ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25)

28 มิ.ย. 2564 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25)

ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25) เพื่อแก้ไขและระงับยับยั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา) มีผลตั้งแต่ 28 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป โดยมีเนื้อหาส่วนหนึ่งคือ

ตามที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และมีการขยายเวลาบังคับใช้จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์ในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอยู่ในความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะวิกฤตด้านสาธารณสุข นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้

ข้อ 1 กำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา โดยให้ดำเนินการต่อเนื่องอย่างน้อย 30 วันเพื่อเข้าควบคุมและชะลอการระบาด รวมทั้งการสกัดกั้น การเคลื่อนย้ายเดินทางของกลุ่มเสี่ยงเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ออกเป็นวงกว้างสู่พื้นที่อื่น ให้ประเมินสถานการณ์และความเหมาะสมทุก 15 วัน

ข้อ 2 การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้างเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล พิจารณาคำสั่งปิดสถานที่ก่อสร้าง ดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคาร ก่อสร้าง และปิดสถานที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับคนงาน รวมทั้งให้หยุดงานก่อสร้าง ห้ามการเดินทาง เคลื่อนย้ายแรงงาน อย่างน้อย 30 วัน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการสนับสนุนกำลังจากศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง เข้าตรวจตราและกำหนดเงื่อนไข จำกัดการเดินทางเข้าออกสถานที่พัก ตั้งจุดตรวจและสกัดการเดินทางออกนอกเขตพื้นที่ การสั่งให้ปรับปรุงสุขาภิบาลของสถานที่พัก และตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมโรค จัดทำทะเบียน และแนวปฏิบัติที่ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) ร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด

ข้อ 3 การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานในสถานประกอบการ และโรงงานเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal)

ข้อ 4 มาตรการควบคุมเร่งด่วน เฉพาะกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล กำหนดเงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบ ระเบียบ และมาตรการป้องกันโรค ที่จำเป็นเพิ่มเติมให้เข้มงวดขึ้นโดยสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมที่ให้เปิดดำเนินการได้ ดำเนินการเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วันโดยมีเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

(1) การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ซึ่งรวมถึงร้านที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุมหรือสถานที่ จัดนิทรรศการ โรงแรม ท่าอากาศยาน สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต รถเข็น หาบเร่ แผงลอย ตลาด ตลาดนัด ตลาดน้ำ ตลาดค้าส่ง ตลาดโต้รุ่ง หรือสถานประกอบการอื่น ที่มีลักษณะคล้ายกันและมีการจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้เปิดดำเนินการเฉพาะนำกลับไปบริโภคที่อื่นเท่านั้น

(2) ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดดำเนินการได้ถึงเวลา 21.00 น. งดการให้บริการเพิ่มเติมในพื้นที่โรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ สวนน้ำ เพิ่มระยะห่างระหว่างบุคคลในพื้นที่พักคอย เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหมุนเวียนอากาศ

(3) โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุมหรือสถานที่จัดนิทรรศการ เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติโดยให้งดกิจกรรมจัดการประชุม การสัมมนา และการจัดเลี้ยง

(4) กิจกรรมการรวมกลุ่ม ห้ามจัดกิจกรรมซึ่งมีบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 20 คน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานกักกันโรค

ข้อ 5 มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในเขตชุมชน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ และเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดกวดขัน การดำนินการตามกฎหมายในการเข้าไปตรวจเขตชุมชน ตลาด หรือสถานที่ที่ได้ประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยง มีการตรวจคัดกรองเชิงรุกเพื่อจำกัด เขตพื้นที่ระบาด เมื่อพบการระบาดแบบกลุ่มก้อนให้ผู้ว่าราชการฯ มีคำสั่งปิดเขตชุมชน หรือสถานที่ไว้เป็นการชั่วคราว หรือกำหนดเงื่อนไขเพื่อจำกัดการเคลื่อนย้าย เดินทาง

ข้อ 6 การให้ความช่วยเหลือประชาชน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร หรือจิตอาสา โดยการสนับสนุนจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือบุคคลที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ หรือบุคคลที่ควรได้รับความช่วยเหลือตามความเหมาะสม

ข้อ 7 กำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมและตรวจคัดกรองการเดินทาง ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่โดยการสนับสนุนจากศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ หรือจุดสกัด เพื่อคัดกรองการเดินทางตามแนวทางที่ ศปก.ศบค. กำหนด เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน โดยกำหนดรายละเอียดแยกตามพื้นที่ ดังนี้

(1) เส้นทางคมนาคมเข้าออกจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา ให้ตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ หรือจุดสกัดเพื่อตรวจคัดกรอง การเดินทาง ให้ดำเนินการอย่างเข้มงวด บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางออกนอกพื้นที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรแสดงตนอื่น ๆ ควบคู่กับเอกสารรับรองความจำเป็นที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือเจ้าหน้าที่ฝายปกครองในพื้นที่ เว้นแต่เป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้น ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กระทรวงมหาดไทยกำหนด

(2) เส้นทางคมนาคมเข้ำออกกรุงเทพมหานครและจังหวัดนครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ให้ตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ หรือจุดสกัดเพื่อควบคุมการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานเพื่อทำงานข้ามเขตจังหวัด โดยให้ผ่านเข้าออกได้เฉพาะแรงงานที่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดต้นทางกับปลายทาง

(3) เส้นทางคมนาคมเข้าออกจังหวัดอื่น ๆ ให้ดำเนินการอย่างเข้มงวด ในกรณีที่พบผู้เดินทางมาจากจังหวัดที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้ดำเนินมาตรการควบคุม และป้องกันโรคโดยแยกกัก หรือกักกันในพื้นที่กำหนด

ข้อ 8 การปราบปรามผู้กระทำผิดที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการแพร่โรค ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายความมั่นคง โดยการสนับสนุนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงกลาโหม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้มงวดตรวจตรา ปราบปรามมิให้มีการลักลอบหรือรวมกลุ่มมั่วสุมกระทำการที่ผิดกฎหมาย

ข้อ 9 มาตรการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง เพื่อลดการเดินทางและการติดต่อสัมผัสระหว่างบุคคล โดยเฉพาะหน่วยงานหรือสถานประกอบการในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

ข้อ 10 การงดจัดกิจกรรมทางสังคม ที่มีการรวมกลุ่ม ในลักษณะการสังสรรค์ จัดเลี้ยง หรืองานรื่นเริง ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพื่อลดการติดต่อสัมผัสกันระหว่างบุคคล เป็นเวลาอย่างน้อย 30 วัน

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

อ่านประกาศฉบับเต็ม: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/140/T_0001.PDF?fbclid

บทความที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ผิวหนังเผยสาเหตุของภาวะผมร่วง

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง เผยสาเหตุของภาวะผมร่วงเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แต่ทุกสาเหตุสามารถรักษาได้ ผู้ป่วยที่มีภาวะผมร่วงแนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการวินิจฉัยรักษาที่ถูกต้องนาย

อ่านบทความนี้

ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเราเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ?

ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข#สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

อ่านบทความนี้

วัคซีน 4 เข็ม สร้างภูมิคุ้มกันทางใจ รับมือโควิด 19

1. วัคซีน DMHTT ความรู้สึกปลอดภัย เข้มมาตรการป้องกันโรค สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง ไม่ไปในสถานที่แออัด2. วัคซีนความหวัง มีมุมมองทางด้านบวก3. วัคซีนไม่ตระหนก การแยกแยะข้อมูลข่าวสาร รับฟังข้อ

อ่านบทความนี้