รมว.เกษตรฯ ดันทุเรียนไทย บุกตลาดจีนสำเร็จ

16 มิ.ย. 2564 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
รมว.เกษตรฯ ดันทุเรียนไทย บุกตลาดจีนสำเร็จ

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ไทยมีมูลค่าการส่งออกผลไม้และผลิตภัณฑ์มากกว่า 1 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด โดยอันดับหนึ่งคือ ทุเรียน ลำไย และมังคุด ประเทศที่นำเข้าผลไม้จากไทยมากที่สุด คือ จีน ฮ่องกง และเวียดนาม สำหรับใน ปี 2564 (มกราคม – เมษายน) มีปริมาณการส่งออกดังนี้

1⃣ ทุเรียน มีปริมาณการส่งออก ปริมาณ 213,328 ตัน มูลค่า 28,615 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นทุเรียนสด ร้อยละ 95 ตลาดหลักที่สำคัญ ได้แก่ จีน ฮ่องกง และเวียดนาม
2⃣ ลำไย มีปริมาณการส่งออก 209,388 ตัน มูลค่า 8,043 ล้านบาท การส่งออกลำไยและผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกลำไยสด กว่าร้อยละ 70 รองลงมา คือ ลำไยอบแห้ง ร้อยละ 25 ตลาดหลักที่สำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย จีน ยังคงมีความต้องการลำไยสดและลำไยอบแห้ง อย่างต่อเนื่อง
3⃣ มังคุด มีปริมาณการส่งออก 2,293 ตัน มูลค่า 189 ล้านบาท โดยการส่งออกมังคุดและผลิตภัณฑ์ เป็นการส่งออกมังคุดสดเกือบทั้งหมด ตลาดหลัก ได้แก่ จีน เวียดนาม และฮ่องกง

ด้านนายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) และโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า เส้นทางการส่งออกไปยังจีน มีทั้ง

-ทางเรือจากท่าเรือแหลมฉบัง
-ทางบก ได้แก่ เส้นทาง R9 จาก จ.มุกดาหาร ผ่านดานัง เข้าพักที่ฮานอย แล้วสู่ปักกิ่ง เส้นทาง R3A จาก อ.เชียงของ จ.เชียงราย ผ่าน สปป.ลาว สู่ทางใต้ของจีนผ่านเมืองสิบสองปันนา คุนหมิง เส้นทาง R 12 จาก จ.นครพนม -ด่านท่าแขก แขวงคำม่วน สปป.ลาว - จังหวัด Quang Binh จังหวัด Lang Son ของเวียดนามเข้าสู่จีน โดยผ่านด่านผิงเสียง มณฑลกว่างซี)
-ทางอากาศ (เช่าเหมาลำมารับทุเรียน)

จีนเช่าเหมาเครื่องบินมารับทุเรียนไทย 20 ตัน เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2564 จากการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์แบบ Pre-Order ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ได้มีการจำหน่ายทุเรียนผ่านระบบสั่งซื้อล่วงหน้า (Pre-Order platform) กับมณฑลส่านซีในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ด้วยแพลตฟอร์มใหม่บนความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ บริษัทเอกชน และสหกรณ์ผลไม้ แต่การจัดส่งโดยเครื่องบินก็มีราคาขนส่งสูง หากมีช่องทางการขนส่งในราคาที่ต่ำกว่า ก็จะเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคได้มากขึ้น

ที่มา : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้