ครม. เคาะร่วม 3 พันล้าน ประกันภัยข้าวนาปี ปีผลิต 64 คุ้มครองเสี่ยง 7 ภัยพิบัติ พื้นที่ 46 ล้านไร่

31 มี.ค. 2564 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ครม. เคาะร่วม 3 พันล้าน ประกันภัยข้าวนาปี ปีผลิต 64 คุ้มครองเสี่ยง 7 ภัยพิบัติ พื้นที่ 46 ล้านไร่

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบโครงการประกันภัยข้าวนาปี ฤดูการผลิต 2564 พื้นที่ประกันภัย รวม 46 ล้านไร่ วงเงิน 2,936 ล้านบาท เพื่อดูแลความเสี่ยงด้านภัยพิบัติผ่านระบบการประกันภัย โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทดลองจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันแทนรัฐบาลและเบิกเงินชดเชยตามจำนวนที่จ่ายจริง โครงการปีการผลิต 2564 เป็นโครงการต่อเนื่องปีที่ 10 ส่วนใหญ่มีลักษณะเดียวกันกับปี 2563 โดยปรับอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. ลดลง 1 บาท (จาก 97 บาท/ไร่ เหลือ 96 บาท/ไร่) และปรับอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ซื้อประกันภัยเพิ่มและอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่ำ ลดลง 3 บาท (จาก 58 บาท/ไร่เหลือ 55 บาท/ไร่)

โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีผลิต 2564 มีพื้นที่เป้าหมายประกันภัย รวม 46 ล้านไร่ มีอัตราค่าเบี้ยประกันภัย ดังนี้

1. ค่าเบี้ยประกันภัยพื้นฐาน Tier 1 กำหนดตามความเสี่ยงจริงของเกษตรกร รวม 45 ล้านไร่ แบ่งเป็น

- ลูกค้า ธ.ก.ส. ทุกราย ค่าเบี้ยประกันภัย 96 บาทต่อไร่ (รวม 28 ล้านไร่) โดยรัฐบาลเป็นผู้อุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้ 58 บาท/ไร่ และ ธกส. อุดหนนุนให้ 38 บาท/ไร่ (ยังไม่รวมค่าอาการแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม)

- เกษตรกรทั่วไป และลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. ที่ซื้อเพิ่ม ค่าเบี้ยประกันภัยในพื้นที่เสี่ยงต่ำ 55 บาท/ไร่ พื้นที่เสี่ยงปานกลาง 210 บาท/ไร่ และพื้นที่เสี่ยงสูง 230 บาท/ไร่ (รวม 17 ล้านไร่) โดยรัฐบาลเป็นผู้อุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้ 55 บาท/ไร่ (ยังไม่รวมค่าอาการแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยคุ้มครองความเสี่ยงจาก 7 ภัยธรรมชาติ ไร่ละ 1,260 บาท ได้แก่ 1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก 2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง 3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น 4) ภัยอากาศหนาว หรือน้ำค้างแข็ง 5) ลูกเห็บ 6) ไฟไหม้ 7) ช้างป่า และภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดไร่ละ 630 บาท

2. ค่าเบี้ยประกันภัยแบบสมัครใจ Tier 2 กำหนดตามความเสี่ยงจริงของเกษตรกร จำนวน 1 ล้านไร่ ซึ่งเกษตรกรจะต้องเป็นผู้ชำระเอง แบ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงต่ำ 24 บาท/ไร่ พื้นที่เสี่ยงปานกลาง 48 บาท/ไร่ และพื้นที่เสี่ยงสูง 101 บาท/ไร่ โดยคุ้มครองความเสี่ยงจาก 7 ภัยธรรมชาติ ไร่ละ 240 บาท และภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดไร่ละ 120 บาท

ส่วนการดำเนินการขายกรมธรรม์จะแตกต่างกันไปตามภูมิภาค คือ

1) ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กลุ่มที่1) ภายใน 30 เมษายน 2564

2) ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กลุ่มที่ 2) ภายใน 31 พฤษภาคม 2564

3) ภาคตะวันตก ภายใน 30 มิถุนายน 2564 

4) ภาคใต้ ภายใน 31 ธันวาคม 2564

นางสาวรัชดา กล่าวแนะนำให้เกษตรกรร่วมทำประกันภัยข้าวนาปี เพื่อลดความสูญเสียหากเกิดความเสียหายจากภัยธรรมชาติและศัตรูพืชหรือโรคระบาด ที่ประชุม ครม. ยังสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาความเป็นไปได้ ปรับลดสัดส่วนการอุดหนุนของภาครัฐในการจ่ายเบี้ยประกัน เพื่อให้ระบบประกันภัยมีการซื้อขายได้โดยทั่วไป เหมือนการทำประกันภัยรถยนต์หรืออุบัติเหตุ เพื่อลดภาระงบประมาณของรัฐ

ทั้งนี้ จากผลการดำเนินโครงการปีการผลิต 2563 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา มีเกษตรกรทำประกันภัย Tier 1 จำนวน 3.30 ล้านราย พื้นที่รวม 44.36 ล้านไร่ ส่วนประ กันภัยเพิ่มเติม Tier 2 มีเกษตรทำประกันภัยจำนวน 3.33 หมื่นราย พื้นที่รวม 4.79 แสนไร่ รวมเบี้ยประกันภัยทั้ง 2 ประเภท จำนวน 4.04 พันล้านบาท และมีคำขอรับค่าสินไหมทดแทนจากเกษตรกรแล้ว 3.67 หมื่นราย เป็นเงิน 516 ล้านบาท


ที่มา : https://kaset1009.com/th

บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้