พืชเศรษฐกิจใหม่⁉️ เปิดตัวเลขส่งออกหมากไทย64 โต216% เป็นประวัติการณ์ เผยอุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่ารอคิวเพียบ

18 มิ.ย. 2564 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
พืชเศรษฐกิจใหม่⁉️ เปิดตัวเลขส่งออกหมากไทย64 โต216% เป็นประวัติการณ์ เผยอุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่ารอคิวเพียบ

คนไทยไม่ได้กินหมาก แต่ตัวเลข 216% คืออัตราการเติบโตของการส่งออก “หมาก” ของประเทศไทย โดยในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2564 เมื่อเทียบกับยอดการส่งออกในช่วงเดียวกันของปี 2563 ยอดส่งออกหมากเพียง 4 เดือนในปี 2564 คิดเป็นมูลค่าถึง 1,835 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงระยะเวลา 4 เดือน

'หมาก' เป็นไม้ยืนต้นที่จัดอยู่ในวงศ์ของปาล์ม มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมปลูกมากที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เมียนมา ไปจนถึงบังกลาเทศ อินเดีย และศรีลังกา ผลหมากมีสารจำพวกแอลคาลอยด์ ชื่อว่า สาร Arecoline ซึ่งมีคุณสมบัติเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และเพิ่มแรงดันเลือด ผู้ที่เคี้ยวหมากจึงรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังคงมีการปลูกต้นหมากอยู่ในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย หมากจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีแสงแดดจัด มีปริมาณฝนพอเหมาะ จึงนิยมปลูกมากในแถบภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช และระนอง ซึ่งเป็น 3 จังหวัดที่มีการปลูกต้นหมากมากที่สุด

มีการนำเข้าหมากจากไทยเพิ่มเติม ซึ่งหมากที่นำเข้าจากไทยส่วนใหญ่ก็จะเป็นหมากแห้ง ที่มาจากจังหวัดที่อยู่ติดกับเขตตะนาวศรี เช่น ชุมพรและระนอง แต่นับตั้งแต่เมียนมามีการระบาดของโควิด 19 ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคม ในปี 2563 ลากยาวมาจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และถูกซ้ำเติมด้วยเหตุการณ์รัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564

ความวุ่นวายจากทั้งโรคระบาดและการเมือง ส่งผลให้แรงงานประสบปัญหาทั้งการเก็บเกี่ยวหมากและการขนส่ง ในขณะที่ความต้องการยังคงเดิม ท้ายที่สุดก็จำเป็นต้องนำเข้าหมากจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งถ้าหากสถานการณ์ยังคงยืดเยื้อต่อไป ก็มีแนวโน้มว่า ปี 2564 จะเป็นปีที่ประเทศไทย มียอดการส่งออกหมากสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ถึงแม้จะเป็นโอกาสสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกหมาก แต่อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก็ดูเหมือนจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น หากผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจค้าหมาก ทั้งเกษตรกร พ่อค้า ไปจนถึงภาครัฐ ต้องการพัฒนา “หมาก” ให้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจ จะต้องมีการเร่งศึกษา พัฒนา และวางแผนการตลาดอย่างจริงจัง

นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่จะต่อยอดมูลค่าของหมากในอนาคตได้ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมฟอกหนัง ย้อมสี หรืออุตสาหกรรมยาสมุนไพร ทั้งของคนและสัตว์ หากมีการวิจัยและต่อยอด รวมถึงการควบคุมคุณภาพของผลผลิต ประเมินความเสี่ยง และวางแผนการตลาดอย่างเป็นระบบ ก็ไม่แน่ว่า “หมาก” ที่คนไทยเลิกเคี้ยวไปเป็นเวลาเกือบ 80 ปีแล้ว อาจกลับมาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ก็เป็นได้

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.longtunman.com/30138

ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-999
ช่องทำเกษตรอินทรีย์  https://bit.ly/เกษตรเพียวเพียว


ที่มา : เพจ เกษตรนิวส์ ข่าวเกษตร

บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้