อนาคต เกษตร ในไทยแลนด์ 4.0

21 พ.ย. 2561 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
อนาคต เกษตร ในไทยแลนด์ 4.0

ในนโยบาย Thailand 4.0 รัฐบาลพูดถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาขับเคลื่อนประเทศ
ซึ่งเราได้เริ่มเห็นกันบ้างแล้วจาก ภาคการเงิน ภาคการขนส่ง หรือ SMEs

แต่สำหรับภาคเกษตร นั้น หลายคนอาจจะยังไม่เห็นภาพว่า ภาคเกษตรจะยืนอยู่ตรงไหน เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ Innovation Hubs เราไปดูพร้อมๆ กัน   

     ประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 321 ล้านไร่ หรือประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีพื้นที่สำหรับการเกษตรประมาณ 43% (138 ล้านไร่) และรายได้ของภาคเกษตรคิดเป็น 10% ของ GDP
จริงๆ แล้ว เวลาพูดถึงภาคเกษตรกรรม หรือ Agriculture นั้นรวมไปถึงการประมง การเลี้ยงสัตว์ และการป่าไม้ด้วย แต่ 68%นั้นอยู่ที่การปลูกพืชและผลไม้

โดยถึงแม้ประเทศไทยจะผลิตข้าวเป็นอันดับ 6 ของโลก (เวียดนามอันดับ 5) แต่ไทยส่งออกข้าวเยอะเป็นอันดับ 2 ของโลก ด้วยมูลค่า 4,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็น 21.9% ของมูลค่าการส่งออกข้าวทั่วโลก (อินเดีย อันดับ 1 26.7%) แปลว่าข้าวไทยยังคงมีมูลค่าสูงเมื่อเทียบกับข้าวของประเทศอื่นๆ

ส่วนสินค้าเกษตรอื่นๆ ก็ได้แก่ ยาง มันสำปะหลัง อ้อย น้ำมันปาล์ม ผลไม้ตามฤดูกาล เป็นต้น
จากข้อมูลก็จะเห็นว่า เวลาพูดถึง Farmer คนไทยก็จะนึกถึง ชาวนาที่ปลูกข้าวก่อน เพราะเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุด

เกษตรกร 1.0 แบบดั้งเดิม
เกษตรกรแบบดั้งเดิม ส่วนใหญ่จะยังปลูกข้าวอยู่ หรืออาจจะมีการปลูกอย่างอื่นผสมผสาน มีพื้นที่เพาะปลูกน้อย เน้นใช้แรงงานคน และยังต้องดิ้นรนกับปัญหาสภาพอากาศ น้ำ และราคาพืชผลอยู่

เกษตรกร 2.0 ใช้เครื่องจักรเบา
เป็นเกษตรกรที่เริ่มตั้งตัวได้ มีการนำเครื่องจักรเบามาใช้แทนแรงงาน รวมถึงระบบน้ำ ระบบจัดเก็บที่ไม่ได้ใช้เงินลงทุนเยอะ เกษตรกรเหล่านี้ถือเป็นเกษตรกรที่มีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย จากปลูกข้าว ก็เป็นปลูกข้าวอินทรีย์ เป็นต้น

เกษตรกร 3.0 : ใช้เครื่องจักรหนัก
เครื่องจักรที่นำมาใช้มีราคาสูง แต่ได้กำลังการผลิตที่มาก จึงเหมาะกับเกษตรกรที่เพาะปลูกเพื่อส่งให้บริษัทส่งออกอีกที หรือมีบริษัทเป็นของตัวเอง และก็ลงทุนกับระบบอื่นๆ ในพื้นที่เช่นเดียวกัน

เกษตรกร 4.0 : Smart Farming
ใช้นวัตกรรมในการเพาะปลูก การจัดการ รวมไปถึงการตลาด รวมถึงร่วมมือกับสถาบันการศึกษา งานวิจัย เพื่อควบคุมการผลิตให้ได้ตามที่ต้องการ

 

จริงๆ แล้วเกษตรกรระหว่าง 2.0 ไปถึง 4.0 ยังไม่สามารถแบ่งได้ชัดเจน เพราะการเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูกนั้นต้องใช้เวลา แต่ส่วนที่น่าเป็นห่วงก็คือ เกษตรกร 1.0 ที่ยังเน้นใช้แรงงานเป็นหลัก หากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่าง น้ำไม่พอ ราคาสินค้าเกษตรตก กลุ่มนี้ก็จะได้รับผลกระทบทันที

ฉะนั้นนี่คือ 5 เรื่อง ที่เกษตรกร 1.0 ต้องเปลี่ยนสู่ 4.0

1.เปลี่ยนจากการเฝ้ารอโชคชะตา เป็นการใช้ข้อมูล และรับมือกับสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจ

2.เปลี่ยนจากการใช้แต่แรงงานคน เป็นใช้เทคโนโลยีที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ และใช้พลังงานคนไปกับการคิด การวางแผน การทำตลาด

3.เปลี่ยนจากการเน้นปริมาณ ไปสู่เน้นมูลค่า จะมีประโยชน์อะไรถ้าปลูกได้ปริมาณเยอะขึ้น แต่รายได้ไม่ได้มากขึ้นตาม ยุคนี้เป็รยุคที่ผู้บริโภคเลือกสินค้าตามคุณภาพมากขึ้น

4.เกษตรกรที่ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าได้ เพราะมุ่งแต่การเพาะปลูกเพียงอย่างเดียว เก็บเกี่ยวได้แล้วก็จบ แต่ใน Supply Chain สินค้าเกษตรมีหลายขั้นตอนมากๆ ต้องคิดแบบองค์รวมเพื่อเพิ่มมูลค่า

5.แน่นอน เงินลงทุนที่ใช้นั้นสูงกว่าการลงทุนซื้อยาฆ่าแมลงแน่ๆ แต่ถ้าไม่ลงทุนก็ต้องอยู่แบบเดิมต่อไป ฉะนั้นเงินทุนเป็นสิ่งจำเป็นแน่นอน สำหรับการพัฒนา

 

ในแผนการของ Thailand 4.0 นั้น ภาคเกษตรก็สำคัญไม่แพ้ภาคอื่นๆ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ในภาคนี้ ฉะนั้นถ้าสามารถนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ได้จริง ไม่ใช่แต่เป็นการเพิ่มรายได้ แต่เป็นการเพิ่มความสามารถของคนไปในตัว

ปัจจุบันรัฐบาล องค์กรขนาดใหญ่ และภาคการศึกษา เข้ามาลงทุนและช่วยเกษตรกรไทยอย่างมาก และคาดว่าเราจะเห็นเป็นรูปเป็นร่างในอีกไม่ช้า

อย่าเข้าใจผิดคิดว่า การนำนวัตกรรมมาใช้ จะเป็นการละทิ้งหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพราะการนำนวัตกรรมมาใช้ไม่จำเป็นต้องลงทุนครั้งใหญ่ภายในครั้งเดียว แต่เป็นการค่อยๆ เปลี่ยน และสามารถนำความรู้ และงานวิจัยเข้ามาใช้ควบคู่ได้

 

ที่มา : AEC+ Business Advisory

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้