ชป. ระดมรับมือฤดูฝนปี 64 ย้ำทุกโครงการฯ บริหารน้ำให้สอดคล้อง ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

03 พ.ค. 2564 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ชป. ระดมรับมือฤดูฝนปี 64 ย้ำทุกโครงการฯ บริหารน้ำให้สอดคล้อง ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยประชาชน ได้สั่งการไปยังกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) นำโดย
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ กอนช. กำชับให้ทุกหน่วยงานวางมาตรการเตรียมพร้อมรับมือฤดูฝนปี 2564 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนให้มากที่สุดนั้น

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน (ชป.) เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับคณะอนุกรรมการติดตาม และวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ว่า ได้สั่งการไปยังโครงการชลประทานทั่วประเทศ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยซ้ำซาก ให้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามวิเคราะห์แนวโน้มสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด รวมทั้งบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์เก็บกัก (RULE CURVE) โดยพิจารณาปรับลดการระบายให้เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์แต่ละช่วงเวลา พร้อมใช้อาคารชลประทานจัดการจราจรน้ำ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เน้นให้โครงการชลประทานในพื้นที่ประสานหน่วยงานระดับจังหวัดประชาสัมพันธ์ถึงสถานการณ์น้ำ การแจ้งเตือนต่างๆ ไปยังประชาชน และให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่มีส่วนร่วมกับประชาชน เพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดกับประชาชนให้มากที่สุด พร้อม ย้ำให้ทุกโครงการฯ เร่งกำจัดวัชพืช สิ่งกีดขวางทางน้ำ ขุดลอกคลองและแก้มลิง ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน ตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ และกำชับให้ทุกโครงการฯ เห็นถึงความสำคัญเรื่องการกำจัดวัชพืช ให้สำนักเครื่องจักรกลระดมเครื่องจักรกล กว่า 5,800 หน่วย จากศูนย์บริหารเครื่องจักรกลแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศมาสนับสนุนให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำช่วงฤดูฝน และสนับสนุนเพื่อการผลิตน้ำประปาให้กับประชาชน ทั้งช่วยระบายน้ำเพื่อผลักดันน้ำเค็มที่กำลังรุกขึ้นสูงในขณะนี้ด้วย

ด้าน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน (ชป.) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (26 เม.ย.64) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 36,487 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่างรวมกัน มีน้ำใช้การได้ประมาณ 12,694 ล้าน ลบ.ม. ขณะนี้ทั้งประเทศใช้น้ำไปแล้ว 16,390 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 87 ของแผน เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 8,975 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ รวมกัน มีน้ำใช้ได้ประมาณ 2,279 ล้าน ลบ.ม. ถึงขณะนี้ใช้น้ำไปแล้ว 4,801 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 96 ของแผนฯ ทั้งนี้ เนื่องจากอิทธิพลของพายุฤดูร้อนช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้มีปริมาณน้ำสะสมในอ่างเก็บน้ำและแม่น้ำสายหลักเพิ่มมากขึ้น ทำให้สถานการณ์ภัยแล้งในหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลาย นับได้ว่าภาพรวมการบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูแล้งปี 63/64 เป็นไปตามแผนที่วางไว้และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนในพื้นที่ลุ่มต่ำได้เตรียมความพร้อมบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูฝนปี 64 ด้วยการวางแผนเพาะปลูกพืชฤดูฝน บริหารจัดการน้ำโดยใช้น้ำท่าที่มีอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมปรับปฏิทินเพาะปลูกในพื้นที่ทุ่งบางระกำ 265,000 ไร่ เป็นพื้นที่หน่วงน้ำ ในลุ่มน้ำยม ที่ตัดยอดน้ำหลากจากทางตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ประมาณ 400 ล้าน ลบ.ม.

อย่างไรก็ตาม หากหน่วยงาน หรือประชาชนท่านใดต้องการความช่วยเหลือ ร้องขอไปได้ที่โครงการชลประทานทุกแห่ง
หรือ โทรสายด่วนกรมชลประทาน 1460 ได้ตลอดเวลา



ที่มา : https://kaset1009.com/th

บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้