กลาก เกลื้อนต่างกันอย่างไร? ใครรู้บ้าง

11 ก.ย. 2562 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กลาก เกลื้อนต่างกันอย่างไร? ใครรู้บ้าง

หลายคนมักเข้าใจว่า "กลาก" "เกลื้อน" คือโรคเดียวกัน แต่ความจริงแล้วเป็นคนละโรคกัน ซึ่งเราสามารถสังเกตความแตกต่างเบื้องต้นได้ง่ายๆ ดังนี้

บริเวณเกิดโรค
          กลาก เชื้อราจะอาศัยอยู่ในเซลล์ผิวหนังชั้นบนๆของเราและทำให้เกิดการอักเสบคัน จึงเกิดในบริเวณผิวหนังได้ทั่วร่างกายไปจนถึงใต้เล็บหรือบริเวณรากผม
          เกลื้อน เชื้อราจะกินน้ำมันบนผิวเราและปล่อยของเสียที่ทำให้ผิวอักเสบออกมา บริเวณที่ผิวมันๆอย่างใบหน้า หนังศีรษะ หน้าอกหลัง และไหล่ จึงมักจะพบเกลื้อนขึ้นอยู่ได้

ลักษณะอาการของโรค
          กลาก มีลักษณะเป็นผื่นแดงรูปวงกลม หรือวงแหวน มีขุยเป็นขอบชัดเจน วงกว้างของผื่นมีขนาดใหญ่เล็กต่างกันมีอาการคัน เกลื้อน มักเป็นผื่นวงกลมหรือวงรีเล็กๆ หลายอัน มีขอบขุยละเอียด สามารถขยายวงกว้างได้ มีอาการคันและเมื่อทุเลาลงจะทิ้งรอยโรคนาน เป็นวงสีน้ำตาล สีขาวหรือสีชมพูแดง แล้วรอยโรคก็จะค่อยๆ จางหายไปเอง

อย่างไรก็ตาม กลาก เกลื้อน ถือเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราเหมือนกัน จึงมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ หากผู้ป่วยละเลยเรื่องความสะอาดของร่างกาย ของใช้ส่วนตัวรวมถึงที่พักอาศัยซึ่งถ้าเป็นแล้วควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง และไม่ควรซื้อยากิน หรือยาทา มารักษาเองเพราะหากรักษาผิดวิธีอาจทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้นกว่าเดิมได้ การป้องกันนอกจากการรักษาความสะอาดบางครั้งก็สามารถติดเชื้อราจากสัตว์เลี้ยงได้ จึงควรสังเกตว่าสัตว์เลี้ยงของเรามีโรคผิวหนังหรือไม่ หากมีก็ควรพาไปรักษา

ที่มา: โรงพยาบาลรามคำแหง

ภาพ: honestdocs

บทความที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ผิวหนังเผยสาเหตุของภาวะผมร่วง

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง เผยสาเหตุของภาวะผมร่วงเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แต่ทุกสาเหตุสามารถรักษาได้ ผู้ป่วยที่มีภาวะผมร่วงแนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการวินิจฉัยรักษาที่ถูกต้องนาย

อ่านบทความนี้

ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเราเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ?

ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข#สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

อ่านบทความนี้

วัคซีน 4 เข็ม สร้างภูมิคุ้มกันทางใจ รับมือโควิด 19

1. วัคซีน DMHTT ความรู้สึกปลอดภัย เข้มมาตรการป้องกันโรค สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง ไม่ไปในสถานที่แออัด2. วัคซีนความหวัง มีมุมมองทางด้านบวก3. วัคซีนไม่ตระหนก การแยกแยะข้อมูลข่าวสาร รับฟังข้อ

อ่านบทความนี้