สศก. เผย GDP เกษตรฟื้นตัว ไตรมาสแรกโตร้อยละ 1.4 ประมงหดตัวร้อยละ 7.3

30 มี.ค. 2564 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
สศก. เผย GDP เกษตรฟื้นตัว ไตรมาสแรกโตร้อยละ 1.4 ประมงหดตัวร้อยละ 7.3

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 1 ปี 2564 (มกราคม-มีนาคม) พบว่าขยายตัวร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 63 ปัจจัยสำคัญมาจากฝนที่ตกสะสมเพิ่มขึ้นช่วงครึ่งหลังของปี ทำให้ปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำและในแหล่งน้ำธรรมชาติเพิ่มขึ้น เกษตรกรสามารถทำการเพาะปลูกได้ ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิต นอกจากนี้ การดำเนินนโยบายของภาครัฐ อาทิ การขยายช่องทางการตลาด ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ การประกันรายได้ มาตรการเยียวยาและฟื้นฟูเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เช่น ส่งเสริมอาชีพเกษตร พักชำระหนี้ ทำให้เกษตรกรทำการผลิตได้ต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อพิจารณาในแต่ละสาขา พบว่า 

1. สาขาพืช ขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 แบ่งเป็น
   1.1 พืชที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น คือ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และ อ้อยโรงงาน เนื่องจากปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของพืช รวมถึงสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย เกษตรกรจัดการดูแลรักษาที่เหมาะสม ขณะที่มันสำปะหลัง  และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตเพิ่มขึ้น เพราะความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น สับปะรดโรงงาน ผลผลิตเพิ่มขึ้น ทั้งราคาปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรบำรุงรักษามากขึ้น ยางพารา ผลผลิตเพิ่มขึ้น เพราะต้นยางที่กรีดได้ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุที่ให้ ผลผลิตสูง บวกปริมาณน้ำฝนมีเพียงพอทำให้ต้นยางสมบูรณ์ดี ลำไย ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากลำไยที่ปลูกปี 60 เริ่มให้ผลผลิต อีกทั้ง สภาพอากาศเหมาะสม มีปริมาณน้ำเพียงพอ และ ทุเรียน ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรบำรุงรักษา ทำทุเรียนนอกฤดู ประกอบกับสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ทำให้มีการติดดอกออกผลได้มากขึ้น รวมถึงพื้นที่ปลูกใหม่ ปี 59 เริ่มให้ผลผลิต
   1.2 พืชที่ผลผลิตลดลง ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งและภาวะฝนทิ้งช่วงในปี 2562 ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของต้น ทำให้มีการติดผลปาล์มน้อย และทะลายปาล์มน้ำหนักน้อย ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่จึงลดลง

2. สาขาปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 0.5 เป็นผลจากการเพิ่มปริมาณการผลิต ตามความต้องการบริโภคของตลาด  ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับการเฝ้าระวัง ควบคุมโรคระบาดอย่างเข้มงวด และการจัดการฟาร์มที่ได้มาตรฐาน ทำให้สินค้าปศุสัตว์หลัก ได้แก่ ไก่เนื้อ สุกร ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ มีผลผลิตเพิ่มขึ้น

3. สาขาประมง หดตัวร้อยละ 7.3 เพราะสภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือลดลง ส่วนกุ้งทะเลเพาะเลี้ยง มีทิศทางลดลง เพราะผลกระทบจากโควิด-19 เกษตรกรจึงปรับลดพื้นที่เลี้ยง ลดจำนวนลูกพันธุ์ และชะลอการลงลูกกุ้ง อย่างไรก็ตาม ผลผลิตประมงน้ำจืด ได้แก่ ปลานิล และปลาดุก มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากฝนตกทั่วถึงทุกพื้นที่ช่วงปลายปี 63 จึงมีน้ำเพียงพอต่อการเลี้ยง บวกกับเกษตรกรมีการอนุบาลลูกปลาให้ได้ขนาดใหญ่ก่อนปล่อยลงบ่อเลี้ยงเพื่อเพิ่มอัตราการรอด และเพิ่มอัตราการปล่อยลูกพันธุ์ จึงมีผลผลิตเพิ่มขึ้น

4. สาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัวร้อยละ 0.7 โดยกิจกรรมการเตรียมดินและการเก็บเกี่ยวผลผลิตเพิ่มขึ้น เพราะพื้นที่เพาะปลูกพืชสำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง ในส่วนของการเก็บเกี่ยวอ้อยโรงงาน แม้ว่าพื้นที่เก็บเกี่ยวอ้อยจะลดลงเนื่อง จากเกษตรกรบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกพืชอื่น แต่ผู้ประกอบการได้ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการใช้เครื่องจักรกลในการตัดอ้อยมากขึ้น โดยการจัดหารถตัดอ้อยให้แก่ชาวไร่อ้อยคู่สัญญา

5. สาขาป่าไม้ ขยายตัวร้อยละ 1.2 เนื่องจากผลผลิตไม้ยูคาลิปตัส ไม้ยางพารา และรังนก เพิ่มขึ้น โดยผลผลิตไม้ยูคาลิปตัสยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ กระดาษแข็ง ขณะที่ผลผลิตไม้ยางพาราเพิ่มขึ้นตามพื้นที่การตัดโค่นสวนยางเก่า เพื่อปลูกทดแทนด้วยยางพันธุ์ดีและพืชชนิดอื่น ขณะที่รังนกยังมีความต้องการจากจีนและกัมพูชา อย่างไรก็ตาม ผลผลิตถ่านไม้ลดลง เนื่องจากความต้องการที่ชะลอตัวลงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่

นายฉันทานนท์  กล่าวในตอนท้าย แม้แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรปี 2564 ซึ่งคาดจะขยายตัวร้อยละ 1.7-2.7 แต่ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงอื่น ความแปรปรวนของสภาพอากาศ ค่าเงินบาท ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ซึ่ง ก.เกษตรฯ มีแนวทางรองรับสถานการณ์ต่างๆ ทั้งเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ บริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ พัฒนาระบบเตือนภัยด้านการเกษตร สร้างภูมิคุ้มกันและหลักประกันความมั่นคงด้านรายได้ เช่น ประกันภัยพืชผล ทำเกษตรในรูปแบบเกษตรอัจฉริยะ เกษตรแม่นยำสูง ฯลฯ  


ที่มา : https://kaset1009.com/th


บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้