กระทบสุขภาพ! ปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 ค่าเกินมาตรฐาน 37 จุด

18 ม.ค. 2562 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทบสุขภาพ! ปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 ค่าเกินมาตรฐาน 37 จุด

กรมควบคุมมลพิษ เผยสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 พื้นที่ กทม.-ปริมณฑล ระดับบนมวลอากาศเย็นกว่าสิ่งแวดล้อมจะกดอากาศที่อุ่นกว่าไว้ ทำให้อากาศไม่สามารถลอยตัวขึ้น คุณภาพอากาศโดยรวมยังคงอยู่ในระดับ “เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ” เกินมาตรฐาน 37 พื้นที่ แนะผู้ป่วย คนชรา เด็ก ควรสวมหน้ากากอนามัย N95 

วันนี้ (15 ม.ค.) กรมควบคุมมลพิษ รายงานสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 จากสภาพอุตุนิยมวิทยาที่อากาศในช่วงเช้า มีการลอยของอากาศในแนวตั้งค่อนข้างดีในช่วงระดับต่ำและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นตามความสูง (Inversion) ระดับล่าง ระดับ 1 กิโลเมตร อากาศลอยขึ้นไปได้ดี ระดับ Level condensation level (LCL) อยู่ที่ระดับความสูงราวๆ 274 เมตร ระดับ LFC 1,257 เมตร ขณะเดียวกัน ลักษณะของอากาศระดับบนมวลอากาศเย็นกว่าสิ่งแวดล้อมจะกดอากาศที่อุ่นกว่าไว้ ทำให้อากาศไม่สามารถลอยตัวขึ้นไประดับชั้นบรรยากาศระดับบนๆ ลมค่อนข้างสงบในช่วงเช้า ดังนั้น จึงเหมาะในกระบวนการเกิดหมอกขึ้น ส่งผลทำให้สถานการณ์ PM 2.5 พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล คุณภาพอากาศโดยรวมยังคงอยู่ในระดับ “เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ” 

โดย “พื้นที่ริมถนน” โดยสถานีวัดคุณภาพอากาศแสดงผลค่าฝุ่นละออง PM 2.5 โดยรวมอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ มีค่าเกินมาตรฐาน (50 มคก./ลบ.ม.) อยู่ 22 พื้นที่ มีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลงจากเมื่อวานมากนัก

“พื้นที่ทั่วไป” (ห่างจากริมถนนสายหลัก) โดยรวมอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ มีค่าเกินมาตรฐาน (50 มคก./ลบ.ม.) อยู่ 15 พื้นที่ มีแนวโน้มลดลง

คาดการณ์ว่าคุณภาพอากาศในวันพรุ่งนี้จะอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ และจากการคากการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา พื้นที่ กทม. และปริมณฑล มีโอกาสมีฝน 10% ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในด้วย

คพ.ได้ประสานเพื่อบูรณาการการดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM 2.5 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง กทม. บก.จร. ขนส่ง กองทัพฯ กรมอุตุนิยมวิทยา ผวจ.ปริมณฑล ทั้ง 5 จังหวัดอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

1. เพิ่มความถี่ในการกวาดล้างทำความสะอาดถนน และฉีดพ่นน้ำในอากาศตั้งแต่เวลา 18.00-06.00 น.ทุกวัน จนกว่าฝุ่นละอองจะลดลง 2. แจกหน้ากากอนามัย N95 ในพื้นที่งานอุ่นไอรัก สวนลุมพินี บางคอแหลม จตุจักร บางกะปิ บางขุนเทียน โดยจะให้ความสำคัญกับกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วย คนชรา เด็ก และผู้ปฏิบัติงานใกล้ชิดกับแหล่งกำเนิด 3. เข้มงวดตรวจจับรถควันดำและบังคับใช้กฎหมายอย่างเค่งครัด ทั้งรถยนต์ขนาดเล็ก รถยนต์ขนาดใหญ่ รวมทั้งรถโดยสารสาธารณะ 4.จัดตั้งคณะกรรมการร่วมในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้า โดยเร่งคืนพื้นผิวการจราจร ณ จุดที่ดำเนินการเสร็จแล้ว สำหรับจุดที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จะปรับพื้นที่ผิวถนนให้กว้างขึ้น โดยบีบหรือลดพื้นที่การก่อสร้างบนพื้นผิวการจราจรให้แคบลง

5. จัดตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากการก่อสร้างอาคารสูงและระบบสาธารณูปโภคโดยจะดำเนินการติดตามตรวจสอบและสำรวจ ให้ผู้ประกอบการดำเนินการตามมาตรการลดฝุ่นละอองให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ 6. การแก้ไขปัญหาการจราจรที่ติดขัด โดยอำนวยความสะดวกในการจราจรให้ดีขึ้น รวมถึงการเข้มงวดมิให้มีการจอดรถริมถนนสายหลัก 7. เข้มงวดมิให้มีการเผาขยะและการเผาในที่โล่ง 8. รณรงค์ไม่ให้ติดเครื่องยนต์ขณะจอดในสถานที่ราชการ โรงพยาบาล โรงเรียน และพื้นที่ที่มีมลพิษสูง 9. การทำฝนเทียม กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้มีการตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็ว จ.ระยอง เพื่อเตรียมทำฝนเทียมในระหว่าง 15-19 มกราคม 2562

บทความที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ผิวหนังเผยสาเหตุของภาวะผมร่วง

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง เผยสาเหตุของภาวะผมร่วงเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แต่ทุกสาเหตุสามารถรักษาได้ ผู้ป่วยที่มีภาวะผมร่วงแนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการวินิจฉัยรักษาที่ถูกต้องนาย

อ่านบทความนี้

ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเราเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ?

ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข#สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

อ่านบทความนี้

วัคซีน 4 เข็ม สร้างภูมิคุ้มกันทางใจ รับมือโควิด 19

1. วัคซีน DMHTT ความรู้สึกปลอดภัย เข้มมาตรการป้องกันโรค สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง ไม่ไปในสถานที่แออัด2. วัคซีนความหวัง มีมุมมองทางด้านบวก3. วัคซีนไม่ตระหนก การแยกแยะข้อมูลข่าวสาร รับฟังข้อ

อ่านบทความนี้