ระวัง!! โรคเน่าระบาดในแปลงปลูก “ชาโยเต้”

27 เม.ย. 2563 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ระวัง!! โรคเน่าระบาดในแปลงปลูก “ชาโยเต้”

ก้าวเข้าสู่ฤดูร้อน บางพื้นที่อาจเจอภาวะอากาศร้อนและฝนตก ซึ่งเสี่ยงทำให้เกิดโรคเน่าในแปลงปลูกชาโยเต้ (มะระหวาน หรือ ฟักแม้ว) มักพบได้ในแปลงปลูกหัวพันธุ์และต้นกล้า หากพบในระยะเพาะต้นกล้า จะสังเกตเห็นเส้นใยของเชื้อราลักษณะหยาบ มีสีขาวบนหัวพันธุ์หรือบริเวณโคนต้นกล้า ต่อมาเชื้อราจะสร้างเม็ดสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำคล้ายเมล็ดผักกาดปนอยู่กับเส้นใย จึงมักเรียกว่า ราเม็ดผักกาด ทำให้หัวพันธุ์เน่า ต้นกล้าที่งอกจะเหี่ยวและตายในที่สุด 

ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกชาโยเต้อย่างสม่ำเสมอ หากพบหัวพันธุ์หรือต้นกล้าเริ่มแสดงอาการของโรค ให้ถอนและขุดดินบริเวณที่พบเป็นโรค นำไปเผาทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก ด้านการป้องกันกำจัดโรคเน่า กรมวิชาการเกษตร ให้คำแนะนำว่า ควรใช้ สารป้องกันกำจัดเชื้อราคาร์บอกซิน 75% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 15 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโทลโคลฟอส-เมทิล 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอีไตรไดอะโซล 24% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอีไตรไดอะโซล + ควินโตซีน 6% + 24% อีซี อัตรา 30-40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร รดดินในหลุมและบริเวณใกล้เคียง ทุกๆ 5 วัน อย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อราแพร่ไปยังต้นข้างเคียง

หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรควรเก็บซากพืชที่เป็นโรคทั้งหมดนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรค และก่อนการปลูกชาโยเต้ เกษตรกรควรไถพรวนพลิกดินขึ้นมาตากแดด 2-3 แดด โดยไถให้ลึกจากผิวดินมากกว่า 20 เซนติเมตรขึ้นไป และตากดินไว้ให้นานกว่า 2 สัปดาห์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจตกค้างในดิน และช่วยลดปริมาณเชื้อในดินลงได้มาก จากนั้น ให้ใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์เพื่อปรับสภาพดิน และเลือกใช้หัวพันธุ์หรือกิ่งพันธุ์ที่มีคุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค ส่วนการใช้วัสดุคลุมดินในระยะเพาะกล้าไม่ควรคลุมจนหนาเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความชื้นสูงและเหมาะกับการระบาดของโรคได้

ที่มา: technologychaoban

บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้