีการดังนี้

1. ตั้งรหัสผ่าน ที่ไม่ซ้ำ ไม่ง่าย และไม่บอกใคร

2. ตั้งค่าหรือปรับปรุงข้อมูลระบุตัวตนให้ทันสมัย และตรงกับความเป็นจริง เช่น อีเมลสำรองสำหรับกู้คืนบัญชี

3. ตรวจสอบประวัติการใช้งานที่น่าสงสัย รวมถึงช่องทางในการยืนยันตัวตนอย่างสม่ำเสมอ

4. ติดตั้งโปรแกรมแอนติไวรัส อัปเดตระบบปฏิบัติการ เบราว์เชอร์ และซอฟต์แวร์ให้ทันสมัย

5. ไม่ติดตั้งโปรแกรมจากแหล่งที่ไม่รู้จัก ไม่ใช้โปรแกรมเถื่อน

6. ระมัดระวังอีเมลที่มีไฟล์แนบ หรือลิงก์ที่พาไปเว็บไซต์อื่น

7. ยืนยันการเปลี่ยนเลขบัญชีผ่านช่องทางอื่นที่ไม่ใช่อีเมล

8. เปิดการใช้งานยืนยันตัวตนแบบ Multi-Factor Authentication

9. เช็กรายชื่อผู้จะได้รับอีเมล ก่อนกดปุ่ม Reply หรือ Reply All ทุกครั้ง

10. อย่าหลงเชื่ออีเมลที่หลอกให้เปลี่ยนรหัสผ่านหรือให้อัปเดตข้อมูลส่วนบุคคล หากไม่แน่ใจว่าเป็นอีเมลที่มาจากใคร ให้รีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านไอที หรือสอบถามกับผู้ที่ส่งข้อมูลมาในช่องทางอื่น ๆ กลับไปอีกครั้ง เพื่อยืนยันว่าความถูกต้องก่อนดำเนินการใด ๆ

ที่มา : สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
#ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter

บทความที่เกี่ยวข้อง

Mobile Banking ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

Mobile Banking เป็นแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ สะดวก รวดเร็ว แต่ในความสะดวกรวดเร็วนั้นก็มีความเสี่ยงในขณะใช้เช่นกัน ซึ่งมีวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยได้ดังนี้ &

อ่านบทความนี้

ซื้อยาออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด

การซื้อยาผ่านช่องทางออนไลน์มากินเอง มีความเสี่ยงที่จะได้ยารักษาที่ไม่ตรงกับอาการ ยาไม่มีคุณภาพ หรือยาปลอม ซึ่งการจะรักษา หรือบรรเทาอาการนั้น ๆ จะต้องเข้าไปปรึกษาอาการเบื้องต้นกับเภสัชกร เพ

อ่านบทความนี้

ของถูก ระวังถูกหลอก

ปัจจุบันนี้มิจฉาชีพมีการออกอุบายในการหลอกลวงขายสินค้าในช่องทางออนไลน์หลากหลายรูปแบบ วิธีการหนึ่งที่กลุ่มมิจฉาชีพนำมาใช้คือการ “หลอกขายสินค้าราคาถูก” โดยจะมีการออกอุบายดังนี้ จะมีการ

อ่านบทความนี้