ศธ.-สธ.จัดเสวนา “เรียน/สอน/WFH/ออนไลน์ อย่างไร ให้สุขภาพดี”

19 ก.ค. 2564 / กระทรวงศึกษาธิการ
ศธ.-สธ.จัดเสวนา “เรียน/สอน/WFH/ออนไลน์ อย่างไร ให้สุขภาพดี”

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 กระทรวงศึกษาธิการ (ศบค.ศธ.) จับมือ กรมสุขภาพจิต และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดเสวนา “เรียน / สอน / WFH / ออนไลน์ อย่างไร ให้สุขภาพดี” เพิ่มความรู้ เพื่อการปฏิบัติที่ดีในระยะยาวให้ทุกท่านในช่วงสถานการณ์ที่ต้อง Online

– รับชม VIDEO งานเสวนาย้อนหลัง
– ภาพงานเสวนา

(14 กรกฎาคม 2564) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ มอบหมายให้นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานเสวนาเรื่อง “เรียน/สอน/WFH/Online อย่างไร ให้สุขภาพดี” ณ พิพิธภัณฑ์การศึกษาไทย อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยแพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต และนายแพทย์สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย ร่วมเสวนาแบบ New Normal โดยจำกัดผู้เข้าร่วมงานอย่างเคร่งครัด รวมทั้งผู้ชม-ฟัง-ถามผ่านออนไลน์ Facebook Live ให้เป็นไปตามข้อบังคับฯ ปฏิบัติตามเกณฑ์ของ ศปก.ศบค. และมีการทำหนังสือขออนุญาตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสำนักอนามัย กรุงเทพฯ ก่อนการจัดงานเสวนา

ปลัด ศธ. กล่าวว่า ในระยะเวลาเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ประชาชนคนไทยได้เรียนรู้และปรับตัวในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 หลายอย่าง โดยส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ถือเป็นภาคเรียนที่ 2 ที่ต้องรับมือและเตรียมการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ แต่การเรียนการสอนจริง ๆ มีอยู่เพียง 2 แบบ คือ การเรียนการสอนระบบปกติในโรงเรียน (ON-SITE) และการเรียนการสอนที่จะต้องใช้ระบบการจัดการศึกษาทางไกล (Distance Learning) โดยเฉพาะ ONLINE และ ON-AIR แต่ประชาชนไม่ได้มีเครื่องมือที่พร้อมจะเรียนระบบออนไลน์ทุกคน มีเพียงร้อยละ 20 ที่มีอุปกรณ์พร้อม

ดังนั้น ครูและผู้ปกครองจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยปรับเปลี่ยนแนวทางจัดการเรียนการสอน อาทิ นำใบงานหรือเอกสารไปให้นักเรียนที่บ้าน (ON-HAND) และผู้ปกครองต้องให้เวลาดูแลบุตรหลานเพิ่มมากขึ้น กระทรวงศึกษาธิการ ครู นักเรียน ผู้ปกครองต้องร่วมมือกันหาวิธีการจัดการเรียนการสอนดีที่สุด เพื่อให้น้อง ๆ นักเรียน สามารถเรียนรู้ได้โดยมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ จึงเป็นที่มาในการเสวนาทางวิชาการในครั้งนี้

ทั้งนี้ ศธ.มีหน่วยงานที่มีสถานศึกษาในสังกัด 4 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สพฐ. ดูแลโรงเรียน 29,600 แห่ง นักเรียนกว่า 65,000 คน 2) สช. ดูแลโรงเรียนเอกชนกว่า 4,100 แห่ง นักเรียนกว่า 2 ล้านคน 3) สอศ. ดูแลนักเรียนนักศึกษาอาชีวะกว่า 900,000 คน 4) สำนักงาน กศน.ดูแลผู้เรียนทุกช่วงอายุกว่า 1 ล้านคน ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ ครูและบุคลากรทางการศึกษาสายการสอน ต้องรับบทบาทสำคัญในการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ

“จากปัญหาหลาย ๆ รูปแบบที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ ภาระหน้าที่ของครูที่มากขึ้น ตลอดจนความพร้อมในการเรียนของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน ศธ.กำลังเร่งหาแนวทางแก้ไขให้ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นแก้ไขตัวชี้วัดในสิ่งที่นักเรียนต้องเรียนรู้จริง ๆ (Must Know) การวัดและประเมินผลก็จะเปลี่ยนแปลงไป โดยมีตัวชี้วัดที่น้อยลง การบ้านลดลง โจทย์ข้อเดียวแต่ครอบคลุมคำตอบหลายวิชา ทำให้คำถามการบ้านจะลดน้อยลง แต่ใช้การอ่านและการสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้น” ปลัด ศธ.กล่าว

