มันมาอีกแล้วว!! เตือนเกษตรกรปลูกพริก เตรียมรับมือ‘แมลงวันทอง’ พริกเน่าร่วงหล่น-แนะรับมือก่อนเสียหาย

28 ม.ค. 2565 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
มันมาอีกแล้วว!! เตือนเกษตรกรปลูกพริก เตรียมรับมือ‘แมลงวันทอง’ พริกเน่าร่วงหล่น-แนะรับมือก่อนเสียหาย

ในช่วงนี้ที่เกษตรกรหลาย ๆ พื้นที่ได้ทำการปลูกพืชฤดูแล้ง เพื่อสร้างรายเสริมหลังจากการทำนาอีกทั้งยังเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดินที่ว่างเปล่า โดยมีการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยหลายชนิด และหนึ่งในนั้นที่เกษตรกรนิยมปลูกมาก คือ พริก ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเกษตรกรนิยมปลูกและตลาดเองก็มีความต้องการ

จากสภาพอากาศที่ร้อน มีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อากาศเย็นในช่วงเช้า และในช่วงกลางวันมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น ในระยะนี้จึงขอเตือนเกษตรกรผู้ปลูกพริกให้เฝ้าระวังการเข้าทำลายของแมลงวันทองพริก ที่จะมีหนอนเข้ากัดกินขอนไชอยู่ภายในผล ทำให้ผลพริกเน่าร่วงหล่น และเมื่อหนอนโตเต็มที่ก็จะเจาะออกมาเข้าดักแด้ในดินทำให้ยากต่อการกำจัด

นางสาวกัญณฐา อภินนท์ธนา เกษตรจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า สำหรับการเข้าทำลายของแมลงวันพริก เมื่อเข้าทำลายแล้วจะมีลักษณะอาการภายนอกของพริกที่ถูกแมลงวันทองพริกเข้าทำลาย จะคล้ายกับโรคกุ้งแห้ง หรือโรคแอนแทร็กซ์โนสในพริก แต่จะมีความแตกต่างกันตรงโรคกุ้งแห้งเกิดจากเชื้อราจะไม่มีหนอนอยู่ภายในพริก แต่พริกที่ถูกแมลงวันทองพริกทำลายจะมีหนอนอยู่ภายใน หรือมีรูของหนอนที่เจาะออกมาเพื่อเป็นดักแด้ก่อนจะกลายเป็นแมลงวันทองพริกตัวเต็มวัย

ดังนั้น ในระยะนี้เกษตรกรเจ้าของสวนพริก ควรหมั่นสำรวจและทำความสะอาดแปลงปลูกพริกอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการเก็บผลพริกที่ร่วงหล่นนำมาเผาทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันทองพริก จากนั้นให้พ่นด้วย สารน้ำมันปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ 83.9% อีซี อัตรา 60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน โดยเน้นที่ผลพริก ในกรณีพื้นที่ที่พบการระบาดเป็นประจำ ให้พ่นครั้งแรกเมื่อต้นพริกเริ่มติดผล และหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 5-7 วัน และเมื่อต้นพริกเริ่มติดผล ให้เกษตรกรพ่นด้วยเหยื่อพิษโปรตีน เนื่องจากแมลงวันทองพริกมีหน้าตาคล้ายกับแมลงวันทองผลไม้มาก แต่เป็นคนละชนิดกัน

การใช้กับดักโดยสารล่อแมลง อย่าง เมทธิล ยูจินอล จะไม่สามารถหยุดยั้งการระบาดและเข้าทำลายของแมลงวันทองพริกได้ ฉีดพ่นเหยื่อพิษโปรตีนเป็นจุดทุกต้นรอบแปลงปลูก และพ่นเป็นแถวต้นละจุด ห่างกันแถวละ 5 เมตร โดยพ่นทุกสัปดาห์ หรือให้เทเหยื่อพิษโปรตีนใส่ไว้ในกับดักดัดแปลง เช่น ขวดพลาสติกเจาะช่องให้แมลงสามารถบินเข้ากับดักได้ และติดตั้งกับดักสูงจากพื้นดิน 15 ซม. รอบแปลงปลูก จากนั้นให้ฉีดพ่นด้วยสารฆ่าแมลง มาลาไทออน 83% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

หากเกษตรกรพบการเข้าทำลาย หรือมีข้อสงสัยควรรีบแจ้งข้อมูลการระบาด หรือมีข้อสงสัยสามารถเข้าไปติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน

ขอบคุณข้อมูล
https://www.77kaoded.com/news/tawee/2225967

☎️ ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999

🚨 ช่องทำเกษตรอินทรีย์ 👉 https://bit.ly/เกษตรเพียวเพียว

 

ที่มา : เกษตรนิวส์ ข่าวเกษตร

บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้