ใช้ภาพจาก Google ได้หรือไม่?

12 พ.ค. 2563 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ใช้ภาพจาก Google ได้หรือไม่?

บางทีคนทำคอนเทนต์ออนไลน์ ก็อยากได้ภาพประกอบสวย ๆ ซึ่งหนทางที่ดีที่สุดคือ "ถ่ายเอง" เพราะจะได้ไม่ติดปัญหาด้านลิขสิทธิ์หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายซื้อภาพ แต่บนออนไลน์ก็มีช่างภาพที่มีความสามารถและอยากแบ่งความสามารถของเขาให้ไปใช้ได้ฟรี ๆ อย่างตอนนี้ ใครหาภาพเกี่ยวกับโควิด-19 แค่ search คำว่า "Coronavirus" "Covid19" "Covid" หรือ "Pandemic" ก็อาจจะได้ภาพไปใช้โดยไม่ต้องไปซื้อหา หรือเสี่ยงลงพื้นที่ไปถ่ายเอง

TechRadar สื่อออนไลน์ด้านเทคโนโลยี ได้แนะนำเว็บรวมภาพฟรีแห่งปี 2020 ที่น่าสนใจเอาไว้ ซึ่งแต่ละแห่งก็มีข้อดี ข้อเด่น ที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามก็ได้แนะนำว่า แม้ภาพบนเว็บไซต์ต่อไปนี้ให้ใช้ฟรี ทั้งเพื่องานส่วนตัว งานบรรณาธิการ หรืองานเพื่อการค้า แต่ก็มี 2 ข้อสำคัญที่ผู้นำไปใช้ควรคำนึงถึงคือ

1. ข้อจำกัดในเรื่องการนำภาพถ่ายที่ระบุตัวบุคคล, ผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายการค้า และทรัพย์สินของเอกชน ซึ่งไม่ได้มีแค่บ้านคน แต่ยังรวมถึงแลนด์มาร์กบางแห่งด้วย โดยทาง Getty Images ได้แนะนำการใช้เรื่องทรัพย์สินทางปัญญานี้ไว้สำหรับการตรวจสอบหรือ The Intellectual Property Wiki ที่ คลิก สำหรับ The Intellectual Property Wiki จะแบ่งหมวดภาพเป็น 9 กลุ่ม คือ สัตว์, สถาปัตยกรรม, อาร์ตเวิร์ก, อาคาร, แลนด์มาร์ก, คน, ผลิตภัณฑ์, จัดกลุ่มไม่ได้, ยานพาหนะ โดยแต่ละกลุ่ม จะระบุภาพที่ผู้นำไปใช้ควรพึงระวัง ใช้ทำอะไรได้บ้าง และทำอะไรไม่ได้บ้าง

2. เว็บไซต์หลายแห่งได้ภาพมาจากช่างภาพสมัครเล่น ซึ่งอาจจะไม่ได้ตระหนักถึงกฎระเบียบต่าง ๆ สำหรับภาพถ่ายผู้คน และอาจจะไม่ได้ขอคนที่ถ่ายให้ลงนามในการนำไปใช้ ถ้าไม่แน่ใจว่าใช้ได้หรือไม่ ทางที่ดีที่สุดคือติดต่อสอบถามเว็บไซต์โดยตรง

และต่อไปนี้คือ 3 อันดับแรกที่ทาง TechRadar (มี 6 อันดับ) แนะนำ

1) Unsplash (https://unsplash.com/) โดดเด่นในเรื่องภาพคุณภาพสูงที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง และยังสะดวกค้นหาด้วยแอปบนมือถือ (iOS app) ที่นี่ คนนำไปใช้ไม่จำเป็นต้องให้เครดิตช่างภาพ แต่จะดีมากถ้าให้เครดิตเขา

2) Pixabay (https://pixabay.com/) มีคลังภาพเยอะมาก แล้วยังมีภาพ illustration รวมทั้งวิดีโอ ด้วย และด้วยภาพเยอะ คุณภาพของภาพก็หลากหลายกันไป และการที่ภาพเยอะ ก่อนใช้ก็อาจใช้เครื่องมือตรวจสอบของทางเว็บ (https://pixabay.com/service/faq/) เพื่อไม่ให้การใช้มีปัญหาด้วย

3) Gratisography (https://gratisography.com/) ถ้าเบื่อกับภาพในแบบเดิม ๆ ที่นี่มีภาพสนุก ๆ ในมุมมองแปลก ๆ จากช่างภาพและนักออกแบบผู้สร้างสรรค์ชื่อ "Ryan McGuire" ทางเจ้าของภาพบอกไม่จำเป็นต้องให้เครดิตเขา แต่เขาก็ยินดี ถ้าให้เครดิตด้วย

อีก 3 อันดับที่เหลือคือ Pexels (https://www.pexels.com/), Pikwizard (https://pikwizard.com/) และ Negative Space (https://negativespace.co/) ดูรายละเอียดได้จากที่มา

 

ข้อมูล: techradar

ภาพ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ)

 

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Mobile Banking ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

Mobile Banking เป็นแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ สะดวก รวดเร็ว แต่ในความสะดวกรวดเร็วนั้นก็มีความเสี่ยงในขณะใช้เช่นกัน ซึ่งมีวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยได้ดังนี้ &

อ่านบทความนี้

ซื้อยาออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด

การซื้อยาผ่านช่องทางออนไลน์มากินเอง มีความเสี่ยงที่จะได้ยารักษาที่ไม่ตรงกับอาการ ยาไม่มีคุณภาพ หรือยาปลอม ซึ่งการจะรักษา หรือบรรเทาอาการนั้น ๆ จะต้องเข้าไปปรึกษาอาการเบื้องต้นกับเภสัชกร เพ

อ่านบทความนี้

ของถูก ระวังถูกหลอก

ปัจจุบันนี้มิจฉาชีพมีการออกอุบายในการหลอกลวงขายสินค้าในช่องทางออนไลน์หลากหลายรูปแบบ วิธีการหนึ่งที่กลุ่มมิจฉาชีพนำมาใช้คือการ “หลอกขายสินค้าราคาถูก” โดยจะมีการออกอุบายดังนี้ จะมีการ

อ่านบทความนี้