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ระบบโรงเรียนกับระบบดูแลนักเรียนในห้องเรียน ในเรื่องสุขภาพจิต มีมาตลอดตั้งแต่ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด 19 โดยร่วมกันพัฒนาเครื่องมือจากฐานข้อมูลเดิม ที่เรียกว่า “ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน” โดยใช้สื่อรูปแบบใหม่ “Hero Program” เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับรู้ว่า จะสามารถประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจได้ แต่ความจริงแล้ว โปรแกรมจะคอยเฝ้าระวังปัญหาพฤติกรรมอารมณ์ของเด็กในระหว่างที่เรียน มีข้อสังเกต 9 ข้อ เช่น ซนเกินไปไหมในเด็กเล็ก, เหม่อลอย, รอคอยไม่ได้, หงุดหงิดง่าย, ท้อแท้, ถูกเพื่อนแกล้ง, ชอบแกล้งเพื่อนไหม เป็นต้น ซึ่งจะมีการบันทึกพฤติกรรมและสามารถเฝ้าระวัง ในขณะที่เด็กส่งสัญญาณความเครียด ทำให้ครูผู้ดูแลสามารถดูข้อมูลในระบบแยกเป็นรายบุคคลได้ และให้ความช่วยเหลือเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน แต่ละกรณี ได้ทันท่วงที

รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ร่วมกันจัดทำแนวปฏิบัติยกระดับความปลอดภัยมั่นใจสุขอนามัยไร้โควิด 19 ระลอกใหม่ในสถานศึกษา และได้มีการดำเนินงานนำร่องกลุ่มโรงเรียนที่มีเรือนพักนอนในสถานศึกษาจำนวน 4 แห่ง ในแต่ละภาค ได้แก่ เชียงใหม่ เพชรบุรี ศรีสะเกษ และกระบี่ ด้วยการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและคัดกรองความเสี่ยงโรคโควิด 19 รวมถึงการกำกับติดตามผลการจัดการเรียนการสอนและการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันโควิด 19 ในสถานศึกษา รายงานผลออนไลน์ ผ่าน MOECOVID / TSC ทุก 1 เดือน

นอกจากนี้ กรมอนามัยยังได้รณรงค์ภายใต้แนวคิด “ตัดความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้มกัน มุ่งมั่นป้องกันโควิด 19 ในสถานศึกษา” เพื่อสร้างความรอบรู้ในการป้องกันโรคโควิด 19 ประกอบด้วย ตัดความเสี่ยง ด้วยหลัก 3 T (Thai Save Thai, Thai Stop Covid, Rapid Test) รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกัน ด้วย 2E1V (Exercise 6 ท่า บริหารปอด, Eating, Vaccine ครู) และมุ่งมั่นป้องกัน สื่อสารความรอบรู้ในการป้องกันโรคโควิด 19 ในสถานศึกษา ตลอดจนประเมินความรอบรู้ในการป้องกันโรคโควิด 19 ของนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาอีกด้วย

 

 

 

 

ขอบคุณที่มา : ศธ.360

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลมหนาวระลอกใหม่มาแน่! 20 - 25 ธ.ค. นี้ ทั่วไทยอุณหภูมิลดลง 2 - 8 องศาฯ

กรมอุตุนิยมวิทยา เผยช่วงวันที่ 20 - 25 ธ.ค. 66 มวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง ขอให้ประชาชนดูแลรักษ

อ่านบทความนี้

ย้ำเตือนประชาชน อย่าหลงกลตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ พบมูลค่าความเสียหายกว่า 50,000 ล้านบาท

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกรัฐบาล ย้ำเตือนประชาชน ตั้งสติ อย่าตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ที่ใช้อุบายหลอกลวง สร้างความน่าเชื่อถือในหลายรูปแบบ แม้รัฐบาลได้เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและตรวจสอบอย่า

อ่านบทความนี้

เชิญมาเที่ยวงาน "เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) 2566" น้ำพระทัยสองพระมิ่งขวัญเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) เปี่ยมล้นพระเมตตาผู้ประสบอุทกภัย

งานเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) 2566 สถานที่ใหม่ เดินทางสะดวกกว่าเดิม เดินทางมาเที่ยวงานสะดวกมาก ทั้งรถสาธารณะ และรถส่วนตัว ที่จอดรถกว้างขวาง ภายในงานติดแอร์ตลอดทั้งงาน ไม่ต้องกลัวร้อน กลัวฝน   งานเริ่มแ

อ่านบทความนี้